มารู้จัก Tea กัน

มารู้จัก Tea กัน

02-12-2021
มารู้จัก Tea กัน

     ชาเป็นเครื่องดื่มที่ยอดฮิตในตอนนี้และคงจะไม่มีใครไม่รู้จัก ซึ่งส่วนใหญ่ปัจจุบันนิยมบริโภคชาเป็นเครื่องดื่มเพื่อความสดชื่น ทราบกันหรือไม่ว่าชนิดและคุณภาพชาที่เราดื่มกันนั้นขึ้นอยู่กับกระบวนการแปรรูปหรือกระบวนการหมัก โดยสายพันธุ์ของชา และพื้นที่ลักษณะดินที่ปลูกนั้น มีผลต่อรสชาติของชาทำให้มีความแตกต่างกัน

ครั้งนี้จะพาไปรู้จักชาโดยการแบ่งตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือวิธีการผลิต

          1.ชาดำ (black tea) พวกชาผงหรือชาฝรั่ง ได้จากการเก็บใบชาอ่อน มาผึ่งแดดเพื่อลดปริมาณน้ำในใบชา เมื่อลดปริมาณจะทำให้ใบชาเหี่ยว ชาดำผ่านกรรมวิธีการนวด

เพื่อให้เซลล์ในใบชาแตกช้ำ ซึ่งเอนไซม์ในเซลล์จะย่อยสลาย กรรมวิธีนี้เกิดเป็นกระบวนการหมัก ทำให้เกิดกลิ่นและรส เราจะสังเกตได้ว่าใบของชาดำนั้นจะมีสีดำ เกิดจากใช้

ความร้อนเป่าไปที่ใบชา เพื่อเป็นการหยุดปฏิกิริยาของเอนไซม์ในใบชา

เกร็ดวิทย์

  2. ชาเขียว (green tea) ชาเขียวจะไม่ผ่านกรรมวิธีการหมัก ชาเขียวที่เราทราบกันว่าจะใช้ยอดของใบชาสดผ่านความร้อนไม่สูงมากเพื่อให้ชาแห้งและไม่ให้ใบชาเกิดเป็นสีน้ำตาล

การที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound)จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาดำและชาอู่หลง

เกร็ดวิทย์

  3. ชาอู่หลง (Oolong tea) ชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำ เป็นการนำใบชามาผึ่งแดด และจึงนำไปผึ่งในที่ร่ม

ซึ่งจะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น กรรมวิธีนี้จะได้เป็นการหมักบางส่วน ชาอู่หลงที่ผ่านกระบวนการกึ่งหมักนั้น ทำให้เกิดสารสำคัญ Oolong tea (polymerized-polyphenols หรือ OTPPs) หลังจากกระบวนการหมักเสร็จสิ้น จึงนำใบชาไปคั่ว ตามด้วยการนวด

มาถึงตอนนี้แล้วผู้อ่านคงทราบกันแล้วว่าชาที่เราดื่มกันอยู่นั้นมีกระบวนการผลิตมาอย่างไรถึงแม้ว่ามันเป็นการผลิตที่ค่อนข้างห่างไกลจากตัวเราแต่จะทำให้เราทราบว่ากระบวนการผลิตนั้นจะส่งผลต่อเอกลักษณ์ของชานั้นๆได้ และเราควรดื่มชาที่ชงด้วยใบชาจริงๆ ไม่ใส่น้ำตาล หรือเครื่องปรุงรสชาติอื่นๆ เพิ่ม จะได้ประโยชน์มากที่สุดนั่นเอง

 

ผู้เขียน: นางสาวรัชเนศ เพ็ชรเย็น

ที่มาของภาพ:
ที่มาภาพ https://www.discoverxc.com/2020/03/31/ชาดำ/
ที่มาภาพ https://medthai.com/ชาเขียว/
ที่มา ภาพ https://www.pobpad.com/ชาอู่หลง-สรรพคุณสมคำร่ำ

ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference)
-เอกสารประกอบการเรียน วิชา เคมีอาหาร ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.2553
-https://medthai.com/ชาดำ/
-https://www.ochasama.com/ประโยชน์ชาเขียวญี่ปุ่น/http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1811/tea-ชา
-http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3247/มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน-มผช

ข่าวสารที่่คล้ายกัน