Heat – sensitive organ หรืออวัยวะรับความร้อนของงู เป็นอวัยวะพิเศษที่ทำให้งูสามรถรับรับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นตัวช่วยของงูในการตรวจหาเหยื่อและล่าเหยื่อได้เป็นอย่างดี ซึ่งอวัยวะรับความร้อนนี้มี 2 แบบด้วยกัน คือ
1. แบบ Labial pit จะพบในงูวงศ์ Boidae (งู Royal Boa Python) และ วงศ์ Pythonidae งูหลาม งูเหลือม มีลักษณะเป็นหลุมเรียงตัวเป็นกลุ่มอยู่บริเวณขากรรไกร หรือริมผีปาก เช่น กลุ่มงู Boa constrictor งูเหลือมและงูหลาม
2. แบบ Facial pit พบในงูวงศ์ Viperidae มีลักษณะเป็นหลุมเว้าลึก 1 คู่อยู่ระหว่าง ตา และจมูก เช่น กลุ่มงูเขียวหางไหม้ งูกะปะ งูแมวเซา
สำหรับ Labial pit มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้อยกว่า Facial pit โดยงูกลุ่มงูที่ใช้ Labial pit ได้แก่ กลุ่มงู Boa constrictor งูเหลือมและงูหลาม ใช้จับความร้อนของสัตว์เลือดอุ่น เช่น นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนงูที่ใช้ Facial pit จะเป็นกลุ่มของงูเขียวหางไหม้ งูกะปะ งูแมวเซา ซึ่งใช้ตรวจจับความร้อนของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน
ผู้เรียบเรียง: สัญชัย เมฆฉาย
ที่มาของภาพ: ชาติชาย เชื้อชาติ
ที่มาของแหล่งข้อมูล: ไพบูลย์ จินตกุล , ลาลัณย์ จันทร์โฮม, ผู้แต่งร่วม. (2539). งูพิษในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถานเสวภา สภากาชาดไทย
วีรยุทธ์ เลาหะจินดา.2552. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์