เกร็ดวิทย์ : 10 ข้อชวนคิดเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่

เกร็ดวิทย์ : 10 ข้อชวนคิดเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่

01-12-2021
เกร็ดวิทย์ : 10 ข้อชวนคิดเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่

 

  1. ขุดหลุมปลูกต้นไม้ให้ลึกมาก ๆ เพื่อรากจะได้ลงลึก ๆ รากของต้นไม้ปลูกใหม่จะขยายทางราบและตื้น (ประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร) ไม่ลงหยั่งลงลึก จึงควรขุดหลุมให้กว้างและมีความลึกพอดีกับตุ้มดิน
  2. ก่อนการปลูกต้นไม้ตัดแต่งกิ่งและใบออก 1/3 เพื่อให้สมดุลกับราก พุ่มใบเป็นที่สังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร ควรให้ร่มเงาที่ดีและให้ความชื้นแก่พุ่มใบมาก ๆ ในระยะแรก แทนการตัดทิ้งต้นไม้
    จะฟื้นตัวเร็วกว่า
  3. ใส่ดินผสมตามท้องตลาดมาก ๆ ในหลุมปลูกจึงจะดี ไม่จำเป็น ถ้าดินเดิมพอใช้ได้อยู่แล้ว ดูจากการที่มีต้นไม้ขึ้นได้ดีในบริเวณนั้น ยกเว้นจุดปลูกที่ไม่มีดินหรือดินเลวมาก ให้ผสมปุ๋ยคอกลงไปประมาณร้อยละ 30 (ในประเทศไทย ดินผสมที่มีวางขายในท้องตลาดขาดมาตราฐาน ส่วนใหญ่มีส่วนผสมที่ยังไม่สลายตัวและจะสลายตัวขณะนำไปใช้ จึงเป็นการแย่งไนโตรเจนจากต้นไม้มากกกว่าให้ต้นไม้จึงไม่โตไปหลายปี)
  4. หลังจากปลูกต้นไม้แล้วต้องยึดต้นไม้ให้แน่นหนา ถ้าจำเป็นต้องยึด ควรยึดโดยที่ปล่อยให้ต้นไม้ได้มีการไหวตัวได้บ้าง เพราะการไหวตัวจะช่วยให้ต้นไม้แข็งแรงกว่า
  5. ต้นไม้รักษาแผลของมันเองให้หายได้ ต้นไม้ไม่สามารถสร้างเซลล์มาทดแทนส่วนที่เสียหายได้เหมือนมนุษย์และสัตว์ ต้นไม้จะไม่สร้างเซลล์ซ้ำในเนื้อที่เดิม แต่จะสร้างเซลล์ใหม่ในที่ใหม่ไปตลอดชีวิต
    เมื่อเกิดบาดแผล ต้นไม้จะสร้างเซลล์ใหม่แต่ขึ้นมาเสริมสร้างความแกร่งเพื่อต้านการติดเชื้อที่บริเวณเสียหายโดยทางชีวเคมี
  6. การตัดแต่งต้นไม้ต้องให้ชิดกับลำต้นจึงจะดี การตัดกิ่งแนบชิดลำต้นเป็นการทำลายเนื้อเยื่อป้องกันการผุโดยธรรมชาติที่สร้างไว้บริเวณคอกิ่ง นอกจากนี้ยังเป็นการทำลายแหล่งสะสมพลังงานที่สำคัญของต้นไม้อีกด้วย ทั้งยังเปิดโอกาสให้เชื้อโรคและแมลงโจมตีและเกิดเป็นแผลผุได้ง่ายขึ้น
  7. รากคือส่วนสำคัญที่สุดของต้นไม้ ราก ลำต้นและพุ่มใบมีความสำคัญเท่า ๆ กัน ระบบรากและพุ่มใบพึ่งพาซึ่งกันและกัน เปรียบเสมือนไม้กระดกที่จะต้องเท่ากันทั้งสองข้างจึงจะได้ดุล ถ้ารากเสียหาย พุ่มใบก็เสียหายด้วย ถ้าพุ่มใบได้รับแสงแดดเต็มที่ระบบรากก็จะขยายตัวตาม ดังนั้น การกล่าวว่าส่วนหนึ่งสำคัญกว่าอีกส่วนหนึ่งจึงไม่ถูกต้อง
  8. แมลงและเชื้อราทุกชนิดเป็นอันตรายต่อต้นไม้ จุลชีพและแมลงที่อาศัยอยู่กับต้นไม้มีเพียงไม่เกินร้อยละ 1 เท่านั้นที่เป็นอันตรายต่อต้นไม้ ส่วนใหญ่จะให้ประโยชน์มากกว่าโทษ แมลงช่วยผสมเกสร เชื้อรานับพันชนิดช่วยเกื้อกูลย่อยสลายสารที่ให้ประโยชน์ เชื้อราบางชนิดยังเป็นตัวสลายขั้วกิ่งก้านและใบตายให้หลุดร่วง แบคทีเรียหลายชนิดสร้างไนโตรเจน ดังนั้น จึงต้องระวังไม่ทำลายจุลชีพอีกร้อยละ 99 ที่เป็นประโยชน์นี้ด้วย
  1. ต้นไม้ที่มีสุขภาพแข็งแรงคือต้นไม้ที่ปราศจากโรค ต้นไม้ยังคงสามารถมีสุขภาพที่ดีได้อยู่ ทั้งที่เป็นโรคอยู่นับร้อยชนิด แต่โรคต่าง ๆ เหล่านั้น จะถูกปิดล้อมหรือถูก compartmentalized จุลชีพที่ไม่ถูกปิดล้อมโดยเนื้อเยื่อจะขยายตัวลุกลาม ทำให้เกิดความเครียด สุขภาพที่ดีของต้นไม้หมายถึงความสามารถในการต้านการเครียดแต่ถ้าความเครียดเกิดมากเกินจุดต้านการผุก็จะลุกลาม
  2. การตัดแต่งโดยการบั่นยอดไม่เป็นอันตรายต่อต้นไม้ การตัดแต่งต้นไม้โดยวิธีบั่นยอดไม่เพียงเป็นการทำลายทรงพุ่ม แต่ยังเป็นการทำลายระบบรากไปด้วย การตัดยอดทำให้เกิดการผุได้รวดเร็ว นอกจากนี้ยังเพิ่มภาระการตัดแต่งมากขึ้นเนื่องจากต้นไม้จะแตกกิ่งก้านใหม่หนาแน่นแต่อ่อนแอกว่าเดิม การบั่นยอด
    ถือเป็นอาชญากรรมที่ทำลายความสง่างามของต้นไม้

 

อ้างอิง : หนังสือต้นไม้ใหญ่ ในงานก่อสร้างและพัฒนาเมือง. “รุกขกรรมใหม่ว่าด้วยการผุกับการตัดแต่งต้นไม้ใหญ่”. (เดชา บุญค้ำ). หน้า 167 - 210

เนื้อหา / รูปภาพ : ณัฐพนธ์ พุ่มพวง

ข่าวสารที่่คล้ายกัน