ข่าวสาร อพวช
2 กรกฎาคม 2567 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมให้การต้อนรับ ร้อยโท ชวัช อรรถยุกติ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควฒน วรขัติยราชนารี ในพิธีเปิดงานวันประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 34 โดย NSM ได้นำ “ปลาออร์(Oarfish)” ไปร่วมจัดแสดงให้กับประชาชนได้ดูสัตว์ทะเลหายากที่พบในทะเลไทยด้วยภายในงานฯ พร้อมรับมอบโล่ในฐานะผู้ร่วมสนับสนุนการจัดงานฯ ณ อาคารศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ที่ผ่านมา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค และโคแฟค เปิดการอบรม "รู้ทัน AI และ Deep fake" เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้เท่าทันอาชญากรรมทางออนไลน์ และเฝ้าระมัดระวังและป้องกันการถูกหลอกจากมิจฉาชีพ โดยมี ดร.วิจิตรา สุริยกุล ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ NSM พร้อมด้วย นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมเปิดการอบรมฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "รู้เท่าทันอาชญกรรมทางเทคโนโลยี" โดย พันตำรวจตรีวีระพงษ์ แนวคำดี สารวัตรกลุ่มงานป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นวิทยากร ณ ห้อง IT Theater พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวย NSM ให้การต้อนรับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของกระทรวง อว. และการดำเนินงานกิจกรรมคาราวานวิทยาศาสตร์ อพวช. ที่จัดขึ้นทั้งหมด 2 แห่ง ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ณ โรงเรียนจักรราชวิทยา อ.จักราช จ.นครราชสีมา และในระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2567 ณ โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา
3 กรกฎาคม 2567 / นายสุวรงค์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมเปิดเวที “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 10” (The 10th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2024)) เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 รวมทั้งสร้างเครือข่ายระหว่างเยาวชนและครู ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ NSM พร้อมด้วย ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการ NSM และดร.ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด ร่วมพิธีเปิดฯ ดังกล่าว ณ ห้อง IT Auditorium พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ NSM ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
2 กรกฎาคม 2567 / นายอนันตกร ขยันงาน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นายพรศักดิ์ ทวีรส ผู้อำนวยการโรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" ให้การต้อนรับ นายถาวร เวชจันทร์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ในพิธีเปิดงาน “คาราวานวิทยาศาสตร์ อว.” จ.พังงา เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดสู่ความยั่งยืน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมนำชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน ซึ่งงานฯ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2 - 5 กรกฎาคม 2567 ณ โรงเรียนตะกั่วป่า "เสนานุกูล" อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เปิดเผยว่า นักวิจัยด้านพฤกษศาสตร์ NSM ดร.ณัฐพล นพพรเจริญกุล นักวิชาการกองวิชาการพฤกษศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา NSM ร่วมกับ คณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ค้นพบ “ดอกดินเขาหินปูน” ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia calcicola Noppornch. พืชสกุลเปราะหอม วงศ์ขิงข่า (Zingiberaceae) ชนิดใหม่ของโลก บริเวณพื้นที่รอยต่อของจังหวัดขอนแก่นและชัยภูมิ ประเทศไทย จัดเป็นพืชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งพบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เตรียมดำเนินการศึกษาวิจัยต่อยอดด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป