โดยทั่วไปธรรมชาติสร้างให้เพศเมียเป็นฝ่ายที่อุ้มท้อง แต่“ม้าน้ำ”นั้นแตกต่างออกไป โดยที่ม้าน้ำเพศผู้นั้นจะอุ้มท้องแทนเพศเมีย เมื่อถึงฤดูผสมพันธ์เพศผู้จะมีการเปลี่ยนแปลงสีสันให้สวยงามขึ้นเพื่อดึงดูดเพศเมียเข้ามาหา จากนั้นเพศผู้จะใช้หางโอบกอดเพศเมียและดึงเข้ามา โดยที่ทั้งคู่จะแอ่นส่วนท้องประกบเข้าหากัน เพศเมียจะปล่อยไข่ลงไปในถุงหน้าท้อง (Brood pouch) ของตัวผู้ จากนั้นตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อมาผสมกับไข่และฟักเป็นตัวอ่อนภายในถุงหน้าท้อง โดยตัวผู้ต้องอุ้มท้องเป็นเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดแล้ว ม้าน้ำตัวผู้จะบีบกล้ามเนื้อส่วนท้องและพ่นลูกม้าน้ำทั้งหมดออกจากถุงหน้าท้อง
นอกจากนี้ ม้าน้ำยังมีพฤติกรรมชีวิตคู่ที่น่าสนใจนั่นก็คือพฤติกรรมแบบคู่เดียวตลอดทั้งชีวิต คือ ม้าน้ำนั้นเมื่อจับคู่อยู่กับตัวใดแล้วจะอยู่กับตัวนั้นไปจนตาย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอันเป็นไป ก็จะไม่หาคู่ใหม่
ผู้เขียน: นาย ธนากร ฝาชัยภูมิ
เนื้อหาจาก
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งระยอง กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2016). ม้าน้ำ
จาก https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_blog2/100/6273/28 เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ตุลาคม 2562