ในการย้อมสีเสื้อยืดที่ผลิตจากใยผ้าฝ้าย โดยปกติแล้ว เสื้อยืด 1 ตัว จะใช้น้ำปริมาณ 630 ลิตร
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการย้อมแล้วจะเกิดน้ำเสียจากสารเคมีที่ไม่ได้ผ่านการบำบัดถูกทิ้งลงแหล่งน้ำในปริมาณมหาศาล ซึ่งน้ำเสียที่ถูกปล่อยทิ้งนั้น
จะก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำและเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำอีกด้วย
นักวิจัยจึงคิดค้นกระบวนการใหม่ในการย้อมผ้าโดยใช้แบคทีเรีย streptomyces coelicolor กระบวนการนี้ใช้น้ำเพียง 200 มิลลิลิตรเท่านั้นใน
การย้อมผ้า 1 กิโลกรัม สำหรับการนำแบคทีเรีย streptomyces coelicolor มาใช้ในการย้อมสีผ้านั้น เราจะต้องนำแบคทีเรียชนิดนี้ไปหมักใน
สารละลายน้ำตาล ซึ่งแบคทีเรีย streptomyces coelicolor ที่ผ่านกระบวนการหมักจะสามารถผลิตเม็ดสีลงบนเนื้อผ้าได้โดยตรง
นัตไซ ออเดรย์ ชิเอซา ผู้ก่อตั้ง เฟเบอร์ ฟิวเจอร์ส อธิบายว่า สีที่ได้จากกระบวนการหมักแบคทีเรีย streptomyces coelicolor จะเป็นสีกรมท่า
และชมพูสด แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ กระบวนการเลี้ยงแบคทีเรีย และกระบวนการหมัก รวมถึงความเป็นกรดด่างของสภาพแวดล้อม ซึ่ง นัตไซ ออเดรย์
ชิเอซา ได้ให้ความสนใจในเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนวิธีการออกแบบในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การย้อมผ้าโดยใช้แบคทีเรีย streptomyces coelicolor จะทำให้ใช้น้ำในกระบวนการผลิตน้อยลงเป็นการช่วยลดปริมาณน้ำเสียที่เกิดจากการย้อมผ้า
แบบเดิมได้ ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ เมื่อเปรียบเทียบกับการย้อมแบบ
เดิมที่ต้องใช้สารเคมีในการย้อมสีผ้า
ผู้เขียน : นางสาวปิยะณัฐ ณ วิเชียร
Link ที่เกี่ยวข้อง :
https://www.bbc.com/thai/international-49721626