ค่าดัชนีมวลกาย

ค่าดัชนีมวลกาย

13-12-2021
ค่าดัชนีมวลกาย

ค่าดัชนีมวลกาย

ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือ ค่าน้ำหนักตัวของแต่ละคนที่ควรจะเป็น โดยได้มาจากค่าความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูงของแต่ละคน โดย

ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
                              ส่วนสูง (เมตร)2

เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม และสูง 155 ซม. จะมีค่าดัชนีมวลกาย

ค่าดัชนีมวลกาย =     60
                           (1.55)2

                        = 25.39

จากตัวอย่าง ค่าดัชนีมวลกายที่ได้ 25.39 หากเทียบในตารางค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนไทย (ชาวเอเชีย)
จะพบว่า อยู่ในช่วงของ 25.00 - 29.99 ซึ่งจัดได้ว่าเข้าข่ายอ้วนแล้ว โดยในตารางดัชนีมวลกาย มีการจำแนกระหว่างชาวอเมริกัน ยุโรป แอฟริกัน และชาวเอเชีย เนื่องจากคนเอเชียจะมีสรีระที่เล็กกว่าชาวอเมริกัน ยุโรป และแอฟริกันมาก จึงจำเป็นต้องปรับช่วงของดัชนีมวลกายให้ตรงกับโครงสร้างร่างกายของคนเอเชียเพื่อแม่นยำในการแปลความหมาย

จากข้อมูลดัชนีมวลกายองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าคนเอเชียที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะมีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นหรือแปลได้ว่า ยิ่งคุณมีน้ำหนักมากขึ้น ก็จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริง ความอ้วนไม่ได้นำมาซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งหลายโรค ที่ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของเราให้มีความยากลำบาก และนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระยะยาว เป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวม

 

ที่มา : http://www.bangpakokhospital.com/care_blog/content/%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2BMI

https://ss.mahidol.ac.th/th2/index.php?option=com_k2&view=item&layout=item&id=2&Itemid=218

ผู้เขียน : นายพิทยา ทรงศิริ
บรรณาธิการ (ภาษา) : นายอานุภาพ สกุลงาม

ข่าวสารที่่คล้ายกัน