ที่มาของภาพ : www.shutterstock.com
ฟีโรโมน เป็นสารเคมีที่สร้างมาจากต่อมมีท่อ เมื่อหลั่งออกมานอกร่างกายแล้วจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมรวมไปถึงสรีรวิทยาต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน ฟีโรโมนพบได้ในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด มีหลายรูปแบบ มีการทำงานแตกต่างกันออกไปและจะปรากฏชัดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ สารฟีโรโมนเพศ Sex pheromone เป็นสารฟีโรโมนรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้นมาเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม สามารถทำงานได้แม้อยู่ห่างกันในระยะไกล พบได้ในแมลงหลายวงศ์ โดยแมลงเพศเมียจะปล่อยกลิ่นที่เฉพาะเจาะจงในการดึงดูดแมลงเพศผู้ให้เข้ามาเพื่อผสมพันธุ์ โดยสารดังกล่าวจะทำให้เพศผู้รับรู้และทราบที่อยู่ของเพศเมีย
การศึกษาสารฟีโรโมนเพศชนิดแรกถูกค้นพบในผีเสื้อหนอนไหมเพศเมีย (female silkworm, Bombyx mori) เมื่อปี 1959 โดยนักชีวเคมีชาวเยอรมันชื่อ อดอล์ฟ บูทีนานด์ (Adolph Butenandt) โดยได้ทำการทดลองนำสารที่สกัดได้จากผีเสื้อหนอนไหมตัวเมีย ที่มีชื่อว่า บอมบายโกล (bombygol) มาทดลองวางล่อผีเสื้อหนอนไหมตัวผู้ จากการทดลองพบว่าผีเสื้อหนอนไหมเพศผู้พยายามกระพือปีกและบินเข้ามาใกล้กับสารดังกล่าว
ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference) :
การสื่อสารระหว่างสัตว์ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://manage.brr.ac.th/biology/bio30253/work/ppt2C501G6.pdf [20 กุมภาพันธ์ 2564]
คำค้น (Tags) : ฟีโรโมน bombygol ผีเสื้อหนอนไหม