โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#18)

โครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18 (Young Thai Science Ambassador, YTSA#18)

03-10-2022
แบนเนอร์ ytsa ขยายเวลา

 

 

 

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค COVID-19 และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ในปีนี้จัดรูปแบบกิจกรรมการอบรมและการแข่งขันผ่านระบบออนไลน์และออนไซต์

การรับสมัคร

1) คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • เยาวชนที่มีสัญชาติไทย และมีอายุระหว่าง 17 - 23 ปี
  • และกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  • ต้องไม่เคยผ่านการเข้าค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยมาก่อน
  • สามารถเดินทางต่างประเทศได้

2) หัวข้อในการนำเสนอผลงานปี 2565 วิทยาศาสตร์ โอกาสที่เท่าเทียม - Equal Opportunities in Science

เยาวชนจะต้องนำเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในแง่มุมต่าง ๆ เชื่อมโยงวิถีชีวิตของเราภายใต้แนวคิด "การส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมในวงการวิทยาศาสตร์ ทั้งในด้านเพศ เชื้อชาติ หรือความบกพร่องทางร่างกาย" เราจะทำอย่างไรให้เกิดการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของความคิดเรื่องความเหนือกว่าทั้งหลาย เช่น มนุษย์เหนือกว่าธรรมชาติ ชนชาติผิวขาวเหนือกว่าผิวสี ขนชั้นสูงเหนือกว่าชนชั้นล่าง และผู้ชายเหนือกว่าผู้หญิง ซึ่งเป็นแนวคิกระแสหลักที่ดำรงอยู่ในสังคมมนุษย์อย่างยาวนานก่อให้เกิดเป็นภาพจำและลดบทบาทความสามารถที่มีอยู่ในตัวบุคคลลงไปโดยปริยาย ส่งผลให้กิดปัญาเชิงโครงสร้างทางสังคมเป็นลูกโซ่ พร้อมแนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ถูกครอบงำโดยความคิดดั้งเดิม เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่โดยเริ่มต้นจากความเข้าใจสังคม ตนเอง และคนรอบข้าง ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ เพื่อให้การสื่อสารวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3) แนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน

ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show), การแสดงสาธิต (Demonstration), เล่านิทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น (mini puppet theatre), หนังสือ pop up, คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ฯ

4) กติกาการรับสมัคร

(1) การรับสมัคร

เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18 สามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ http://www.nsm.or.th/event/competition/ytsa.thml พร้อมส่งลิงค์คลิปวีดีโอ แนะนำตัวเอง แนวคิดเรื่องที่จะสื่อสารและรูปแบบของการสื่อสารที่จะใช้ภายใน 3 นาที และ proposal ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ในหัวข้อที่กำหนด โดยสามารถเลือกนำเสนอเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หมดเขตรับสมัคร วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม 2565

(2) ข้อกำหนดในการส่งคลิปวีดีโอการนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ใน 3 นาที

  • เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยครั้งที่ 18 จัดทำคลิปโดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. แนะนำตัวเอง
  2. แนวคิดในเรื่องที่จะนำเสนอสอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนด และเป็นหัวข้อและสาระที่ผู้นำเสนอจัดทำขึ้นใหม่ โดยไม่มีการคัดลอกผลงานนำเสนอ ของผู้อื่น อาทิโครงสร้างเรื่องในการนำเสนอ
  3. วิธีการและรูปแบบในการนำเสนอ หัวข้อในการนำเสนอ สคริปต์ที่ใช้ในการนำเสนอ เป็นต้น
  • สามารถเลือกใช้ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษในการนำเสนอ โดยเลือกนำเสนอภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น
  • จะต้องบันทึการถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ภายใต้หัวข้อที่กำหนดภายในเวลา 3 นาที และไม่น้อยกว่า 2 นาที 30 วินาที

(3) รูปแบบการสื่อสาาร

ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทีตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์(Science Show), การแสดงสาธิต(Demeonstration), เล่านินทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น(mini puppet theatre), หนังสือ, pop-up คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ๆ

หมายเหตุ: ไม่อนุญาติให้นำคลิปของผู้อื่นที่ไม่ใช่ผลงานของตนเองส่งเข้าประกวด หากพบว่ามีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในการสมัคร จะพิจารณาตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน

5) การคัดเลือกผลงานเยาวชนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย

  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุติ จะคัดเลือกเยาวชน 40 คนจากทั่วประเทศโดยพิจารณาจากใบสมัคร แนวทางการสื่อสาร และคลิปวีดีโอการนำเสนอ ที่ส่งเข้ามาโดยเกณฑ์การคัดเลือก ดั้งนี้

      (1) หลักการและเหตุผลในการนำเสนอ                                            20%

      (2) สาระวิทยาศาสตร์ที่จะนำเสนอ                                                  30%

           - ความรู้และความถูกต้องของสาระวิทยาศาสตร์

           - เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมาย

           - เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมาย

           - มีความชัดเจน ไม่ยากซับซ้อน หรือง่ายจนเกินไป

        (3) ความน่าสนใจของรูปแบบ/วิธีการ/แนวทางการนำเสนอ            30%

              - มีความเชื่อมโยงของเนื้อหา

              - เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

              - มีความคิดสร้างสรรค์

              - ทักษะการสื่อสารและการใช้สื่อ

              - ความน่าสนใจ ดึงดูด และชวนติดตาม

         (4) ภาพรวมในการเสนอจากคลิปวีดีโอ                                        20%

          ประกาศผลการคัดเลือกรอบแรก ในวันอังคารที่ 3 มกราคม 2566 ผ่านทาง Website ของ อพวช. www.nsm.or.th ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจจกรรมการอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในรูปแบบออนไลน์

           ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566  ผ่านทาง Website อพวช ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ อพวช คลองห้า จำนวน 3 วัน ระหว่าง 08.00 - 21.00 น. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ จากหน่วยงานระดับประเทศ

กำหนดการโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นที่ 18 YTSA#18

วันที่ กิจกรรม
วันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2565 รับสมัคร
วันที่ 3 มกราคม 2566 ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 1
วันที่ 3 – 15 มกราคม 2566 อบรมออนไลน์ผ่านระบบ http://www.plearnscience.com
วันที่ 16 มกราคม 2566 ประการผลคัดเลือกรอบที่ 2
วันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2566 อบรมเชิงปฏิบัติการ 1
วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 อบรมเชิงปฏิบัติการ 2
วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566 นำเสนอผลงาน และประเมินผล

หมายเหตุ : รายละเอียดกำหนดการอบรม ฯ จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง และวันที่จัดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมในภายหลัง

6 ) การอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำหรับทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยประจำปี 2565

  • เยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ (online) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เพร้อมเรียนรู้แนวทางในการฝึกปฏิบัติการนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ให้น่าสนใจในรูปแบบต่าง ๆ (onsite) จากผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานชั้นนำระดับประเทศ นอกจากนี้ยังได้พบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยรุ่นพี่ได้เคยเข้าร่วมโครงการนี้
  • เยาวชนที่เช้าร่วมกิจกรรมการอบรมฯ จะต้องน้ำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมการอบรมฯ มาพัฒนาผลงานการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของตนเอง (1 คน ต่อ 1 ผลงาน) โดยมีระยะเวลานำเสนอไม่เกิน 5 นาที เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566

หมายเหตุ: การจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศอาจมีการเปลี่ยนกำหนดการตามความเหมาะสม

7) การเลือกผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยเพื่อเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น ครั้งที่ 18

  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาคัดเลือกทูตเยาวชนฯ จำนวน 10 คน ที่มีการนำเสนอผลงานยอดเยี่ยม เพื่อแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนทุตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18
  • คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาคัดเลือกทูตเยาวชน ฯ จำนวน 4 คนจาก 10 คนที่ผ่านการคัดเลือก ที่สามารถทำคะแนนในการนำเสนอได้มากที่สุด เพื่อเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม และเยาวชนฯ จำนวน 6 คนจะได้เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น
  • นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยมจำนวน 4 คน และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่นจำนวน 6 คน จได้รับภารกิจร่วมกับ อพวช. ในการสื่อสารวิทยาศาสตร์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อย่างน้อยคนละ 1 ผลงานใน 1ปี

รางวัล

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จำนวน 4 คน

จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ณ สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี (เดินทางร่วมกับผู้ชชนะรุ่น 17 ช่วงเดือน กรกฎาคม 2566)

หมายเหตุ : การเดินทางอาจมีการปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความเหมาะสม

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 คน

จะได้รับ ทุนการศึกษาคนละ 5,000 บาท (รวมจำนวนเงิน 30,000 บาท)

ผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 18

จะได้รับวุฒิบัตร เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และมีโอกาสร่วมงาน อพวช ปฏิบัติงานในภารกิจต่าง ๆ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ อาทิ เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาวิทยาศาสตร์ เขียน บทความเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้งานด้สนการสื่อสารวิทยาศาสตร์

 คณะกรรมการตัดสิน

ผู้ทรงคุณวุฒิจาก

  1. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช)
  2. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์
  3. สถานบันเกอเธ่ประเทศไทย
  4. บริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

หน่วยงานผู้ร่วมจัด

  1. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช)
  2. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมถ์
  3. สถานบันเกอเธ่ประเทศไทย
  4. บริษัท ทรู คอปเปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ศักดิ์ชัย จวนงาม

สุมัยญา ยะก๊บ

Email: ytsaproject@nsm.or.th

โทร 02 577 9999 ต่อ 1475, 1473

สมัครออนไลน์ (Click) https://forms.office.com/r/CJi3LJYNj0

หรือสแกน QR code

   qr code ytsa18

 

 

 

รายละเอียดโครงการ

วิธีการสมัครออนไลน์

 

 

 

ข่าวสารที่่คล้ายกัน