จอภาพ OLED พิเศษกว่าชนิดอื่นอย่างไร

จอภาพ OLED พิเศษกว่าชนิดอื่นอย่างไร

07-11-2021
จอภาพ OLED พิเศษกว่าชนิดอื่นอย่างไร

จอภาพOLEDหรือ Organic Light Emitting Diodeสร้างขึ้นจากส่วนประกอบที่เป็นสารกึ่งตัวนำ(Semiconductor) ประเภทของแข็งจากวัสดุอินทรีย์ มีความหนา100 – 500 นาโนเมตรโดยสารกึ่งตัวนำที่แตกต่างกันจะเป็นผู้กำหนดสีของแสงที่ปรากฏในแต่ละจุดของหน้าจอในจอประเภท Full Color OLED นั้นจะประกอบขึ้นจากสารอินทรีย์3 ชนิด ได้แก่ สารอินทรีย์ที่ให้แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน ซึ่งสามารถรวมกันเป็นแม่สีของแสงเพื่อใช้สร้างแสงสีอื่นๆ ได้อีกมากมาย โดยสารทั้ง 3 ชนิดนี้ถูกเคลือบอยู่บนชั้นผิว (ชั้น Substrate)ของจอOLED ส่วนความสว่างของแต่ละสีในแต่ละจุดชนหน้าจอนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณกระแสอิเล็กตรอนที่ไหลผ่านชั้นสารกึ่งตัวนำในแต่ละจุด หากมีกระแสอิเล็กตรอนไหลผ่านพื้นที่ใดมาก พื้นที่นั้นก็จะสว่างมากขึ้นและแสดงผลออกมาเป็นสีตามประเภทของสารอินทรีย์ในบริเวณนั้น

ด้วยหลักการข้างต้น OLEDจึงเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้กับจอภาพสมัยใหม่ชนิดต่าง ๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่าจอภาพแบบ LCD และจอภาพแบบ LED ทั้งความบางที่บางกว่า รวมถึงประหยัดพลังงานได้มากกว่าเพราะไม่ต้องอาศัยBacklight หรือการให้แสงกับพื้นหลังทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัด การแสดงผลส่วนที่เป็นสีดำก็จะเป็นสีดำสนิท นอกจากนั้นการคิดค้นวิธีการการลดส่วนประกอบภายในซึ่งส่งผลให้จอ OLED รุ่นใหม่บางลงเรื่อย ๆ นั้น ยังก้าวหน้าไปจนสามารถสร้างจอขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายแผ่นฟิล์มที่มีความบางและยืดหยุ่นจนสามารถพับโค้งงอได้อีกด้วย

 

ที่มาของภาพ:

[1]https://newatlas.com/hp-and-arizona-state-university-demo-flexible-unbreakable-displays/10541/

[2]Light Emitting Plastic Display

ที่มาของแหล่งข้อมูล:

[1] จอภาพ OLED มีดีอย่างไร? และต่างจาก LED/LCD อย่างไร? - https://www.jib.co.th/web/itnew/itnew_detail/1562/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-OLED-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95[สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563]

[2]หลักการทำงานของ OLED TV -https://sites.google.com/a/ubu.ac.th/lcd-led-oled-tv/oled-tv/hlak-kar-tha-ngar-khxng-oled-tv[สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563]

เขียนโดย: ชวลิต  อยู่กิจติชัยนักวิชาการ 6 กองนิทรรศการ

ตรวจทาน: วรรณวจี สุจริตธรรมนักวิชาการ 5 กองวิชาการ

               วชิรพันธ์ เจริญเวช นักวิชาการ 5 กองวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวสารที่่คล้ายกัน