Droplet transmission

Droplet transmission

14-12-2021
Droplet transmission

Droplet transmission คือ วิธีการแพร่กระจายของเชื้อก่อโรคซึ่งเป็นการกระจายไปกับฝอยละอองที่มีขนาด “ใหญ่” กว่า 5 ไมครอน โดยทั่วไป ฝอยละอองเหล่านี้จะฟุ้งในอากาศได้ไม่นาน แพร่ไปไม่ไกล โรคที่แพร่กระจายโดยวิธีนี้ ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก (Avian Influenza) และโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome : SARS) เป็นต้น การป้องกันการแพร่กระจายทำได้ง่ายด้วยการใส่หน้ากากอนามัย เมื่อมีอาการไอหรือจามควรใช้ทิชชูปิดปากและควรนำทิชชูที่ใช้นั้นทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิด ถ้าไม่มีทิชชู ให้ใช้ต้นแขนด้านในแทน หากไอจามแล้วต้องรีบล้างมือ ไม่เข้าใกล้ผู้ป่วยหรือผู้คนทั่วไปในระยะน้อยกว่า 1 เมตร พยายามดูแลสุขอนามัย รักษาความสะอาดของมือเป็นประจำด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และไม่พยายามใช้มือสัมผัสบริเวณใบหน้า ก็จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคผ่านฝอยละอองได้

 

ที่มาข้อมูล :
1. ผ.ศ. น.พ. กำธร มาลาธรรม. หลักการขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/Nosocomial%20infection%20%E0%B8%AD%20%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%98%E0%B8%A3.pdf [28 มีนาคม 2563]
2. Novel Coronavirus (COVID-19) advice for the public. [ออนไลน์]. 2020, แหล่งที่มา: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/advice-for-public [28 มีนาคม 2563]
ผู้เขียน : นางสาวศศลักษณ์ มูลรินต๊ะ นักวิชาการ กองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
บรรณาธิการ (วิชาการ) : นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการกองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
บรรณาธิการ (ภาษา) : นายอานุภาพ สกุลงาม นักวิชาการ กองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.
ผู้อนุมัติเผยแพร่ : นางสาวอุมาภรณ์ เครือคำวัง ผู้อำนวยการกองวิชาการ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อพวช.

ข่าวสารที่่คล้ายกัน