นักล่าแห่งน่านน้ำโบราณ

นักล่าแห่งน่านน้ำโบราณ

03-12-2021

เมื่อเอ่ยถึง ฉลาม หลายคนมักจะนึกถึงภาพของเพชรฆาตแห่งท้องทะเล แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อ 400 ล้านปีก่อน ในปลายยุคดีโวเนียน ฉลามเคยแหวกว่ายเป็นนักล่าในมหานทีแห่งท้องน้ำจืดด้วยเช่นกัน

ไฮโบดอนท์ คือฉลามน้ำจืดโบราณ มีความยาวลำตัวประมาณ 6 เมตร ลำตัวคล้ายฉลามปัจจุบัน มีครีบหางส่วนบนยาวกว่าส่วนล่าง (heterocercal tail) พบเงี่ยงบริเวณครีบหลัง (dorsal spine) เพื่อช่วยลดแรงต้านขณะว่ายน้ำ ตัวผู้พบ cephalic spine บริเวณหัว ใช้สำหรับเกาะเกี่ยวตัวเมียในขณะผสมพันธุ์

ด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยา ฉลามจัดอยู่ในกลุ่มปลากระดูกอ่อน ฟันจึงเป็นชิ้นส่วนที่ถูกเก็บรักษาอยู่ในรูปของฟอสซิลได้ดีที่สุด เนื่องจากฟันมีสารเคลือบฟัน (enameloid) ที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมของแร่ธาตุในรูปไฮดร็อกซีอะพาไทส์ (hydroxyapatite) สูงมาก มากกว่าที่พบในกระดูกเสียอีก องค์ประกอบนี้เองที่ทำให้ฟันเป็นส่วนที่แข็งที่สุดและย่อยสลายยากที่สุดในร่างกาย นักโบราณชีววิทยาจึงใช้ลักษณะของฟันในการจัดจำแนกฉลามน้ำจืด ปัจจุบันประเทศไทยพบฟอสซิลฉลามน้ำจืดมากกว่า 23 ชนิด จากแหล่งขุดค้นทั่วประเทศ

 

ผู้เขียน: สุชาดา คำหา
บรรณาธิการ (วิชาการ): โดม ประทุมทอง

ข่าวสารที่่คล้ายกัน