พฤฒวิทยา เป็นการศึกษาภาวการณ์สูงวัยและผู้สูงวัยในหลาย ๆ มิติ และนับวันยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะช่วงชีวิตของคนในปัจจุบันยาวนานมากขึ้นด้วยวิทยาการ
ทางการแพทย์ การศึกษาด้านพฤฒวิทยาเชื่อมโยงกับสาขาต่าง ๆ ทั้งการแพทย์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา สาธารณสุข และนโยบายสาธารณะ หากกล่าวอย่างสั้นกระชับ พฤฒวิทยาครอบคลุม
- การศึกษากระบวนการความเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากวัยกลางคนเข้าสู่วัยชราในช่วงบั้นปลายชีวิต
- การทำความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อประชากรผู้สูงวัย จึงเกี่ยวข้องกับความรู้ทางมนุษยศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ ปรัชญา วรรณกรรม จนถึง เศรษฐศาสตร์
- การประยุกต์ใช้ความรู้จากการศึกษาพฤฒวิทยากับการกำหนดนโยบาย และพัฒนาโครงการและกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัย
กล่าวได้ว่า พฤฒวิทยานั้นเป็นสหวิทยากรที่เกี่ยวข้องกับกาย จิต และสังคม กับการศึกษาภาวะสูงวัย (aging) ซึ่งแตกต่างจากเวชศาสตร์ผู้สูงอายุที่เน้นการดูแลและการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ อย่างไรก็ดี ทั้งสองสาขาวิชามุ่งพัฒนคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย ยิ่งสังคมมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤฒวิทยามากขึ้น ยิ่งส่งเสริมให้ปัจเจกบุคคลวางแผนชีวิตและความต้องการได้ดีขึ้น
รวมทั้งชุมชนและผู้ตัดสินใจเชิงนโยบายเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมกับกลุ่มประชากรผู้สูงวัย เพราะนับวันประชากรสูงวัยมากขึ้น และสังคมในหลายประเทศกลายเป็นสังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์แล้ว
ผู้เขียน : ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
แหล่งอ้างอิง : https://iog.publichealth.uga.edu/what-is-gerontology/