ร่างกายของมนุษย์เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปก็จะมีกระบวนการย่อยอาหาร ดูดซึม และเผาผลาญพลังงานที่ได้จากอาหาร หรือที่เรียกว่า กระบวนการเมตาบอลิซึม
ที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท ซึ่งอาหารหลักที่เรารับประทานเข้าไปก็มีอยู่ 5 หมู่ ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่
กระบวนการเมตาบอลิซึมถูกกำหนดขึ้นโดยยีน ซึ่งระบบนี้ทำงาน 2 ทิศทางได้แก่ การย่อยโมเลกุลเพื่อ เปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายและสร้างสารประกอบจำเป็น
สำหรับเซลล์ระบบเมตาบอลิซึมนั้นเป็นปฏิกิริยา ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในสิ่งมีชีวิต ปฏิกิริยานี้ยังขึ้นอยู่กับสารอาหารที่เซลล์ได้รับเข้าไปด้วย ทั้งน้ำตาล กรดอะมิโน
ไขมัน วิตามิน ซึ่งก็มาจากอาหารที่เราบริโภคเข้าไปนั่นเอง
ดร.มาร์คุส ราลเซอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ศึกษาหน้าที่ของกระบวนการเมตาบอลิซึมในการทำหน้าที่พื้นฐานของเซลล์ ด้วยการเลือกใช้เซลล์ยีสต์ในการทดลอง
เพราะยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีข้อมูลยีนและกลไกพื้นฐานของเซลล์ คล้ายกับในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ รวมถึงมนุษย์ด้วย โดยนักวิจัยได้จัดการกับระบบเมตาบอลิซึมของเซลล์ยีสต์
เพื่อศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงของระบบเมตาบอลิซึมนั้นมีผลกระทบกับพฤติกรรมของยีนและโมเลกุลที่ยีนสร้างอย่างไร
ผลการวิจัยพบว่า 9 ใน 10 ยีนและโมเลกุลที่ยีนสร้างขี้นมาได้รับผลกระทบจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงระบบเมตาบอลิซึมอาจทำให้
พฤติกรรมของยีนมีการเปลี่ยนแปลงได้ หรือมองแบบง่าย ๆ คือ สารอาหารมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของยีนนั่นเอง
จากผลการวิจัยนี้นำไปสู่ข้อสรุปหลายข้อ รวมทั้งการรับยาเพื่อรักษาโรคเช่นในเซลล์มะเร็งที่เป็น เนื้อร้ายที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนหลายจุดนั้น ทำให้ระบบเมตาบอลิซึม
ของเซลล์แต่ละจุดเปลี่ยนไปเช่นกัน แต่ในทางตรงกันข้ามอาหารที่เรากินเข้าไปอาจเปลี่ยนพฤติกรรมของยีน เหตุผลนี้ทำให้สามารถอธิบายได้ว่าทำไม ยาบางตัวสามารถรักษา
ผู้ป่วยโรคมะเร็งได้สำหรับบางคนเท่านั้น
ภาพจาก : https://wallpaperscraft.com/download/dish_food_fork_knife_white_background_78959/1280x1024#
แหล่งที่มาข้อมูล : University of Cambridge. (2016, February 11). Could the food we eat affect our genes? Study in yeast suggests this may
be the case. ScienceDaily. Retrieved February 14, 2016 from www.sciencedaily.com/releases/2016/02/160211111503.htm
เรียบเรียงโดย : ธนภรณ์ ก้องเสียง