โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2563
(Young Thai Science Ambassador, YTSA 2020)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้กำหนดจัดโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2563 (Young Thai Science Ambassador 2020) ขึ้นเป็นปีที่ 16เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกำหนดให้เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในแง่มุมต่าง ๆ ภายใต้แนวคิด การมีหรือการไม่มีวิทยาศาสตร์ทำให้โลกของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลกและชีวิตของเรา ในหัวข้อ Change...โลกเปลี่ยนต้องเรียนรู้ พร้อมด้วยแนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการอบรมและการแข่งขันให้เป็นแบบออนไลน์ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 200 คน และมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 127 คน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 127 คน ได้รับการอบรมออนไลน์จากวิทยากรที่มากด้วยประสบการณ์ และมีความรู้ความชำนาญในด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 1 สิงหาคม 2563 โดยมีผู้ผ่านการอบรมฯ ทั้งสิ้น 38 คน และทั้ง 38 คนนี้ได้พัฒนาผลงานการสื่อสารวิทยาศาสตร์เพื่อนำเสนอเรื่องงราววิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจภายใต้แนวคิดChange...โลกเปลี่ยนต้องเรียนรู้ และออกแบบการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน และทำการตัดสินผลงานรอบชิงชนะเลิศ ในวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งได้คัดเลือกนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม 4 คน เพื่อเป็นตัวแทนทูตเยาวชนไทยประจำปี 2563 ไปทัศนศึกษา ณ ประเทศเยอรมนี และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่นอีก 6 คน เพื่อรับทุนสนับสนุนการศึกษาคนละ 5,000 บาท ดังนี้
1. รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมจำนวน 4 รางวัล ได้แก่
ชื่อ-นามสกุล นางสาวชนนันท์ วัฒนชานนท์
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อผลงาน Then & Now - How to cure?
ชื่อ-นามสกุล นางสาวทิฆัมพร อินสว่าง
สถาบันการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ชื่อผลงาน ถ้าเดินแล้วไปจับเสี่ยงจะดับชีวิตได้ ต้องโดดและไม่จับ ถึงจะกลับมาปลอดภัย
ชื่อ-นามสกุล นายนครินทร์ โคตรศรี
สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชื่อผลงาน บังสุกุลรีไซเคิล “Requiem Recycle”
ชื่อ-นามสกุล นางสาวพิมพ์รดา โยชุ่ม
สถาบันการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อผลงาน กระปุกเสี่ยงโชคที่อัดแน่นไปด้วยกรดอะมิโน
2. รางวัลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่นจำนวน 6 รางวัล ได้แก่
ลำดับ |
ชื่อ-นามสกุล |
สถาบันการศึกษา |
ชื่อผลงาน |
|
1 |
นางสาวชาลิสา |
แสวงลาภ |
มหาวิทยาลัยมหิดล |
The Miracle of New Normal Special Item |
2 |
นางสาวณัฎฐณิชา |
บุญเลิศ |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ผึ้ง...ศัตรูหรือผู้พิทักษ์มวลมนุษย์ |
3 |
นายณัฐรัชต์ |
ดลเฉลิมศักดิ์ |
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
AR THE PART OF MIXED WORLD |
4 |
นายพงศธร |
สุกใส |
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย |
โลก…ที่เปื้อนฝุ่น |
5 |
นางสาววนิดา |
สุวรรณสิทธิ์ |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
How science can help you to learn new languages? |
6 |
นายอัครพันธ์ |
ทวีศักดิ์ |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
ไขปริศนา Maglev รถไฟความเร็วสูง |
ประกาศรายชื่อเยาวชนที่ได้รับรางวัลรอบชิงชนะเลิศ โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ประจำปี 2563
Click เพื่อดูประกาศรายชื่อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
วิลาสินี ไตรยราช
บุรวัชร์ นาคสู่สุข
ฐิติยา ชุ่มมาลี
Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
โทร 02 577 9999 ต่อ 1473, 1474 และ 1476