บาร์โค้ด (barcode) หรือในภาษาไทยเรียกว่า "รหัสแท่ง" คือ การแทนข้อมูลที่เป็นรหัสเลขฐานสอง (Binary codes)ในรูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้างของแถบที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ข้างล่าง ซึ่งระบบนี้เป็นมาตรฐานสากลที่นิยมใช้กันทั่วโลก
เทคโนโลยีบาร์โค้ด ถูกนำมาใช้ทดแทนในส่วนการบันทึกข้อมูล (Data Entry) ด้วยคีย์บอร์ด ปัจจุบันมีบทบาทในทุกส่วนของอุตสาหกรรมการค้าขาย และการบริการ ที่ต้องใช้การบริหารจัดการข้อมูลจากฐานข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และปัจจุบันมีการประยุกต์การใช้งานบาร์โค้ดเข้ากับการใช้งานของ มือถือ สำหรับระบบบาร์โค้ดจะใช้ควบคู่กับเครื่องอ่าน ที่เรียกว่า เครื่องยิงบาร์ โค้ด(Scanner) ซึ่งเป็นเป็นตัวอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปรหัสแท่ง เป็นข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร
หลักการทำงาน
การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงด้วยเครื่องแสกนเนอร์ เพื่ออ่านข้อมูลเข้าเก็บในคอมพิวเตอร์โดยตรงไม่ต้องผ่านการกดปุ่มที่แป้นพิมพ์
โดยประเทศไทยไทยเริ่มใช้บาร์โค้ดในปี 2536 โดยมีสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย“Thai Article Numbering Council” หรือ “TANC” เป็นองค์กรตัวแทนของ ”EAN” ภายใต้การดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ระบบ EAN เป็นระบบที่มีการยอมรับในโลกมาที่สุด ที่ประเทศไทยใช้นั้นจะมีลักษณะเป็นเลขชุด 13 หลัก ซึ่งมีความหมายดังนี้
หมายเลข 1 สัญลักษณ์แท่งสีเข้มสลับสีอ่อนสำหรับอ่านด้วยเครื่องสแกนเนอร์
หมายเลข 2 885 : ตัวเลข 3 หลักแรก คือรหัสของประเทศไทย
หมายเลข 3 0000 : ตัวเลข 4 ตัวถัดมา เป็นรหัสโรงงานที่ผลิต หรือรหัสสมาชิก
หมายเลข 4 11111 : 5 ตัวถัดมาเป็นรหัสสินค้า
หมายเลข 5 2 : ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นตัวเลขตรวจสอบเลข 12 ข้างหน้าว่ากำหนดถูกต้อง
หรือไม่ถ้าตัวสุดท้ายผิด บาร์โค้ดตัวนั้นจะอ่านไม่ออกสื่อความหมายไม่ได้
อ้างอิง:
- ประวัติ การประดิษฐ์บาร์โค้ด[Internet].2556 [เข้าถึงเมื่อ2 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าได้จาก: http://guru.sanook.com/9287
- บาร์โค้ด (Barcode) คืออะไร[Internet].2556 [เข้าถึงเมื่อ2 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าได้จาก: http://riverplusblog.com/tag/handheld/
- บาร์โค้ด (Barcode) มีประโยชน์ต่อการทำธุรกิจอย่างไร[Internet]. [เข้าถึงเมื่อ2 กุมภาพันธ์ 2558]. เข้าได้จาก: http://www.pen1.biz/TipBarcode.html