รู้หรือไม่ ทำไม "ลูซี่" บรรพบุรุษของมนุษย์ถึงโด่งดัง

รู้หรือไม่ ทำไม "ลูซี่" บรรพบุรุษของมนุษย์ถึงโด่งดัง

02-12-2021
รู้หรือไม่ ทำไม "ลูซี่" บรรพบุรุษของมนุษย์ถึงโด่งดัง

ในช่วงที่เราพบบรรพบุรุษของมนุษย์หลากหลายสายพันธุ์ แต่ยังไม่สามารถระบุความเชื่อมโยงกันไม่ได้ จนเมื่อ ค.ศ. 1974 นักบรรพชีวินวิทยาไปขุดหาซากดึกดำบรรพ์แถบโอธิเอเปีย ซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวมีความสมบูรณ์ 40% ของโครงกระดูกทั้งหมด จึงสามารถเห็นรายละเอียดได้ดี

เกร็ดวิทย์

นักบรรพชีวินวิทยาตั้งชื่อให้กับสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่นี้ว่า ออสตราโลพิเธคัส อฟราเรนซิส (Australopithecus afrerensis) แปลว่า ลิงใหญ่ไร้หางจากทางใต้ แม้ไม่พบร่างกายทั้งหมด แต่ทำให้จินตนาการถึงลูซี่ในอดีต คงจะเป็นหญิงสาวบอบบาง จากลักษณะกระดูกสะโพกเชิงกราน เดินสองขา สูงเมตรนิดๆ ขนาดสมองเพียง 35% ของมนุษย์ปัจจุบัน แต่ยังคงมีหน้าตาและขนดกเหมือนลิง
ส่วนชื่อของลูซี่มาจากการที่ทีมขุดค้นนั่งฟังเพลง Lucy in the Sky with Diamond ของวง The Beatle ระหว่างแยกกระดูกอยู่ เลยตั้งชื่อโครงกระดูกหญิงสาวผู้นี้ว่า “ลูซี่”
คณะขุดค้นพบลูซี่อยู่ในชั้นหินอายุประมาณสี่ล้านปี ซึ่งอยู่ลึกกว่าชั้นหินที่มีอายุประมาณสองล้านปี ลูกหลานของเธอได้วิวัฒน์มีสมองขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นมนุษย์วานรกลุ่ม Homo ซึ่งเป็นกลุ่มสกุลเดียวกับมนุษย์พวกเรา แล้วแตกเหล่าแตกกอออกไปเป็นมนุษย์โฮโมอีกหลายชนิด
จนเมื่อประมาณสี่แสนปีที่ผ่านมา มนุษย์สมัยใหม่หรือที่เราเรียกกันว่าโฮโม เซเปียน (Homo sapiens) ที่แปลว่า “มนุษย์ฉลาด” ได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากแอฟริกา แต่ยังคงใช้ชีวิตในทุ่งหญ้า ป่า และล่าสัตว์และเก็บผักกินกัน และเกิดการอพยพไปยังแหล่งอาหารอื่น ๆ และเริ่มสร้างวัฒนธรรมด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ และกระจายตัวทั่วโลก

 

ผู้เขียน: ศักดิ์ชัย จวนงาม

ที่มาของรูปภาพ:

https://evolution.berkeley.edu/evolibrary/images/evograms/hominid_evo.jpg

https://www.nhm.ac.uk/content/dam/nhmwww/discover/human-evolution/australopithecus-afarensis/australopithecus-illustration-lifestyle-two-column.jpg.thumb.768.768.png

ที่มาของแหล่งข้อมูล:

Mcnulty, Kieran. (2016). Hominin taxonomy and phylogeny: what's in a name?. Nature Education Knowledge. 7. 2.

Veldhuis, Djuke & Kjærgaard, Peter & Maslin, Mark. (2014). Human Evolution: Theory and Progress. 10.1007/978-1-4419-0465-2_642.

William H. Kimbel and Lucas K. Delezene. (2009). “Lucy” Redux: A Review of Research on Australopithecus afarensis. Yearbook of Physical Anthropology 52:2-48.

Tracy L. Kivell. (2019). Fossil ape hints at how bipedal walking evolved. Nature, Vol. 575, p. 445 – 446.

ข่าวสารที่่คล้ายกัน