เพราะในนมวัว หรือนมจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมีน้ำตาลที่ชื่อว่าแล็กโทส (lactose) เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว หากร่างกายของมีภาวะพร่องเอนไซม์แล็กเทส (lactase deficiency) เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างเอนไซม์ชนิดนี้ได้ หรือมีอาการแพ้น้ำตาลแลคโตส (lactose intolerance) เมื่อน้ำตาลแล็กโทสไม่สามารถย่อยในลำไส้เล็กเนื่องจากขาดเอนไซม์แล็กเทส (lactase) แล้วถูกดูดซึมไปสะสมอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ จึงทำให้เกิดกระบวนการหมักที่ทำให้เกิดแก๊สและของเหลวในลำไส้ ทำให้มีอาการท้องเสีย ท้องอืด และปวดท้อง อาการมักเกิดหลังจากดื่มนมประมาณ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง
โดยปกติแล้วร่างกายจะสามารถสร้างเอนไซม์แล็กเทสได้เอง แต่เนื่องจากเมื่อมีอายุมากขึ้นเรามักจะไม่ได้ดื่มนมมากเท่าที่ควร ทำให้ร่างกายไม่ผลิตเอนไซม์แล็กเทสเพื่อมาย่อยน้ำตาลแล็กโทส เมื่อดื่มนมเข้าไปจึงเกิดภาวะพร่องเอนไซม์แล็กเทสดังกล่าว และมักพบอาการดังกล่าวในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ตามร้านสะดวกซื้อเราจะเห็นนมหลาย ๆ ยี่ห้อ เริ่มผลิตนมวัวที่ปราศจากน้ำตาลแล็กโทส (lactose free) เพื่อให้ผู้บริโภคที่พร่องเอนไซม์แล็กเทสหรือแพ้น้ำตาลแล็กโทสสามารถรับประทานนมวัวได้
โดยในกรณีพร่องเอนไซม์แล็กเทส (lactase deficiency) หรือแพ้น้ำตาลแลคโตส (lactose intolerance) จะไม่ได้หมายความถึงการแพ้โปรตีนนม (cow’s milk protein allergy) ซึ่งจะทำให้มีอาการคัน ผื่นแดง บวม หอบหืด หายใจติดขัด อาจรุนแรงจนถึงขั้นสียชีวิตได้ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวเนื่องจากแพ้โปรตีนในนมควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ผู้เขียน ฐิติยา ชุ่มมาลี
ที่มาข้อมูล