ตามที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้จัดทำโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 หรือ Young Thai Science Ambassador, (YTSA#19) ขึ้น มีกำหนดจัดการอบรมหลักสูตรการสื่อสารวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ในรูปแบบออนไลน์ และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 19 – 21 มกราคม 2567 นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม แข่งขัน และร่วมรับการประเมินเป็นตัวแทน ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 เพื่อร่วมปฏิบัติงานการสื่อสารวิทยาศาสตร์และศึกษาดูงาน ณ สหพันธรัฐเยอรมนี เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อเยาวชนผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 40 คน และรายชื่อผู้ได้ลำดับสำรองจำนวน 5 คน ตามรายชื่อแนบท้ายประกาศฉบับนี้ โดยให้ผู้ผ่านการคัดเลือกทำการยืนยันสิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรมฯ ผ่านทางอีเมลที่ทำการสมัคร ระหว่างวันที่ 8 มกราคม ถึงวันที่ 10 มกราคม 2567 (ภายในเวลาไม่เกิน 12.00 น.) มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ และทำการคัดเลือกผู้ได้ลำดับสำรองเข้าร่วมกิจกรรมตามลำดับ
ทั้งนี้ขอให้ผู้ผ่านการคัดเลือกทุกท่าน เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 19 – 21 มกราคม 2567 ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลองห้า จังหวัดปทุมธานี
ตามที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้จัดทำโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 หรือ Young Thai Science Ambassador, (YTSA#19) ขึ้น มีกำหนดจัดการอบรมหลักสูตรการสื่อสารวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ในรูปแบบออนไลน์ และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 19 – 21 มกราคม 2567 นั้น
บัดนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมและแข่งขัน
ทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อเยาวชนผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมอบรมหลักสูตรการสื่อสารวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 64 คน
ทั้งนี้ขอให้ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมหลักสูตรฯ ดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ โดยผู้ที่เข้าร่วมอบรมออนไลน์ครบตามจำนวนชั่วโมงพร้อมทั้งส่งงานตามที่หลักสูตรกำหนด จะเป็นผู้ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 ระหว่างวันที่ 19 – 21 มกราคม 2567 ต่อไป
ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างยิ่ง จะเกิดอะไรขึ้น หากเราดำรงชีวิตแบบขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์
และจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรามีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการดำรงชีวิต การมีและไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์
จะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างไปอย่างไร การสื่อสารเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อโลกและตัวเราจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมประชาชนได้รับรู้และตระหนักถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็วขององค์ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ล้วนเกี่ยวข้องต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย จึงได้กำหนดจัดโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 ขึ้น (Young Thai Science Ambassador #19) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยกำหนดให้เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในแง่มุมต่าง ๆ ในหัวข้อ “ฟื้น คืน ระบบนิเวศ – Ecosystem Restoration” ภายใต้แนวคิดการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ซึ่งทศวรรษแห่งสหประชาชาตินั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือเป็นเส้นตายสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นช่วงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสามารถป้องกันวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง พร้อมแนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจถึงการเน้นย้ำความสำคัญของการบริหารจัดการระบบนิเวศเพื่อจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิตอย่างบูรณาการ รวมถึงความจำเป็นในการยกระดับความพยายามในการจัดการกับปัญหาการแปรสภาพของผืนดินเป็นทะเลทราย ความเสื่อมโทรมของที่ดิน การกัดเซาะและความแห้งแล้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการขาดแคลนน้ำ ซึ่งถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญที่มีความท้าทายในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่มีเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ เพื่อให้การสื่อสารวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
1. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในระดับอุดมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
2. เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนได้มีโอกาสสื่อสารกับประชาชนเพื่อส่งเสริมการสร้างความตระหนักถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลกและชีวิตของเรา
3. เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนระดับอุดมศึกษาที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์และอยากถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์สู่สังคม
4. เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนนักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของประเทศ
เยาวชนอายุ 17-23 ปี และ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
1. คุณสมบัติของผู้สมัคร
2. หัวข้อในการนำเสนอผลงาน
ฟื้น คืน ระบบนิเวศ –Ecosystem Restoration
เยาวชนจะต้องนำเสนอความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในแง่มุมต่าง ๆ เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของเราภายใต้แนวคิด “การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ที่จะสามารถป้องกันวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง” การสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจถึงการเน้นย้ำความสำคัญของการบริหารจัดการระบบนิเวศเพื่อจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิตอย่างบูรณาการ รวมถึงความจำเป็นในการยกระดับความพยายามในการจัดการกับปัญหาการแปรสภาพของผืนดินเป็นทะเลทราย ความเสื่อมโทรมของที่ดิน การกัดเซาะและความแห้งแล้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการขาดแคลนน้ำ ซึ่งถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญที่มีความท้าทายในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่มีเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ เพื่อให้การสื่อสารวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3. แนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน
ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show), การแสดงสาธิต (Demon), เล่านิทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น (mini puppet theatre), หนังสือ pop up, คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ๆ
การรับสมัคร
เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 สามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://forms.office.com/r/CJi3LJYNj0 พร้อมส่ง proposal แนวคิดเรื่องที่จะสื่อสารและรูปแบบของการสื่อสารที่จะใช้ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ในหัวข้อที่กำหนด โดยสามารถเลือกนำเสนอเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หมดเขตรับสมัคร วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566
รูปแบบการสื่อสาร
ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show), การแสดงสาธิต (Demon), เล่านิทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น (mini puppet theatre), หนังสือ pop up, คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ๆ
การคัดเลือกผลงานเยาวชนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะคัดเลือกเยาวชน 40 คนจากทั่วประเทศโดยพิจารณาจากใบสมัคร แนวทางการสื่อสารที่ส่งเข้ามา โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้
1. หลักการและเหตุผลในการนำเสนอ 30%
2. สาระวิทยาศาสตร์ที่จะนำเสนอ 30%
3. ความน่าสนใจของรูปแบบ/วิธีการ/แนวทางในการนำเสนอ 40%
ประกาศผลคัดเลือกรอบแรก ในวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2566 ผ่านทาง Website ของ อพวช: www.nsm.or.th ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในรูปแบบออนไลน์
ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 ผ่านทาง Website ของ อพวช ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ อพวช. คลองห้า จำนวน 3 วัน ระหว่าง 08.00 – 21.00 น. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ จากหน่วยงานระดับประเทศ
วันที่ | กิจกรรม |
วันที่ 1 ตุลาคม – 15 ธันวาคม 2566 | รับสมัคร |
วันที่ 18 ธันวาคม 2566 | ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 1 |
วันที่ 19 ธันวาคม 2566 – 5 มกราคม 2567 | อบรมออนไลน์ผ่านระบบ http://www.plearnscience.com/ |
วันที่ 8 มกราคม 2567 | ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 2 |
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2567 | อบรมเชิงปฏิบัติการ 1 |
วันเสาร์ที่ 20 มกราคม 2567 | อบรมเชิงปฏิบัติการ 2 |
วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2567 | นำเสนอผลงาน และประเมินผล |
หมายเหตุ: รายละเอียดกำหนดการการอบรมฯ จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง และวันที่จัดการอบรมฯ อาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมในภายหลัง
หมายเหตุ: การจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศอาจมีการปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความเหมาะสม
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม จำนวน 4 คน
จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้แทนทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ณ สหพันสาธารณรัฐเยอรมนี (ช่วงเดือนกรกฎาคม 2567)
หมายเหตุ: การเดินทางอาจมีการปรับเปลี่ยนกำหนดการตามความเหมาะสม
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ดีเด่น จำนวน 6 คน
จะได้รับ ทุนการศึกษา คนละ 5,000 บาท (รวมจำนวนเงิน 30,000 บาท)
ผู้ที่ผ่านการเข้าค่ายทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19
จะได้รับวุฒิบัตร เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และมีโอกาสร่วมงาน อพวช. ปฏิบัติงานในภารกิจต่าง ๆ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ อาทิ เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาวิทยาศาสตร์ เขียนบทความเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้งานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์
ผู้ทรงคุณวุฒิจาก
หน่วยงานผู้ร่วมจัด
ศักดิ์ชัย จวนงาม
สุมัยญา ยะก๊บ
Email: ytsaproject@nsm.or.th
โทร 02 577 9999 ต่อ 1475, 1473
สมัครออนไลน์ (Click) (https://forms.office.com/r/CJi3LJYNj0) หรือสแกน QR Code
Document
|