ข่าวสาร อพวช
14 สิงหาคม 2566 / ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ลงนามความร่วมมือกับ พลโท อภิชาติ ไชยะดา เจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร โดยมี ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ อพวช. พร้อมด้วย พลตรี สุกิจ สุเมธาศร รองเจ้ากรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามฯ ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงาน พร้อมจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงานให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ณ ห้องประชุมฟีนิกซ์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี
13 สิงหาคม 2566 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ "LET’S COMMUNICATE SCIENCE BY YOUNG THAI SCIENCE AMBASSADOR" จาก "ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย" ผ่านกิจกรรมการสื่อสารแบบพบเจอหน้ากัน การสื่อสารแบบวิถีใหม่ และการสื่อสารในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อกระตุ้นสังคมให้เข้าใจวิทยาศาสตร์ได้ง่ายขึ้น พร้อมสร้างเครือข่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในอนาคต ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ เวทีกลาง ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ( อพวช.) ให้การต้อนรับ คุณชวน หลีกภัย อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ในโอกาสที่เข้าชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 โดยท่านให้ความสนใจ นิทรรศการที่เป็นอีกไฮไลท์ของงานอันหาชมได้ยาก คือ นิทรรศการ “สู่สูญพันธุ์ : On the Edge of Extinction” ชมตัวอย่างสัตว์ที่สูญพันธุ์หรือเชื่อว่าอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้วหลากหลายชนิด ซึ่งท่านประทับใจ “นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร” เป็นอย่างมาก เพราะนี่เป็นนกสตัฟฟ์ตัวสุดท้ายของประเทศไทยที่จะได้ชมได้ในงานนี้เท่านั้น จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเยาวชนเข้าชมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ณ อาคาร 9-10 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11 - 20 สิงหาคม 2566 เวลา 9.00 - 19.00 น.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด มอบรางวัล “โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ประจำปี 2566” เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนและประชาชนได้แสดงความสามารถด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านงานเขียนเรื่องสั้น คัดเลือก 14 ผลงานเรื่องสั้น พร้อมจัดพิมพ์เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เรื่อง “ฝันชั่วนิรันดร์ของแมวศุภลักษณ์” สู่สาธารณชน พร้อมเปิดตัวโครงการประกวดนวนิยายวิทยาศาสตร์ไทย โดยมี ศ.ดร.ม.ร.ว.ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ ประธานโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ในนามสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วย รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.), ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล, นางนรีภพ จิระโพธิรัตน์ อุปนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และนายวิชชพัชร์ โกจิ๋ว กรรมการบริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด ร่วมมอบรางวัลฯ ดังกล่าว ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 12 ส.ค. ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ศ.ดร.ม.ร.ว.
12 สิงหาคม 2566 / ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวง อว. ร่วมถวายพระพรชัยมงคล และลงนามถวายพระพร เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 โดยมี ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อพวช. เข้าร่วมในพิธีฯ ดังกล่าว ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง
10 ส.ค. 2566 / ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) น.ส.อุมาภรณ์ เครือคำวัง ผอ.สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ให้การต้อนรับ Ms. Li Ming, Vice Curator of Guangxi Science and Technology Museum และคณะเจ้าหน้าที่จาก Guangxi Science and Technology Association พร้อมหารือความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนิทรรศการ พัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรด้านการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ ผ่านกิจกรรมวิทยาศาสตร์ด้านการจัดงาน Science Festival รวมทั้งความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่น ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ทั้งนี้ ได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของ อพวช. ณ พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี