ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เหตุการณ์สึนามิจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในมหาสมุทรอินเดีย คร่าชีวิตคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปมากมาย โดยเฉพาะชาวบ้านและนักท่องเที่ยวบนฝั่งทะเลอันดามันประเทศไทย
ทะเลอันดามันอยู่ใกล้กับขอบแผ่นเปลือกโลกที่คงเคลื่อนที่อยู่ การเคลื่อนที่ดังกล่าวส่งผลให้แผ่นเปลือกโลกชนกันใ ฝั่งทะเลจึงยุบจมตัวลง และน้ำทะเลกัดเซาะจนเว้าแหว่ง จนเกิดหน้าผาชัน บางครั้งอาจก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก
หรือแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ อย่างปี 2547 เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ถึง 9.2 แมกนิจูด ในทางตรงข้าม ทะเลอ่าวไทยไม่ตั้งอยู่บนแถบรอยต่อของแผ่นทวีป ทะเลเกิดจากการยกตัวขึ้นของแผ่นทวีป จึงมีความลึกไม่มากนักและน้ำทะเลขุ่นกว่าฝั่งอันดามัน
นอกจากนี้ โอกาสเกิดแผ่นดินไหวจึงต่ำ กระบวนการเกิดทะเลของทั้งสองฝั่งของประเทศไทยแตกต่างกัน ทำให้มีภูมิประเทศ ความสวยงาม และความเสี่ยงธรณีพิบัติภัยแตกต่างด้วยเช่นกัน สึนามิปี 2547 นับเป็นอุทาหรณ์ให้คนไทยตระหนักถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ
และทำให้พึงระลึกถึงมาตรการและระบบเตือนภัยสำหรับลดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ผู้เขียน: อรทัย สุราฤทธิ์
ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference).
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. สัณฐานชายฝั่งทะเลไทย [ออนไลน์].2013, แหล่งที่มา: https://km.dmcr.go.th/th/c_56/s_77/d_2766 [10 มกราคม 2563]
เดลินิวส์. 'อ.ธรณ์'ชี้ทะเลฝั่ง'อันดามัน' เสี่ยงสึนามิมากกว่า’อ่าวไทย’ [ออนไลน์].2018, แหล่งที่มา: https://www.dailynews.co.th/foreign/684093[10 มกราคม 2563]