ข่าวสาร อพวช
19 พฤศจิกายน 2567 / ดร.นพรัตน์ เทพเทพา ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นางปาริฉัตร เทียนทิพย์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย ให้การต้อนรับ นายอภิชาติ ภูประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย ในพิธีเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. จ.หนองคาย” พร้อมนำชมนิทรรศการนิทรรศการวิทยาศาสตร์เคลื่อนที่ ชุด Science for Fun และกิจกรรมการแสดงทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมมุมประดิษฐ์ และกิจกรรมเกมและของเล่นวิทยาศาสตร์ ภายในงาน
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ สมาคมเครื่องบินกระดาษพับ ส่งตัวแทนเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขัน The 9th Japan Origami Plane Competition ณ เมืองฟูกูยามะ จังหวัดฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจัดโดย International ORIGAMI PLANE Association (IOPA) ผลปรากฏว่า นายนรภัทร ทรงเต๊ะ สามารถคว้ารางได้ถึง 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ด้วยสถิติร่อนนาน 21.84 วินาที และรางวัลสถิติที่ดีที่สุด ขณะที่ นายชนิตร ปาโกวงค์ อีกหนึ่งตัวแทนเยาวชนไทย ก็ไม่น้อยหน้า คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ด้วยสถิติร่อนนาน 18.22 วินาที ความสำเร็จครั้งนี้ เป็นผลจากความสามารถและความพยายามของเยาวชนไทยทั้ง 4 คน ได้แก่ นายหม่อง ทองดี นายชนิตร ปาโกวงค์ นายชัยธวัช เลนสันเทียะ และนายนรภัทร ทรงเต๊ะ ที่ผ่านการคัดเลือกจากการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 15 และครั้งที่ 16 และฝึกฝนก่อนเดินทางไปแข่งขัน
14 พฤศจิกายน 2567 / ผศ.ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผอพ. พร้อมด้วย นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผอ.สพว. และนายเชษรฐา ละดาห์ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ศพช. เข้าร่วมงานประชุม “The Future of Astronomy Museum & Planetarium – Symposium on the Development of Astronomy Museum & Planetarium in the New Era” ซึ่งจัดโดย Shanghai Science & Technology Museum ทั้งนี้ ผศ.ดร. รวินฯ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อเรื่อง “Astronomy Connection: The Interplay of Art and Science in the Museum” เพื่อเผยแพร่การดำเนินงานด้านดาราศาสตร์ของ อพ.
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ NSM และคณะเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ นางสุวดี สีตะสิทธิ์ นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณ เข้าเยี่ยมชมงาน “เทศกาลหุ่นโลก 2024” หรือ Harmony World Puppet Innovation Festival 2024 พร้อมเยี่ยมชมการดำเนินงานความคืบหน้าของศูนย์นวัตกรรมแห่งอนาคต (Futurium) ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
13 พฤศจิกายน 2567 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) นายชาญยุทธ เศวตสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร น.ส.ปาริฉัตร เศวตเศรนี ผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาการจัดงานเมกะอีเวนท์และเทศกาลนานาชาติ จาก TCEB นายนิมิตร พิพิธกุล ผอ.มูลนิธิหุ่นสายเสมา สมาพันธ์หุ่นนานาชาติประเทศไทย ดร.นวลวรรณ ชะอุ่ม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด และได้รับเกียรติจาก นางแซรัป แอร์ซอย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกีประจำประเทศไทย ร่วมเปิดงาน “เทศกาลหุ่นโลก 2024” หรือ Harmony World Puppet Innovation Festival 2024 อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้ธีมงาน PUPPET MAKER จัดเต็มโชว์สุดยอดคณะหุ่นไทยและนานาชาติกว่า 13 ประเทศ 13 - 17 พ.ย. นี้ ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
7 พฤศจิกายน 2567 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หรือ NSM เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Training on Micropaleontology Collection Management and Utilization” ซึ่งจัดโดย NSM ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) และ Muséum national d'histoire naturelle (MNHN) ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านอุดมศึกษาและการวิจัยระหว่างไทย-ฝรั่งเศส (PHC-SIAM) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดเก็บและการอนุรักษ์วัตถุตัวอย่างในพิพิธภัณฑ์ การบริหารจัดการคลังตัวอย่างอ้างอิง ตลอดจนแนวคิดการพัฒนานิทรรศการจากตัวอย่างขนาดเล็ก รวมถึงการใช้ประโยชน์ตัวอย่างอ้างอิงในงานวิจัย และเป็นพื้นที่เชื่อมโยงนักวิจัย ภัณฑารักษ์ บุคลากรพิพิธภัณฑ์ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านจุลบรรพชีวินวิทยา โดยการอบรมฯ ดังกล่าว ยังได้รับเกียรติจาก Assoc. Prof. Dr. Marie-Béatrice FOREL, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติวิทยาแห่งชาติ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และ รศ.ดร.อานิสงส์ จิตนารินทร์ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีธรณี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มาร่วมเป็นวิทยากร โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมแสงเดือน-แสงเทียน พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี