ขึ้นชื่อว่ายา เมื่อรับประทานไปแล้วย่อมเกิดการรักษา แต่สำหรับยาบางชนิดกลับถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการรักษาโดยไร้ซึ่งสารออกฤทธิ์ทางการแพทย์
กลุ่มของยาประเภทนี้ เรียกว่า ยาหลอก (Placebo) ถูกทำให้มีลักษณะ สี และขนาดต่าง ๆ ให้ดูคล้ายกับยาทั่วไป แต่กลับไม่มีส่วนประกอบของสารออกฤทธิ์ที่มีผลต่อการรักษา
โดยมีส่วนประกอบหลักที่ทำมาจาก แป้งหรือน้ำตาล ตลอดจนการใช้สารน้ำเกลือในการฉีดเข้าร่างกาย การรักษาแบบฝังเข็มและการผ่าตัดที่ไม่ได้ทำการผ่าตัดจริง หรือการไปพบแพทย์
สิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการศึกษาและทดลองของสถานพยาบาลโดยควบคุมด้วยยาหลอก (Placebo-controlled study)โดยวัดผลจากการเปลี่ยนแปลงที่สามารถวัดหรือสังเกตได้หลังจากผู้รับ
การรักษาทดลองรับประทานยา เรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก (Placebo effect)จากผลการศึกษาทำให้ทราบว่ายาหลอกมีผลได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบโดยในเชิงบวกนั้นยาหลอกอาจทำให้ผู้เข้ารับการรักษาที่มีภาวะต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ ความเครียดวิตกกังวล อาการปวด อาการไอ หรือความดันโลหิตที่ผิดปกติมีอาการตอบสนองในทางสุขภาพที่ดีขึ้น
เนื่องจากผลของยาหลอกอาจมีการเชื่อมโยงมาจากผลความคาดหวังจากการรักษาซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาและปฏิกิริยาทางระบบประสาทที่มีความซับซ้อน ตั้งแต่การเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทบางชนิด เช่น Endorphins และ Dopamine ไปจนถึงสมองบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์แต่ในทางกลับกันนั้นผลในเชิงลบของยาหลอก (Nocebo effect)
อาจทำให้ร่างกายรู้สึกป่วยเมื่อคิดว่าจะป่วย เช่นเมื่อแพทย์ให้คำชี้แจงเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อน หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานยา (ยาหลอก) อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกหรืออาการบางอย่างซึ่งมีผลต่อร่างกายในเชิงลบหลังจากได้รับการรักษาภายใต้การควบคุมด้วยยาหลอก
วิธีการรักษาโดยการใช้ยาหลอกนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาที่ยังคงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้ได้รับการรักษาแต่ละบุคคล และเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ยังคงมีข้อโต้แย้ง นั่นคือด้านจริยธรรมในการรักษาแต่ข้อดีของยาหลอกคือ ไม่มีผลข้างเคียงของสารที่ออกฤทธิ์ที่ร้ายแรงและไม่สามารถพบปัญหาในการใช้ยาที่เกิดขนาด แต่ไม่ว่าจะเป็นการรักษา อาการทางร่างกายจากสภาวะใด สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือการรักษาสภาวะทางจิตใจ โดยไม่เครียดหรือวิตกกังวนจนเกินไปด้วยนั่นเอง
ผู้เขียน: นางสาวอณัญญา บุญสนอง
ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference)
DtschArztebl Int/ Nocebo Phenomena in MedicineTheir Relevance in Everyday Clinical Practice/ [Online]/ 2012.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3401955/
กองบรรณาธิการ HD, hdสุขภาพดี เริมต้นที่นี่ [ออนไลน์]
https://www.honestdocs.co/what-is-the-placebo-effect
Tim Newman, Medically reviewed by Timothy J. Legg, Ph.D., CRNP/ Medical News Today, What is the placebo effect?/ [Online]/ September 7, 2017
https://www.medicalnewstoday.com/articles/306437#clinical-usage-of-placebos
The American Cancer Society medical and editorial content team/America cancer Society/ Placebo Effect, [Online]/ 2015.
https://www.cancer.org/treatment/treatments-and-side-effects/clinical-trials/placebo-effect.html
Harvard Health Publishing, Harvard medical school, The power of the placebo effect
https://www.health.harvard.edu/mental-health/the-power-of-the-placebo-effect