โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20

โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20

24-01-2025
banner ytsa

     

 - ประกาศ -
รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรม แข่งขัน และร่วมรับการประเมิน
ในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20
Young Thai Science Ambassador, YTSA#20

ตามที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้จัดทำโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 หรือ Young Thai Science Ambassador, (YTSA#20) ขึ้น มีกำหนดจัดการอบรมหลักสูตรการสื่อสารวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ในรูปแบบออนไลน์ และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 4 – 6 เมษายน 2568 นั้น
       บัดนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม แข่งขัน และร่วมรับการประเมินเป็นตัวแทน ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 เพื่อร่วมปฏิบัติงานการสื่อสารวิทยาศาสตร์และศึกษาดูงาน ณ สหพันธรัฐเยอรมนี เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อเยาวชนผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 29 คน

 


 

- ประกาศ -
รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมและแข่งขัน
ในโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20
Young Thai Science Ambassador, YTSA#20


         ตามที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้จัดทำโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 หรือ Young Thai Science Ambassador, (YTSA#20) ขึ้น มีกำหนดจัดการอบรมหลักสูตรการสื่อสารวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ในรูปแบบออนไลน์ และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 4 – 6 เมษายน 2568 นั้น
         บัดนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมและแข่งขันทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อเยาวชนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมอบรมหลักสูตรการสื่อสารวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 34 คน ตามเอกสารแนบ
         ทั้งนี้ขอให้ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมหลักสูตรฯ ดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ โดยผู้ที่เข้าร่วมอบรมออนไลน์ครบตามจำนวนชั่วโมงพร้อมทั้งส่งงานตามที่หลักสูตรกำหนด จะเป็นผู้ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 4 – 6 เมษายน 2568 ต่อไป 


 


โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20
(Young Thai Science Ambassador, YTSA#20)

เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568
ความเป็นมาของโครงการฯ 

ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างยิ่ง จะเกิดอะไรขึ้น หากเราดำรงชีวิตแบบขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการดำรงชีวิต การมีและไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างไปอย่างไร การสื่อสารเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อโลกและตัวเราจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมประชาชนได้รับรู้และตระหนักถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วขององค์ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ล้วนเกี่ยวข้องต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย จึงได้กำหนดจัดโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 ขึ้น (Young Thai Science Ambassador #20) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกำหนดให้เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในแง่มุมต่าง ๆ ในหัวข้อ “หมุนเวียนและยั่งยืน คืนชีวิตให้โลก – Net Zero and the Circular Economy” ซึ่งเป็นหัวข้อที่ท้าทายและมีความสำคัญต่ออนาคตของโลก ภายใต้แนวคิดการจัดการปกป้องสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ จึงต้องจัดการให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือเข้าใกล้ศูนย์มากที่สุด ควบคู่ไปกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ลดการสร้างขยะ และนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เศรษฐกิจหมุนเวียนยังช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ได้นานขึ้น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมแนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจถึงการเน้นย้ำความสำคัญของลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศมีปริมาณเท่ากับปริมาณที่ถูกดูดซับกลับคืนมา ทำให้ผลสุทธิของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ และแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก เนื่องจากลดการผลิตของเสีย ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยมลพิษ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่มีเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ เพื่อให้การสื่อสารวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
2. เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนได้มีโอกาสสื่อสารกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการสร้างความตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลกและชีวิตของเรา 
3. เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนระดับอุดมศึกษาที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์และอยากถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์สู่สังคม
4. เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ

 

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนอายุ 17-23 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

 

การรับสมัคร

1. คุณสมบัติของผู้สมัคร 
เยาวชนที่มีสัญชาติไทย และมีอายุระหว่าง 17 - 23 ปี 
และศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 
ต้องไม่เคยผ่านการเข้าค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยมาก่อน
สามารถเดินทางต่างประเทศได้ 

2. หัวข้อในการนำเสนอผลงาน 
หมุนเวียนและยั่งยืน คืนชีวิตให้โลก – Net Zero and the Circular Economy
เยาวชนจะต้องนำเสนอ “เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จากผลงานวิจัย การทดลอง ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมที่มีการพัฒนาขึ้นมา มีผลตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน” จัดการให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์หรือเข้าใกล้ศูนย์มากที่สุด ควบคู่ไปกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ระบบเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ลดการสร้างขยะ และนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเศรษฐกิจหมุนเวียนยังช่วยให้ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ได้นานขึ้น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมแนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจถึงการเน้นย้ำความสำคัญของลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศมีปริมาณเท่ากับปริมาณที่ถูกดูดซับกลับคืนมา ทำให้ผลสุทธิของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ และแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก เนื่องจากลดการผลิตของเสีย ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยมลพิษ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่มีเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ เพื่อให้การสื่อสารวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3. แนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน
ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show), การแสดงสาธิต (Demon), เล่านิทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น (mini puppet theatre), หนังสือ pop up, คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ๆ

กติกาการรับสมัคร 

การรับสมัคร 
เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 สามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://www.nsm.or.th/nsm/th/ytsa  พร้อมส่งลิงค์คลิปวิดีโอแนะนำตัวเอง แนวคิดเรื่องที่จะสื่อสารและรูปแบบของการสื่อสารที่จะใช้ภายใน 3 นาที และ proposal ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ในหัวข้อที่กำหนด โดยสามารถเลือกนำเสนอเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หมดเขตรับสมัคร วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 

ข้อกำหนดในการส่งคลิปวิดีโอการแนะนำตัวและแนวคิดเรื่องที่จะสื่อสารนำเสนอใน 3 นาที
เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 จัดทำคลิปโดยมีรายละเอียดดังนี้
1.    แนะนำตัวเอง
2.    แนวคิดในเรื่องที่จะนำเสนอสอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนด และเป็นหัวข้อและสาระที่ผู้นำเสนอจัดทำขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีการคัดลอกผลงานการนำเสนอของผู้อื่น อาทิ โครงสร้างเรื่องในการนำเสนอ 
3.    วิธีการและรูปแบบในการนำเสนอ หัวข้อในการนำเสนอ สคริปต์ที่ใช้ในการนำเสนอ เป็นต้น
4.    สามารถเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในการนำเสนอ โดยเลือกนำเสนอภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น และนำเสนอไม่เกิน 3 นาที
5.    บันทึกการถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ภายใต้หัวข้อที่กำหนดภายในเวลา 3 นาที และไม่น้อยกว่า 2 นาที 30 นาที
 

รูปแบบการสื่อสาร 

ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show), การแสดงสาธิต (Demon), เล่านิทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น (mini puppet theatre), หนังสือ pop up, คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ๆ

หมายเหตุ: ไม่อนุญาตให้นำคลิปของผู้อื่นที่ไม่ใช่ผลงานตนเองส่งเข้าคัดเลือก หากพบว่ามีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในการสมัคร จะพิจารณาตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน

 

การคัดเลือกผลงานเยาวชนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย 

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะคัดเลือกเยาวชน 40 คนจากทั่วประเทศโดยพิจารณาจากใบสมัคร แนวทางการสื่อสารที่ส่งเข้ามา โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้ 

1. หลักการและเหตุผลในการนำเสนอ                                           20% 
2. สาระวิทยาศาสตร์ที่จะนำเสนอ                                                 35% 

  • ความรู้และความถูกต้องของสาระวิทยาศาสตร์ 
  • เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย 
  • เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย 
  • มีความชัดเจน ไม่ยากซับซ้อน หรือง่ายจนเกินไป         

3. ความน่าสนใจของรูปแบบ/วิธีการ/แนวทางในการนำเสนอ             35% 

  • มีความเชื่อมโยงของเนื้อหา 
  • เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 
  • มีความคิดสร้างสรรค์ 
  • ทักษะการสื่อสารและการใช้สื่อ 
  • ความน่าสนใจ ดึงดูด และชวนติดตาม 

4.  ภาพรวมในการนำเสนอจากคลิปวีดีโอ                                        10%    

ประกาศผลคัดเลือกรอบแรก ในวันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ผ่านทาง Website ของ อพวช: www.nsm.or.th ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในรูปแบบออนไลน์ 

ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2568 ผ่านทาง Website ของ อพวช ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ อพวช. คลองห้า จำนวน 3 วัน ระหว่าง 08.00 – 21.00 น. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ จากหน่วยงานระดับประเทศ  

กำหนดการโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นที่ 20 YTSA#20 
วันที่  กิจกรรม 
วันที่ 15 มกราคม – 23 กุมภาพันธ์ 2568 รับสมัคร
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 1
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 14 มีนาคม 2568 อบรมออนไลน์ผ่านระบบ http://www.plearnscience.com/ 
วันที่ 17 มีนาคม 2568 ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 2 
วันศุกร์ที่ 4 เมษายน 2568 อบรมเชิงปฏิบัติการ 1
วันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2568  อบรมเชิงปฏิบัติการ 2 
วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568 นำเสนอผลงาน และประเมินผล 

หมายเหตุ: รายละเอียดกำหนดการการอบรมฯ จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง และวันที่จัดการอบรมฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมในภายหลัง ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.nsm.or.th/nsm/th/ytsa

 

การอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำหรับทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 
  • เยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ (online) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ พร้อมเรียนรู้แนวทางในการฝึกปฏิบัติการนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจในรูปแบบต่าง ๆ (onsite) จากผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานชั้นนำระดับประเทศ นอกจากนี้ยังได้พบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นพี่ที่เคยเข้าร่วมในโครงการนี้ 
  • เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมฯ จะต้องนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมการอบรมฯ มาพัฒนาผลงานการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของตนเอง (1 คน ต่อ 1 ผลงาน) โดยมีระยะเวลานำเสนอไม่เกิน 5 นาที เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวันอาทิตย์ที่ 6 มษายน 2568
    หมายเหตุ: การจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศอาจมีการปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความเหมาะสม
การเลือกผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยเพื่อเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมและนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครั้งที่ 20
  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาคัดเลือกทูตเยาวชนฯ จำนวน 10 คน ที่มีการนำเสนอผลงานยอดเยี่ยม เพื่อแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 
  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาคัดเลือกทูตเยาวชนฯ จำนวน 4 คน จาก 10 คนที่ผ่านการคัดเลือก ที่สามารถทำคะแนนในการนำเสนอได้มากที่สุด เพื่อเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม และเยาวชนฯ จำนวน 6 คน จะได้เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น 
  • นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จำนวน 4 คน และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 คนจะได้รับภารกิจร่วมกับ อพวช. ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อย่างน้อยคนละ 1 ผลงานใน 1 ปี 

รางวัล 

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จำนวน 4 คน
จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ณ สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี (ช่วงเดือนกรกฎาคม 2568)  
หมายเหตุ: การเดินทางอาจมีการปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความเหมาะสม 

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 คน 
จะได้รับ ทุนการศึกษา คนละ 5,000 บาท (รวมจำนวนเงิน 30,000 บาท)  

ผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20
จะได้รับวุฒิบัตร เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และมีโอกาสร่วมงาน อพวช. ปฏิบัติงานในภารกิจต่าง ๆ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ อาทิ เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาวิทยาศาสตร์ เขียนบทความเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้งานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ 

ผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 20 จำนวน 10 คน
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จำนวน 4 คน และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 คนจะได้รับภารกิจร่วมกับ อพวช. ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อย่างน้อยคนละ 1 ผลงานใน 1 ปี
 

คณะกรรมการตัดสิน  

ผู้ทรงคุณวุฒิจาก 

  • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) 
  • สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  
  • สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
  • องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)  

หน่วยงานผู้ร่วมจัด 

  • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) 
  • สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  
  • สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย  
  • องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

ศักดิ์ชัย จวนงาม
Email: ytsaproject@nsm.or.th 
โทร 02 577 9999 ต่อ 1475

สมัครออนไลน์ (Click) https://forms.office.com/r/NUqFiiVJF5  หรือสแกน QR Code

 

 

  • TOBRUT 888 merupakan situs dengan bonus slot 100% tobrut888 memberikan maxwin jackpot pasti bayar.
  • STM88 rekomendasikan pilihan slot gacor terbaik yang sering memberikan jackpot dan bonus menggiurkan.
  • STM88 server thailand dikenal sebagai salah satu server slot online yang sangat populer di tahun 2025
  • STM88, berbagai permainan slot gacor malam ini diperkirakan akan lebih menguntungkan dengan peluang besar untuk menang!
  • server thailand sering dipilih oleh pemain judi online dan gamers karena keunggulan dalam STM88.
  • deposit 5000 merupakan pilihan yang tepat bagi pemain yang ingin memulai petualangan mereka di STM88.
  • slot malam ini menawarkan peluang menarik bagi para pemain STM88 yang ingin merasakan sensasi menang besar pada waktu terbaik.
  • VIPQQ777 merupakan rekomendasi daftar pkv games menawarkan permainan judi online terpercaya di tahun 2025
  • winsgoal slot menawarkan pengalaman bermain slot yang berbeda dengan menggabungkan hiburan permainan kasino dan analisis prediksi yang mendalam.
  • Jika Anda mencari cara baru untuk merasakan sensasi permainan slot yang menyenangkan dengan dukungan prediksi yang informasional, winsgoal adalah tempat yang tepat untuk Anda. Nikmati keseruan dan peluang menang besar dalam setiap putaran!
  • winsgoal adalah pilihan tepat bagi para penggemar permainan slot yang mencari pengalaman bermain yang seru dan penuh peluang.
  • Nikmati pengalaman bermain yang memacu adrenalin dan menantang keberuntungan Anda di winsgoal slot, di mana hiburan dan peluang kemenangan besar saling berpadu!
  • winsgoal login memberikan kemudahan bagi penggunanya untuk mengakses berbagai fitur menarik yang disediakan oleh platform ini.
  • Proses login di winsgoal sangat mudah dan cepat, memungkinkan Anda untuk langsung terhubung ke dunia informasi sepak bola terkini.
  • winsgoal gacor adalah pilihan terbaik bagi para pemain yang mencari peluang menang lebih tinggi dalam permainan slot atau taruhan sepak bola.
  • Dengan menggabungkan analisis mendalam dan prediksi yang akurat, winsgoal gacor memberikan wawasan yang berguna bagi pemain untuk meningkatkan peluang kemenangan mereka.
  • Platform winsgoal dikenal dengan kemampuannya dalam memberikan informasi yang tepat waktu dan relevan, membantu pemain membuat keputusan yang lebih baik.
  • Jika Anda mencari platform winsgoal yang mengombinasikan prediksi cerdas dengan peluang menang lebih besar.
  • winsgoal adalah fitur khusus yang dirancang untuk memberikan pengalaman taruhan dan permainan yang lebih menguntungkan bagi pemain.

Related