โดยไม่ได้ตั้งใจร่วมด้วย (Motor tics) ซึ่งหากมีอาการทั้งสองอย่างร่วมกันจะเรียกว่า โรคทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome, (TS)) สาเหตุโดยรวมของอาการ tics เกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น
ทางพันธุกรรม ความผิดปกติของระบบประสาทบางส่วน แต่ในกลุ่มอาการประเภทที่สอง อาจถือได้ว่ามีความรุนแรงของอาการมากกว่าอาการในกลุ่มแรก เนื่องจากเมื่อร่างกายถูกกระตุ้นด้วยเสียงหรือ
สัมผัสร่างกายให้เกิดอาการตกใจ หรือทั้ง 2 กรณี ซึ่งการกระตุ้นด้วยเสียงนั้นมีผลให้เกิดการการเปล่งเสียงตามและทำตามคำสั่งนั้น ๆ โดยไม่สามารถควบคุมหรือยับยั้งพฤติกรรมดังกล่าวได้
เรียกอาการนี้ว่า Latah syndrome อาการของโรคนี้ถือว่าเป็นความผิดปกติบางอย่างทางระบบประสาทเช่นกัน แต่มีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม ความเชื่อหรือความกลัว เป็นต้น ซึ่งบางคนกลับมองเป็นเรื่องตลก สนุกและทำให้เกิดการแกล้ง แต่สำหรับในบางรายที่มีความรุนแรงของโรคสูง การตอบสนองนั้นสามารถนำไปสู่อันตรายทั้งต่อตัวเองและบุคคลรอบข้าง เช่น ผู้มีอาการดังกล่าว ถือของมีคมอยู่ในมือ ตลอดจนขณะการขับขี่ยานพาหนะ การอยู่ในพื้นที่สูง หรือสถานที่เสี่ยงต่าง ๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ มีผู้ชายคนหนึ่งกระโดดลงน้ำ
เมื่อเขาได้ยินเสียงตะโกนว่ากระโดด โดยที่ตัวเขาเองว่ายน้ำไม่เป็น นั่นแสดงให้เห็นถึงอันตรายจากบุคคลรอบข้างที่มีส่วนกระตุ้นผู้ที่มีอาการของโรค แล้วทำให้เกิดอันตรายตามมาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ผู้ที่มีอาการจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกกระตุ้น รวมทั้งบุคคลรอบข้างไม่ควรแกล้งหากพบว่ามีภาวะเสี่ยงให้เกิดอันตราย ผู้ที่มีอาการของโรคที่รุนแรงจึงควรไปพบแพทย์เพื่อได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
ผู้เขียน: อณัญญา บุญสนอง
ที่มาของแหล่งข้อมูล:
โรงพยาบาลวิภาวดี, โรคทูเร็ตต์ (Tourette’s disorder) คืออะไร.
https://vibhavadi.com/health702
Front Neurol Neurosci. Jumping Frenchmen, Miryachit, and Latah: Culture-Specific Hyperstartle-Plus Syndromes. [Online], 2017 Nov 17.
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29151096/
J Paediatr Child Health, Tics and Tourette Syndrome, [Online], Oct 2018.
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30294996/
Brain Dev, Tourette Syndrome: Update, [Online], Aug 2015