Food Security (ความมั่นคงทางอาหาร)

Food Security (ความมั่นคงทางอาหาร)

14-12-2021
Food Security (ความมั่นคงทางอาหาร)

Food Security หมายถึง ความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นคำที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางอาหารตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1970 โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดความหมายว่า “สภาวะที่คนทุกคนและทุกขณะเวลามีความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจที่สามารถเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจด้านอาหารเพื่อให้เกิดชีวิตที่มีพลังและมีสุขภาพ” แบ่งความหมายด้านความมั่นคงออกเป็น 4 ด้าน คือ

  1. การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) การมีอาหารในปริมาณที่เพียงพอและมีคุณภาพ
  2. การเข้าถึงอาหาร (Food Access) การเข้าถึงทรัพยากรที่เหมาะสมรวมไปถึงสิทธิเพื่อการหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม
  3. การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) การใช้ประโยชน์จากอาหารในการบริโภค โดยมีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีน้ำสะอาดในการบริโภค-อุปโภค มีสุขอนามัยและการดูแลสุขภาพที่ดี
  4. การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability) ประชาชนหรือครัวเรือนหรือบุคคลต้องเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอตลอดเวลา ไม่มีความเสี่ยงในการเข้าถึงอาหารเมื่อเกิดความขาดแคลนขึ้นมาอย่างกะทันหัน

 

ภาพจาก : https://www.nutrishatives.com/what-is-food-security/what-is-food-security-2/
ที่มาข้อมูล : นนทกานต์ จันทร์อ่อน. ความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2014, แหล่งที่มา: http://library.senate.go.th/document/Ext7091/7091777_0002.PDF [11 เมษายน 2563]

ผู้เขียน : นางสาวศศลักษณ์ มูลรินต๊ะ นักวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
บรรณาธิการ (วิชาการ) : นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการกองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
บรรณาธิการ (ภาษา) : นายอานุภาพ สกุลงาม นักวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
ผู้อนุมัติเผยแพร่ : นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการกองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.

ข่าวสารที่่คล้ายกัน