ภาพ 1 โครงกระดูกที่ถูกค้นพบในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศจีนเมื่อ 5,000 ปีก่อน อันเป็นหลักฐานของโรคระบาดครั้งใหญ่
โรคระบาดแห่งเอเธนส์ก่อนคริสต์ศักราช 430 ปี
จากหลักฐานของนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ทิวซีดิดิส (Thucydides) ซึ่งมีชีวิตในช่วง 460 – 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช บันทึกเหตุการณ์ขณะที่ชาวเมืองเอเธนส์โดยเฉพาะในค่ายทหาร ป่วยด้วยโรคประหลาดและส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 แสนคน โดย ทิวซีดิดิส บรรยายว่า “ผู้คนที่มีสุขภาพดีทุกคน ถูกจู่โจมอย่างกะทันหันจากไข้ มีอาการตาแดงและอักเสบ ภายในลำคอหรือลิ้นกลายเป็นเลือด และมีลมหายใจที่มีกลิ่นเหม็นไม่เป็นธรรมชาติ”
การที่ ทิวซีดิดิส อธิบายว่า ภายในลำคอและลิ้นกลายเป็นเลือด สันนิษฐานว่า เกิดจากการไอออกมาเป็นเลือดจนผู้คนภายนอกเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงภายในช่องปาก นักวิทยาศาสตร์ในยุคต่อมาถกเถียงถึงโรคระบาดที่เกิดขึ้นที่เอเธนส์ในครั้งนี้ว่า อาจเป็นโรคไทฟอยด์ หรือ อีโบล่า โดยเชื่อว่าการอยู่อย่างแออัดยัดเยียดในค่ายทหารในช่วงสงคราม ทำให้การแพร่ระบาดรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ภาพ 2 ทิวซีดิดิส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก บันทึกถึงเหตุการณ์โรคระบาดที่เอเธนส์ ในช่วง 430 ปีก่อนคริสตกาล
เมื่อเข้าสู่ช่วงประวัติศาสตร์ คือเมื่อมีการนับปีคริสต์ศักราช มนุษย์ ก็ยังคงต้องเผชิญกับภาวะโรคระบาดอีกหลายครั้ง จนถึงปัจจุบัน หากใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์อธิบายความเป็นไปได้ของการระบาดของโรคก็คือ เมื่อมนุษย์เริ่มมีพัฒนาการทางการแพทย์ ผลิตวัคซีนหรือยารักษาโรคขึ้นมา ตัวเชื้อโรคเองก็ต้องปรับตัวเองเพื่อความอยู่รอดเช่นกัน ดังนั้นหากมองถึงเรื่องราวการระบาดที่ผ่านมา จนถึงการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน แน่นอนว่าการระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ จะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ดังนั้นมนุษย์ทุกคนบนโลกจึงควรเตรียมพร้อมในทุกด้านตั้งแต่การป้องกัน การพัฒนาการทางการแพทย์ และเทคโนโลยีที่จะช่วยส่งเสริมให้โรคระบาดไม่ส่งผลกับมนุษย์ในวงกว้างต่อไป
ภาพจาก
ภาพ1 จาก Chinese Archaeology
ภาพ2 จาก www.wikipedia.org
ที่มา
20 of the worst epidemics and pandemics in history จาก www.livescience.com/worst-epidemics-and-pandemics-in-history.html
คำค้น : โรคระบาด, โรคระบาดก่อนประวัติศาสตร์
ผู้เขียน : นายอานุภาพ สกุลงาม นักวิชาการ กองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
บรรณาธิการ (วิชาการ) : นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการกองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
บรรณาธิการ (ภาษา) : นายอานุภาพ สกุลงาม นักวิชาการ กองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
ผู้อนุมัติเผยแพร่ : นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการกองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.