เมื่อไม่นานมานี้คงจะได้ยินกันว่า มีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง ทั้งที่ประเทศจีน และลาว ซึ่งทำเกิดแม่น้ำโขงเปลี่ยนสีเป็นสีฟ้าใสเหมือนน้ำทะเล หรือที่เรียกว่า
ปรากฏการณ์แม่น้ำหิว (Hungry Water Effect)
ปรากฏการณ์แม่น้ำหิว (Hungry Water Effect) คือ น้ำที่อยู่ห่างฝั่งจะใส เป็นสีฟ้าราวกับน้ำทะเล ส่วนน้ำที่อยู่ใกล้ฝั่งจะเห็นความขุ่นอย่างชัดเจน ปรากฏการณ์นี้ส่วนหนึ่ง
เกิดจากการสร้างเขื่อน เมื่อน้ำในเขื่อนถูกปล่อยออกมาช้าๆ ตะกอนที่เคยถูกพัดพาไปกับน้ำจะตกตะกอนอยู่ที่หลังเขื่อน ไม่ไหลออกมากับน้ำตามที่เคยเป็น น้ำที่เห็นจึง
ใสกว่าปกติ แล้วทำไมเรียกว่าน้ำหิว เพราะ พลังงานในน้ำที่เคยใช้พัดเอาตะกอนจากหลังเขื่อนมาด้วยไม่ได้ใช้อีกต่อไป เมื่อน้ำไหลผ่านตลิ่งใหม่พลังงานที่เหลือเหล่านี้
จึงถูกนำไปใช้ในการพัดพาตะกอน และกัดเซาะเอาตะกอนใหม่จากตลิ่ง เหมือนกับน้ำไปกินตลิ่งใหม่เพราะน้ำหิวนั้นเอง
ผู้เขียน : รักชนก บุตตะโยธี
ที่มาข้อมูล : https://www.researchgate.net/publication/225898396_Hungry_Water_Effects_of_Dams_and_Gravel_Mining_on_River_Channels
https://themomentum.co/hungry-water/
ที่มาภาพ : https://www.sanook.com/news/7967706/gallery/2308850/