มดแดง กำลังช่วยกันสร้างรังจากใบไม้
ภาพโดย : เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์
มิใช่เพียงมนุษย์และสัตว์ขนาดใหญ่เท่านั้นที่อยู่ร่วมกันเป็น “สัตว์สังคม” (Social animal) แต่สัตว์ขนาดเล็กอย่างแมลงก็มีรูปแบบการดำรงชีวิตเป็นแบบ “แมลงสังคม” (Social Insects) เช่นกัน แล้วรู้หรือไม่ว่าแมลงสังคม คืออะไร
ผึ้ง ต่อ แตน มด และปลวก เมื่อกล่าวถึงแมลงเหล่านี้ หลาย ๆ คนจะนึกถึงคำสำคัญขึ้นมาคล้าย ๆ กัน ก็คือ “แมลงสังคม” เราสามารถให้คำนิยามของ “แมลงสังคม” ได้ว่า คือ แมลงชนิดเดียวกันที่มีการอาศัยอยู่ในรังเดียวกัน มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน มีความคาบเกี่ยวกันของอายุสมาชิกภายในรัง และมีการเลี้ยงดูตัวอ่อนโดยวรรณะกรรมกร ซึ่งถ้าจะให้ระบุแบบเฉพาะเจาะจงลงไปอีก เราจะเรียกแมลงเหล่านี้ว่า “แมลงสังคมแท้จริง (Eusocial insects)”
รังแตนกระดาษ
ภาพโดย : เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์
แมลงสังคมแท้จริง เพศเมียทำหน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อน มีสมาชิกต่างรุ่นอยู่ร่วมกันภายในรัง และมีการกำหนดวรรณะต่าง ๆ เพื่อแบ่งหน้าที่การทำงาน โดย “ราชินีหรือนางพญา” ซึ่งโดยปกติมีเพียงตัวเดียวภายในรัง ทำหน้าที่ควบคุมประชากรทั้งหมด โดยเราสามารถแบ่งแมลงสังคมเหล่านี้ออกเป็น 2 กลุ่ม ตามรูปแบบการทำรัง ดังนี้
นอกจากนี้ ยังมีแมลงสังคมอื่น ๆ ที่มีรูปแบบการวิวัฒนาการของการเป็นแมลงสังคมมาก่อนที่จะกลายเป็นแมลงสังคมแท้จริง ซึ่งประโยชน์สำคัญของการเป็นแมลงสังคมก็เพื่อการป้องกันภัยและการสืบพันธุ์ โดยรูปแบบของแมลงสังคมที่หลากหลายนี้จะขอนำเสนอในโอกาสต่อไป
แหล่งอ้างอิง: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1_สืบค้นวันที่ 20 มิ.ย.2564
https://www.britannica.com/science/eusocial-species _สืบค้นวันที่ 20 มิ.ย.2564
ผู้เขียน: ทัศนัย จีนทอง
ภาพถ่าย: เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์
ผู้ตรวจสอบเนื้อหา: วียะวัฒน์ ใจตรง