มารู้จัก “โคโรนาแวค” วัคซีนไวรัสโควิด 19 ที่คนไทยควรรู้จัก

มารู้จัก “โคโรนาแวค” วัคซีนไวรัสโควิด 19 ที่คนไทยควรรู้จัก

03-12-2021
มารู้จัก “โคโรนาแวค” วัคซีนไวรัสโควิด 19 ที่คนไทยควรรู้จัก

ปวิตา ลิขิตเดชาโรจน์
กองวิชาการวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.

ภาพจาก https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-sinovac-brazil/brazil-institute-says-coronavac-efficacy-above-50-but-delays-full-results-idUSKBN28X2CR

 

ความท้าทายทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในเวลานี้ คือการพัฒนาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด 19 และยาต้านไวรัส อันเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกเฝ้ารออย่างใจจดจ่อ ประเทศไทยมีแผนการนำเข้าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 เพื่อใช้ภายในประเทศ โดยวัคซีนที่คนไทยจะได้รับในอนาคต มีชื่อว่า “โคโรนาแวค”

โคโรนาแวค (Coronavac) ถูกพัฒนาโดยบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) บริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาวัคซีนในประเทศจีน โดยการนำเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ตายแล้ว (Inactivated vaccine) มากระตุ้นภูมิคุ้มกันการทำงานของภูมิคุ้มกัน ต่างจากวัคซีนที่ใช้สารพันธุกรรม (RNA) ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Nucleic acid vaccine) ของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) และโมเดอร์นา (Moderna) และ วัคซีนที่เกิดจากตัดต่อสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ลงในไวรัสชนิดอื่นให้เป็นตัวนำ (Viral vector vaccine) ของบริษัทแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)

การนำเชื้อตายมาทำวัคซีนเป็นวิธีการผลิตวัคซีนแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคหลายชนิดซึ่งได้ผลดี เช่น วัคซีนโปลิโอแบบฉีด วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เป็นต้น จึงเชื่อว่ามีความปลอดภัยสูงกว่าวัคซีนรูปแบบอื่น โดยวัคซีน โคโรนาแวค สามารถเก็บได้ในตู้เย็นปกติ ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า จึงทำให้ง่ายต่อการขนส่ง และเก็บรักษา

ขณะนี้โคโรนาแวคอยู่ระหว่างการทดลองเฟสที่ 3 ในบราซิล อินโดนีเซีย และตุรกี แม้จะเริ่มมีผลการทดลองถูกเผยแพร่ออกมาบางส่วน แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดถึงประสิทธิภาพของวัคซีนดังกล่าว แต่เพียงเท่านี้ก็ทำให้หุ้นของบริษัทซิโนแวคถูกซื้อโดยบริษัทในต่างประเทศ เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ของประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้รัฐบาลจีนได้เริ่มใช้วัคซีคตัวนี้ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 เป็นกรณีพิเศษแล้ว

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในประเทศไทย เผยว่ารัฐบาลไทยได้จัดซื้อวัคซีนโคโรนาแวค จำนวน 2 ล้านโดส โดยคาดการณ์ว่าวัคซีนชุดแรกจำนวน 2 แสน โดสจะเข้าสู่ไทยช่วงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ชุดที่สองอีก 8 แสน โดส ในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม 2564 และอีก 1 ล้านโดสเป็นวัคซีนของแอสตร้าเซเนก้า จะนำเข้าไทยในช่วงกลางปี 2564 ในปริมาณที่เพียงพอต่อจำนวนประชากรไทยทุกคน อย่างไรก็ตาม ระหว่างรอวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 คนไทยทุกคนควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง รักษาสุขภาพกายและใจ ใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อย ๆ และรักษาระยะห่าง เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤติการระบาดครั้งใหม่นี้ไปพร้อมกัน

เกร็ดวิทย์

ภาพจาก https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-sinovac/sinovac-may-get-phase-iii-trial-results-of-covid-19-vaccine-by-december-executive-says-idUKKBN28012R

 

ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference):
https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S1473-3099%2820%2930843-4
https://www.bbc.com/news/world-asia-china-55212787
https://www.bbc.com/thai/international-54887690
https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(18)31695-7/fulltext
https://www.nytimes.com/2018/07/23/world/asia/china-vaccines-scandal-investigation.html
https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-turkey-china/turkey-says-chinas-sinovac-covid-vaccine-9125-effective-in-late-trials-idUSKBN28Y1R1
https://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/inactivated-virus-vaccine
https://www.reuters.com/article/us-health-coronavirus-coronavac/sinovacs-vaccine-efficacy-less-than-60-in-brazil-trial-report-idINKBN29G14W
https://www.matichon.co.th/economy/news_2515433
เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564
คำค้น (Tags) : วัคซีน, วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19. โคโรนาแวค, Coronavac, Sinovac

ข่าวสารที่่คล้ายกัน