นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ใน “มิไรคาน” ประเทศญี่ปุ่น

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ใน “มิไรคาน” ประเทศญี่ปุ่น

17-12-2021
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ใน “มิไรคาน” ประเทศญี่ปุ่น

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ใน “มิไรคาน” ประเทศญี่ปุ่น
อานุภาพ สกุลงาม

   ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (Science Museum) หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์ (Science Centre) ใดๆ ก็ตาม พนักงานที่ทำหน้าที่หลักในหน่วยงานดังกล่าวก็คือ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ สำหรับในประเทศไทย คำว่า “สื่อสารวิทยาศาสตร์” อาจจะเป็นคำใหม่ และถูกใช้ในวงจำกัด แต่สำหรับในแวดวงของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และศูนย์วิทยาศาสตร์แล้ว นี่คือพนักงานหลัก (Core Staff) ที่จะนำพาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มาจาก นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัย ไปสู่กลุ่มคนสาธารณะที่เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ หรือศูนย์วิทยาศาสตร์ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ดังนั้น นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ จึงเป็นบุคคลที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และขณะเดียวกันก็ควรจะมีทักษะในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ หากพูดให้ง่ายขึ้นก็คือ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ต้องมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และต้องมีศิลปะในการสื่อสารด้วยเช่นกัน

   โดยทั่วไป นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์ และศูนย์วิทยาศาสตร์ จะมีพื้นฐานการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นปริญญาตรี หรือระดับบัณฑิตศึกษา เป็นการเรียนในระบบที่มีรูปแบบการวัดผล การเรียนที่คล้ายคลึงกันในแต่ละมหาวิทยาลัย แต่สำหรับทักษะในการสื่อสาร อาจกล่าวได้ว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัวที่มีอยู่ในความสามารถของคนแต่ละคน บางคนอาจค้นพบว่าตนเองมีทักษะในการสื่อสารด้วยเรื่องยากๆให้เป็นเรื่องง่ายๆ ผ่านวิธีการมากมาย ขณะเดียวกันกับบุคคลที่จบวิทยาศาสตร์เหมือนกันอาจจะไม่มีทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์เลยก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้อาจเป็นไปได้ว่าทักษะการสื่อสารเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจสามารถพัฒนาและฝึกฝนให้มีความคล่องแคล่ว ราบรื่นและ หลากหลายได้ โดยทั้งนี้คงต้องขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละบุคคล ระยะเวลา เนื้อหาที่สนใจ รวมถึง แรงบันดาลใจที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล 

    บทความนี้ ผู้เขียน เขียนโดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางการของ มิไรคาน ในภาคภาษาอังกฤษ (www. miraikan.jst.go.jp/en/) การแสดงความเห็นในบทความเกิดขึ้นจากการที่ผู้เขียนอ่านเนื้อหาในเว็บไซต์ และวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ปรากฏ ดังนั้นความเป็นไปได้ของเนื้อหาอาจถูกตีความได้หลากหลายแนวทางโดยขึ้นอยู่กับความคิดเห็น พื้นฐานทางอาชีพ การงาน และทัศนคติในงานด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน   
2นักวิชาการ กองวิชาการวิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

   ที่ “มิไรคาน” (มิไรคาน ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า โลกแห่งอนาคต) พิพิธภัณฑ์นวัตกรรมและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่แห่งชาติ (Miraikan : National Museum of Emerging Science and Innovation) ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  ให้ความสำคัญเรื่องการสื่อสารวิทยาศาสตร์ โดยในหน้าเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ มิไรคาน ในภาคภาษาอังกฤษ 
(www. miraikan.jst.go.jp/en/) จัดให้มีคอลัมน์ ห้องของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communicators’ Room) ในหน้าแรก การจัดวางคอลัมน์นี้ในหน้าแรกอาจแปลความหมายได้ว่า มิไรคาน ให้ความสำคัญกับบุคลากรด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เช่นกัน เพราะนอกเหนือจากนิทรรศการ ชิ้นงาน และสิ่งของจัดแสดง ในพิพิธภัณฑ์หรือศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งจัดเป็นตัวแสดงหลักในสถานที่แล้ว นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ก็คือกลุ่มคนที่ช่วยส่งเสริมให้ทุกสิ่งอย่างในพิพิธภัณฑ์มีความน่าสนใจ และนำพาความรู้วิทยาศาสตร์ไปสู่กลุ่มคนได้อย่างชัดเจนและตรงกลุ่มเป้าหมาย

1 1

2

(ซ้าย) หน้าแรกของเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ มิไรคาน  เมื่อเลื่อนลงไปจะพบคอลัมน์ ห้องของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ (ขวา)
ภาพเว็บไซต์ จาก www. miraikan.jst.go.jp/en/

   เมื่อคลิกเข้าไปดู ปรากฏภาพของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จำนวน 35 คน พบว่า เป็นคนญี่ปุ่น 31 คน (ชาย12คน หญิง 19 คน)   เป็นชาวต่างชาติ 2 คน (ชายทั้ง 2 คน)  และเป็นหุ่นยนต์ 2 ตัว โดยนักสื่อสารวิทยาศาสตร์แต่ละคนมีพื้นเพการทำงานก่อนมาทำงานที่มิไรคานที่แตกต่างกัน แต่เกือบทั้งหมดจบการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ และมีข้อมูลสาขาวิชาที่สนใจ กับทักษะที่มีความถนัด รวมถึงรายละเอียดของงานอดิเรกและทักษะพิเศษอื่นๆ ขอยกตัวอย่างข้อมูลของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์บางท่านมาให้พิจารณา

3

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ จำนวน 35 คน ที่มีพื้นเพความสนใจ การศึกษา ที่แตกต่างกัน 
ภาพเว็บไซต์ จาก www. miraikan.jst.go.jp/en/

มิชิโกะ เอโนะคิโด (Michiko Enokido)
“ฉันเรียนด้านอนุภาคฟิสิกส์ เพราะว่า ฉันสนใจความลึกลับของจักรวาลและโลกแห่งความเล็กจิ๋ว ขณะเดียวกันฉันก็สนใจด้านกิจกรรมการศึกษาในพิพิธภัณฑ์ ฉันร่วมงานกับมิไรคานในปี 2013 (พ.ศ.2556) โดยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้วิทยาศาสตร์แสนสนุกไปสู่ผู้คน”

สาขาที่เชี่ยวชาญ
“อนุภาคฟิสิกส์ และทำวิจัยในระดับปริญญาโทเรื่องการถ่ายทอดและรับพลังงานของอนุภาค Bosons”

ความสนใจ
“ฉันสนใจทฤษฎีเส้นเชือกยิ่งยวด (Superstring Theory) และชอบที่จะอธิบายเรื่องความมืดมิดที่กว้างใหญ่ในจักรวาล และฉันติดตามเรื่องงานวิจัยด้านกล้องโทรทัศน์ (Telescope) และเครื่องเร่งอนุภาค”

งานอดิเรก
เดินป่าชมธรรมชาติ และฟังเพลง

อากิยูกิ อิริคาวะ (Akiyuki Irikawa)
“ผมเคยไปเที่ยวทะเลเซโตะใน (Seto inland sea : ทะเลที่ขั้นกลางระหว่าง 3 เกาะหลัก ของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่เกาะฮอนชู เกาะชิโกกุ และเกาะเคียวชู) ตอนเรียนชั้นประถมศึกษา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผมจึงสนใจด้านชีววิทยาทางทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้ผมเคยทำงานเป็นลูกเรือของเรือหาปลาทูน่า และเคยดำน้ำระหว่างเรียนมหาวิทยาลัยด้วย ที่มหาวิทยาลัยผมเรียนด้านแนวปะการังในทะเลแถบเกาะโอกินาวา ประสบการณ์ที่ผ่านมาเปิดโลกกว้างของผมให้เห็นถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ ตอนนี้ผมมุ่งเน้นเรื่องการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์เพื่อการเชื่อมโยงกับงานวิจัยด้านกิจกรรมของผม  ผมดำน้ำได้ดี และสนใจการว่ายน้ำกับปลาโลมา ผมเริ่มทำงานกับมิไรคานในปี 2015 (พ.ศ.2558)” 

สาขาที่เชี่ยวชาญ
“นิเวศวิทยาแนวปะการัง ผมได้รับปริญญามหาบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ ด้านโรคของแนวปะการัง”

ความสนใจ
“ผมสนใจเรื่องสังคมแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ และมันเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ 7 พันล้านชีวิตบนโลกมีชีวิตต่อไปได้ แต่ผมก็เชื่อว่าเราสามารถเก็บข้อมูลเขิงลึกได้ และผมกำลังค้นหาวิธีการสื่อสารที่ช่วยให้เราสามารถยอมรับในความแตกต่างของแต่ละคน เมื่อผมพบปัญหา ผมจะพูดว่า “ขอบคุณ” ก่อนสิ่งใด นี่เป็นเคล็ดลับที่จะให้ผลที่ดีแน่นอน”

4

5

(ซ้าย) ข้อมูลของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ มิชิโกะ เอโนะคิโด และ อากิยูกิ อิริคาวะ (ขวา)
ภาพจาก www. miraikan.jst.go.jp/en/

และขอยกตัวอย่างข้อมูลของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์บางท่าน ดังตาราง

 ลำดับ  ชื่อนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ เพศ การศึกษา แรงบันดาลใจหรือพื้นเพ

สาขาที่เชี่ยวชาญ

ความสนใจ  งานอดิเรก
 1

โทโมคะซึ ฟูกุอิ
(Tomokazu Fukui)

เริ่มทำงานกับมิไรคานปี 2015 (พ.ศ.2558)

 

 ชาย ปริญญาเอก 
ด้านพันธุศาสตร์
เคยทำงานเป็นอาสาสมัครรักษาสัตว์ป่ากับ JICA ที่เคนยา

พันธุศาสตร์ วิจัยด้านการสอดแทรกชิ้นส่วนดีเอ็นเอของแมลงวันน้ำส้มสายชู

สนใจการสร้างโลกใหม่โดยการบูรณาการ
สหสาขาวิชา เช่นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ กับวิทยาศาสตร์วัฒนธรรม
 ปั่นจักรยาน และการเดินทางไกลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ
 2

อาซามิ ทาคาฮาชิ
(Azami Takahashi)

เริ่มทำงานกับมิไรคานปี 2013 (พ.ศ.2556)

 

 หญิง

 ปริญญาโท
ด้านนิเวศวิทยาแนวปะการัง

มีความรักพิพิธภัณฑ์ทางทะเลมาตั้งแต่เด็ก และสนใจเรื่องสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  เวศวิทยาแนวปะการัง โดยทำวิจัยด้านการประเมินผลผลกระทบภาวะความเป็นกรดของน้ำทะเลต่อแนวปะการัง  สนใจพูดคุยหัวข้อทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย เช่น พลังงาน หุ่นยนต์ จักรวาล โดยเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตและทะเล  ดำน้ำ ถ่ายภาพใต้น้ำ และรู้สึกดีมีความสุขทุกครั้งตอนอยู่ใต้ทะเล
 3

อาซาโกะ ฮาเซงาวะ
(Asako Hasegawa)

เริ่มทำงานกับมิไรคานปี 2011 (พ.ศ.2554)

 

 หญิง  ปริญญาโท 
ด้านวรรณกรรมรัสเซีย สาขาบทกวีร่วมสมัย 
 เรียนด้านวรรณกรรมในระดับมหาวิทยาลัย เพราะรักการอ่านตั้งแต่เด็ก เรียนภาษารัสเซียเพราะต้องการเรียนภาษาอื่นๆนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ มีแรงบันดาลใจในการนำเสนอหลักการวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถทำได้   วรรณกรรมรัสเซีย และบทกวีร่วมสมัย โดยเชื่อว่าบทกวีคือข้อความหลักในการสื่อสารในทุกสมัย  วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ประชากรศาสตร์ และการจัดดอกไม้  จัดดอกไม้เพื่อประดับตกแต่งบ้าน
4

คิโยชิ ฟูรุซาวะ
(Kiyoshi Furusawa)

 

ชาย ปริญญาโท ชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) หลังเรียนจบ ทำงานเป็นครูสอนชีววิทยาที่โรงเรียนมัธยมปลาย เคยเป็นครูอาสาสมัครสอนวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ มีความเชื่อว่าความมุ่งมั่นของตนเองจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานที่หลากหลาย ชีววิทยาศาสตร์ และปรัชญาสิ่งแวดล้อม และเคยร่วมวางแผนก่อตั้งสวนสาธารณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สนใจวิทยาศาสตร์ที่เป็นทักษะในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่นการตาย การทอผ้า การหมักดอง และสนใจศึกษาการขาดการรับรู้ทิศทางในมุมมองของวิทยาศาสตร์ เพื่อพิชิตจุดอ่อนของตัวเอง เป็นครู นักเขียนเพลง และ ดีเจได้ในเวลาเดียวกัน
5

อาซาโกะ มัตซึอุระ
(Asako Matsuura)

 

หญิง

ปริญญาโทวิทยาศาสตร์ เคยทำงานประเมินความเสี่ยงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และสนใจการสื่อสารวิทยาศาสตร์ตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัย วิทยาศาสตร์สาขาการวิเคราะห์การเผาผลาญอาหารของเชื้อ Escherichia coli บนพื้นฐานข้อมูลฟีโนไทป์ สนใจ การสื่อสาร พลังงานทดแทน และพลังงานนิวเคลียร์ และอยากรู้เรื่องความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์กับศิลปะ และวิทยาศาสตร์กับวิถีชีวิตพื้นบ้าน  

 

สามารถสรุปข้อสังเกตจากข้อมูลนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ของมิไรคานได้ดังนี้

1. ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านวิทยาศาสตร์ หลากลายสาขา ตั้งแต่ ชีววิทยา นิเวศวิทยา ประสาทวิทยา นิวเคลียร์ ชีววิทยาศาสตร์ พันธุศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ เคมีอินทรีย์ เคมีด้านการเร่งปฏิกิริยา เคมีบรรยากาศและการวิเคราะห์ทางเคมี ดาราศาสตร์ เภสัชศาสตร์ สมุทรศาสตร์ทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ อณูชีววิทยา อนุภาคฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม  และมีคนจบการศึกษาด้านวรรณกรรม และด้านการสอนอย่างละหนึ่งคน ซึ่งไม่ใช่สายวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ได้ว่า นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ หากจบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้ง่ายต่อการทำงานที่จะต้องนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปต่อยอดสำหรับการสื่อสารต่อไป อย่างไรก็ตาม การที่มีนักสื่อสารวิทยาศาสตร์บางคนไม่ได้จบทางด้านวิทยาศาสตร์ นั่นแสดงว่า พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่สิ่งสำคัญเสมอไปสำหรับการเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้หากมีความรัก สนใจ และ แรงบันดาลใจที่เต็มเปี่ยมก็สามารถจะทำงานสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้เช่นกัน ดังเช่น อาซาโกะ ฮาเซงาวะ ซึ่งจบทางด้านวรรณกรรมรัสเซีย ถึงแม้จะไม่ได้เรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีแรงบันดาลใจกับการนำความรู้วิทยาศาสตร์ถ่ายทอดเพราะคิดว่านักวิทยาศาสตร์โดยตรงไม่สามารถทำหน้าที่ตรงนี้ได้  

2. มีนักสื่อสารวิทยาศาสตร์เพียงสองคนที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก อาจตีความได้ว่า งานสื่อสารวิทยาศาสตร์ไม่จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ระดับปริญญาเอก จริงอยู่การจบการศึกษาระดับสูงสุดเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเน้นที่ภารกิจงานของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย มีความจำเป็นเพียงใดสำหรับบุคลากรที่จบระดับปริญญาเอก

3. นักสื่อสารวิทยาศาสตร์หลายคน มีพื้นฐานการทำงานที่แตกต่างกัน แต่ที่สุดแล้วแรงบันดาลใจของแต่ละคนคือ งานสื่อสารวิทยาศาสตร์เป็นงานที่ท้าทาย และมีสิ่งท้าทายใหม่ๆเกิดขึ้นทุกๆวันภายในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หรือ ศูนย์วิทยาศาสตร์ 

ในเว็บไซต์เดียวกันนี้ มิไรคาน ได้สรุป หลักการทำงานพื้นฐานของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Introduction to the work of Science Communicator) ซึ่งน่าจะเป็นหลักการทำงานของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ มิไรคาน ดังนี้

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ทำงานเชื่อมโยงระหว่าง นักวิทยาศาสตร์ หรือวิศวกร กับสาธารณชน  นักสื่อสารวิทยาศาสตร์เป็นคนสร้างสรรค์วิธีการสื่อสารระหว่าง วิทยาศาสตร์กับสังคม ด้วยวิธีการ อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์ ถ่ายทอดแง่มุมที่น่าสนใจของงานวิจัยกับผู้เข้าชม และสื่อสารคำถามและความคาดหวังจากผู้เข้าชมไปสู่นักวิทยาศาสตร์ด้วย

งานหลัก 3 สิ่งของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่มิไรคาน

1. ดำเนินการสาธิต และตีความชิ้นงานนิทรรศการบนพื้นที่จัดแสดง 
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ต้องใช้เวลา 15 นาที เพื่อจัดแสดงสาธิตบนพื้นที่จัดแสดง เรียกว่า “การพูดคุยสั้นๆ (mini talk)” ด้วยการพูดคุยสั้นๆ นี้ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์จะแชร์ประสบการณ์ข่าววิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย และความรู้ต่างๆ จากนิทรรศการ โดยการพูดคุยเชิงลึกกับผู้เข้าชม ทำให้ได้คำตอบและแนวคิดที่หลากหลาย ทำให้ทุกคนได้รับข้อมูลใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีคำตอบเดียว นี่เป็นรูปแบบการทำงานเฉพาะของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ มิไรคาน    

 2. วางแผน และพัฒนานิทรรศการ หรือ งานเหตุการณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย 
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์จะแปลงหรือ ย่อย ผลจากงานวิจัยไปสู่นิทรรศการถาวร หรือนิทรรศการพิเศษ  โดยมีเป้าหมายให้ผู้เข้าชมทุกคนจะต้องได้รับประสบการณ์ใหม่และสนุกสนานกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการเชิญชวนนักวิจัยระดับแนวหน้ามาพูดคุยกับผู้เข้าชม นักสื่อสารวิทยาศาสตร์จะทำหน้าที่เหมือนเสาอากาศเพื่อหาแนวโน้มของข่าวสารทางวิทยาศาสตร์ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและพัฒนากิจกรรมเพื่อใช้ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ หรือศูนย์วิทยาศาสตร์   

3. เผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และสร้างเครือข่ายกับองค์กรอื่นๆ 
นักสื่อสารวิทยาศาสตร์จะเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้วยการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่บนอินเทอร์เนต หนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมถึงการกำกับดูแลการพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และรายการโทรทัศน์ทางวิทยาศาสตร์  นอกจากนี้นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ของมิไรคานยังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับการสร้างเครือข่ายกับศูนย์วิทยาศาสตร์อื่นๆทั้งในและนอกประเทศญี่ปุ่น   

ข่าวสารที่่คล้ายกัน