เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่สูบน้ำออกเพื่อนำดินในพื้นที่มาใช้ทำการเกษตร
ได้มีการแปรสภาพกลายเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้การเพาะปลูกไม่สามารถทำได้ ซึ่งการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดนี้ เกิดมาจากดินที่มีอินทรียวัตถุและซากพืชเน่าเปื่อยปกคลุมอยู่
ด้านบน ที่ระดับความลึก 1-2 เมตร ดินจึงมีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินและมีสารประกอบกำมะถันหรือที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) ปะปนอยู่จำนวนมาก
เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัดส่งผลให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้
จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริชื่อว่า โครงการ “แกล้งดิน” เป็นโครงการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำไว้ในพื้นที่
จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมีสภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้อีกครั้ง
เรียบเรียงโดย: นางสาว กรวิภา เอี่ยมสอ้าง
แหล่งที่มาของภาพและข้อมูล :
http://www.เรารักพระเจ้าอยู่หัว.com /th/blog/page/29/โครงการแกล้งดิน