P2P Resolution เป็นหลักที่ถูกนำเสนอจาก ผศ.ดร.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) แนวคิดนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา
เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารในช่วงวิกฤตของสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ ซึ่งหลัก P2P Resolution ต้องอาศัยการร่วมมือจากทั้ง 2 กระบวนการ คือ People to People และ
Producers to Producers
People to People คือ กระบวนการและวิธีการที่ให้ประชาชน ได้มีพื้นที่ โอกาส สามารถเข้าถึงทุนทางนิเวศวัฒนธรรม ช่วยเหลือ แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนกันให้ได้มากที่สุด
Producers to Producers คือ กระบวนการและวิธีการที่ให้ผู้ผลิต ที่มีอุปสงค์และอุปทานสอดคล้องกัน มีพื้นที่ โอกาสที่ได้ใช้ศักยภาพทุนทางผลิตภัณฑ์ของกันและกัน ช่วยเหลือ แบ่งปัน
และแลกเปลี่ยนอุปสงค์และอุปทานกันได้มากที่สุด
ตัวอย่างแนวคิด P2P Resolution
การแลกเปลี่ยนระหว่างสองฝ่ายนี้เป็นแนวคิดแบบเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ได้แลกเปลี่ยนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แนวคิด P2P Resolution นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนรับมือในระยะยาวของการแก้ไขปัญหาโดยอาศัยภูมิปัญญาและความร่วมมือจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน
ผู้เขียน: สิรีพัชร โกยโภไคสวรรค์
ที่มาของรูปภาพ:
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/1824?utm_source=category&utm_medium=internal_referral
ที่มาของข้อมูล:
โพสทูเดย์, “"ข้าวแลกปลา-ปลาแลกข้าว" วิถีวัฒนธรรมชุมชนที่สุรินทร์”, available from https://bit.ly/34S3jQN, accessed on May 10, 2020.
กรุงเทพธุรกิจ, “'ข้าวแลกปลา' เศรษฐกิจวัฒนธรรมเพื่อความอยู่รอดของกลุ่มชาติพันธุ์”, available from https://judprakai.bangkokbiznews.com/social/1824?fbclid=IwAR1sAemyPliSVmOo1hquYEFsYYO_eZi9nYgZopXr3TmWud-VyVMqUK_7pK0, accessed on May 10, 2020.