ชุดทดสอบอย่างง่าย (test kit) คือ ชุดทดสอบที่ใช้สำหรับคัดกรองตัวอย่างเบื้องต้น ใช้เวลาไม่นานและสามารถทำได้ง่าย เพื่อให้ทราบผลอย่างรวดเร็วในเบื้องต้นก่อนจะนำไปทดสอบอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือและขั้นตอนที่มีแม่นยำสูงในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลถูกต้องมากขึ้น โดยทั่วไปชุดทดสอบอย่างง่ายจะถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานง่าย เห็นผลลัพธ์ในเวลาไม่นาน ไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ
หลักการของชุดทดสอบอย่างง่าย อาศัยการเกิดปฏิกิริยาระหว่างสารเป้าหมายที่ต้องการทดสอบกับสารที่มีความไวและจำเพาะต่อการเกิดปฏิกิริยากับสารนั้นๆ เมื่อสารทดสอบทำปฏิกิริยากับสารเป้าหมายจะแสดงการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างง่ายและชัดเจน เช่น สีเปลี่ยนไปจากเดิม หรือ เกิดการเรืองแสง โดยปฏิกิริยาเคมีที่นำมาใช้กับชุดทดสอบอย่างง่ายมีหลายปฏิกิริยา ได้แก่
1. ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับด่าง เช่น ชุดทดสอบค่าความเป็นกรด-ด่าง
2. ปฏิกิริยาของเอนไซม์ เช่น ชุดตรวจตั้งครรภ์, ชุดทดสอบเชื้อไข้หวัด
3. ปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน เช่น ชุดทดสอบหาปริมาณโลหะหนักในน้ำ
4. ปฏิกิริยาออกซิเดชัน-รีดักชัน เช่น ชุดทดสอบหาปริมาณ ไดเวเลนต์โคบอลต์ (Cobalt; Co(II))
ผู้เขียน : บุรวัชร์ นาคสู่สุข
ที่มาของแหล่งข้อมูล
https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/1850-test-kit
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/291_17-20.pdf