ข่าวสาร อพวช
เมื่อวันที่ 15 พ.ค. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกมูลนิธิ “สานใจไทย สู่ใจใต้” เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 42 โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายอารีย์ วงศ์อารยะ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิสานใจไทย สู่ใจใต้ และร้อยตำรวจโท อาทิตย์ บุญญะโสภัต เลขาธิการมูลนิธิสานใจไทย สู่ใจใต้ และเยาวชน 320 คน จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมพิธีปิดโครงการฯ ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย นายฐิติเดช ตุลารักษ์ อัครราชทูตฝ่ายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ สำนักงานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และรศ.ดร.วรวรรณ พันธุมนาวิน อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ และรศ.รัชลิดา ลิปิกรณ์ กรรมการบริหารสมาคมวิทยาศาสตร์ฯ นำคณะเยาวชนไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสำหรับเยาวชน ระดับโลก REGENERON ISEF 2024 ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11-17 พฤษภาคม 2567 ที่เมืองลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าเยี่ยมคารวะกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส โดยมี นายจีรยุต สอนใจ กงสุล (ผู้แทน กสญ.) นางสิริกมล ศรลัมพ์ ภริยาท่านกงสุลใหญ่ และนายชนะ เมี้ยนเจริญ กงสุลฝ่ายสารนิเทศและวัฒนธรรม ให้การต้อนรับ เลี้ยงอาหารกลางวัน พร้อมให้กำลังใจเยาวชนทุกคนให้ทำผลงานให้เต็มที่ เพื่อชื่อเสียงของประเทศไทยบนเวทีระดับนานาชาติ ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา
15 พฤษภาคม ที่ ห้องประชุม 1 อาคารสำนักงาน อพวช. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ NSM และดร.นพรัตน์ เทพเทพา ผู้อำนวยการสำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา เป็นตัวแทนรับมอบภาพวาดวิทยาศาสตร์ จากอาจารย์ วิชัย มะลิกุล จิตรกรนักกีฏวิทยา ผู้เชี่ยวชาญการวาดภาพเหมือนทางวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงจากสถาบันสมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา โดยได้นำภาพวาดวิทยาศาสตร์สีน้ำมามอบให้กับ NSM ได้แก่ ภาพวาดผีเสื้อ จำนวน 17 ภาพ และหนังสือผีเสื้อ จำนวน 1 เล่ม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดเก็บเป็นเอกสารอ้างอิงในทางวิชาการ ประกอบงานวิจัย การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และนำไปให้ความรู้ด้านนิทรรศการในอนาคต ซึ่งถือเป็นภาพวาดวิทยาศาสตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจและคุณค่าด้านธรรมชาติวิทยาให้กับคนรุ่นหลังต่อไป พร้อมกันนี้ อาจารย์ วิชัย มะลิกุล ยังได้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
14 พฤษภาคม 2567 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรมเสวนา Space Economy and the Opportunity for the Future “เศรษฐกิจอวกาศกับโอกาสของอนาคต” โดยมีวิทยากรจากผู้ปฏิบัติงานจริงจากสถาบันสำรวจอวกาศที่มีชื่อเสียงระดับโลก ได้แก่ Mr. Robert Hampton, Director of Payload Operations จาก the ISS U.S. National Laboratory ผู้นำทีม project manager ที่มีประสบการณ์สูงและรับผิดชอบในการวางแผนและควบคุมการดำเนินการวิจัยและพัฒนาโดยใช้ห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS U.S. National Laboratory) พร้อมด้วย Mr. Scott Rodriguez, Vice President จาก Nanoracks LLC – บริษัทในเครือ Voyager Space และ NASA HUNCH Program Manager Mr. Michael Lewis, Chief of Innovation Officer (CIO) จาก Nanoracks LLC – บริษัทในเครือ Voyager Space ผู้ดูแลทิศทางทางเทคนิค วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมของบริษัทสำหรับความต้องการใช้อวกาศเชิงพาณิชย์ Nanoracks LLC เป็นผู้นำตลาดสำหรับการใช้งานสถานีอวกาศนานาชาติและอื่นๆ อีกมากมาย และ รศ.ดร.ณัฐพร ฉัตรแถม อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.สุวลักษณ์ อัศวสันติ กรรมการบริหาร สมาคมนักวิจัยไทยรุ่นใหม่(TYSA) เป็นผู้ดำเนินการรายการ มาร่วมให้ความรู้ พร้อมแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนและผู้คนในสังคมในสายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านอวกาศ พร้อมทั้ง ชี้แนวทางโอกาสให้เยาวชนให้พร้อมก้าวเข้าสู่ Space Economy ที่จะขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจด้านอวกาศในอนาคต นับเป็นการเพิ่มทุนทางวิทยาศาสตร์ให้กับเยาวชนและสังคมไทยในการพัฒนาสังคมวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมสุมินทร์ สมุทคุปติ์ ชั้น 3 อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อ 14 พฤษภาคม ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM พร้อมด้วย Ms. Miao Wenjing รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งนครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการพัฒนานิทรรศการและกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ พร้อมเตรียมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ งานวิจัย คลังวัตถุตัวอย่าง และนักวิจัยร่วมกัน ถือเป็นความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับนานาชาติและภูมิภาคเอเชีย โดยมี นางสาวจีรพัชรินทร์ อรรถจินดา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและเครือข่าย อพวช. และ Ms.Tang Xianhua รองผู้อำนวยการศูนย์นิทรรศการและการเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งนครเซี่ยงไฮ้ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามฯ ดังกล่าว พร้อมกันนี้ Ms. Miao Wenjing รองผู้อำนวยการ SSTM ได้บรรยายในกิจกรรม KM Sharing เรื่อง “Shanghai Science and Technology Museum Management” เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านงานบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ของ SSTM ให้กับเจ้าหน้าที่ NSM ณ ห้องประชุมไอน์สไตน์ ชั้น 2 อาคารสำนักงาน อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร SSTM ยังได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อีกด้วย
13 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา นายถิรพงศ์ เกียรตินันทน์ ผู้อำนวยการสำนักบริการผู้เข้าชม องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ค่ายเปิดโลกการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สานใจไทย สู่ใจใต้ รุ่นที่ 42” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการสานใจไทย สู่ใจใต้" เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม และกิจกรรมค่ายการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจด้านวิทยาศาสตร์ผ่านการร่วมทำกิจกรรมในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ของ อพวช. โดยมีเยาวชนจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 320 คน เข้าร่วม ซึ่งกิจกรรมจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 พฤษภาคม ถึง 15 พฤษภาคม 2567 ณ อพวช. คลองห้า ปทุมธานี