ซ้าย: ปูใบ้ลายกระเบื้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Lophozozymus pictor)
ขวา: ปูใบ้หลังเต่า (ชื่อวิทยาศาสตร์ Atergatis integerrimus)
แม้ปูจะเป็นอาหารทะเลจานโปรด แต่ปูบางชนิดมีพิษและทำให้ผู้รับประทานเสียชีวิตได้ ทั้งนี้เราจะได้รับพิษจากผู้พิษ เมื่อรับประทานปูเข้าไป แต่พิษในปูไม่เป็นอันตราย
เมื่อเราถูกหนีบหรือสัมผัสกับตัวปู มีการศึกษาพบว่าแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในตัวปูนั้นเป็นผู้สร้างสารพิษ เป็นพิษแบบเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า (Tetrodotoxin)
ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทและรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ตามรายงานการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า ความเป็นพิษของปูมีความผันแปรตามสถานที่และฤดูกาลอย่างมาก
ตัวอย่างของปูพิษในประเทศไทย เช่น ปูใบ้ลายกระเบื้อง เป็นปูที่มีพิษรุนแรงและถาวร แม้ปูผ่านการปรุงสุกแล้ว แต่พิษก็ยังคงอยู่
ส่วนปูใบ้หลังเต่าเป็นปูที่มีพิษไม่รุนแรงและผันแปรตามแหล่งที่อยู่อาศัย ฤดูกาล และอาหารที่ปูกิน
ผู้เขียน: นางสาวกมลชนก วงศ์อิสรกุล
ที่มาของภาพ
www.hk01.com
Link to download picture file:
https://1drv.ms/u/s!AjC8C91MzBcy_SZpE3orG7gzwDPC?e=r5Gbjp
Reference
Ng, P.K.L. (1998) Crabs. In: Carpenter, K.E. and V.H. Niem (eds.) FAO Species Identification Guide for Fishery Purposes.
The Living Marine Resources of the Western Central Pacific. Volume 2. Cephalopods, Crustaceans, Holothurians and Sharks.
Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations. Pp. 1045–1156.