เมื่อโดนงูกัด เรายังต้องขันชะเนาะอยู่ไหม

เมื่อโดนงูกัด เรายังต้องขันชะเนาะอยู่ไหม

17-12-2021
เมื่อโดนงูกัด เรายังต้องขันชะเนาะอยู่ไหม

สถิติการเข้ารักษาอาการฉุกเฉินที่พบบ่อยยังคงมาจากการถูกงูกัด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ในช่วงฤดูฝน ความเชื่อในอดีตเมื่อเราถูกงูกัดเรามักจะปฐมพยาบาลด้วยการเอาผ้ารัดเหนือแผล หรือที่เราคุ้นหูกันดีว่าการขันชะเนาะ

การขันชะเนาะเป็นการปฐมพยาบาลอย่างหนึ่ง โดยการรัดเหนือแผลเพื่อกันไม่ให้เลือดจากเส้นเลือดแดงไหลลงสู่อวัยวะที่บาดเจ็บ
ซึ่งวิธีนี้ใช้กับบาดแผลที่เลือดออกรุนแรงตามแขน และขาเท่านั้น และข้อควรระวังคือจะต้องหมั่นคลายเกลียวชะเนาะทุก ๆ 10 นาที
โดยให้พักครึ่งนาที
วิธีนี้ยังคงถูกนำเสนออยู่บ่อยครั้งในละครทีวีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจึงไม่น่าแปลกใจนักที่ผู้คนบางกลุ่มยังคงเชื่อ และเข้าใจว่า
การขันชะเนาะเป็นวิธีปฐมพยาบาลที่ควรทำหลังจากโดนงูกัดจากการศึกษาวิธีการขันชะเนาะหลังจากถูกงูกัดนั้นพบว่าเป็นการเพิ่ม
ความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อเน่าตาย จนอาจถึงขั้นต้องตัดอวัยวะนั้นทิ้ง หรืออาการแย่ลงจนถึงขั้นเกิดภาวะหายใจวาย (ventilatory failure)
หลังคลายการขันชะเนาะออกในกรณีที่โดนกัดด้วยงูพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาทวิธีที่ควรทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือการรัดและดาม
วิธีนี้อาจจะฟังดูใกล้เคียงกับการขันชะเนาะ แต่มีความแตกต่างกันที่การรัดและดามจะใช้ไม้ดามบริเวณที่ถูกกัดและรัดด้วยผ้ายางยืด
ซึ่งแรงดันที่รัดต้องประมาณ 55 มม.ปรอท แต่ในสถานการณ์จริงการจัดเตรียมอุปกรณ์อาจไม่พร้อม และการปฏิบัติให้ถูกต้องนั้นอาจ
เป็นไปได้ยากวิธีที่ดีที่สุดในการปฐมพยาบาลคือ ขยับบริเวณที่โดนกัดให้น้อยที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดนั่นเองข้อควรระวัง
และปฏิบัติเพิ่มเติมคือห้ามไม่ให้ผู้ป่วยดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทจำพวก ชา กาแฟ ห้ามใช้ไฟหรือ
เหล็กร้อนจี้บริเวณแผลห้ามกินยาแอสไพรินเวลาปวดแผลเพราะจะทำให้เลือดออกง่ายขึ้นแต่กินยาพาราเซตามอลได้ทำการเป่าปากช่วย
หายใจเมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจ และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือต้องเอาซากงูไปสถานพยาบาลด้วยหากเป็นไปได้ เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะระบุชนิดงู
ได้อย่างถูกต้องและแพทย์จะสามารถประเมินวิธีการรักษาได้

แหล่งอ้างอิง : o พลภัทร โรจน์นครินทร์และสุชัย สุเทพารักษ์. 2555. แนวทางการดูแลผู้ป่วยถูกงูพิษกัด.
ใน:แนวทางการดูแลผู้ป่วยถูกงูกัดและได้รับพิษจากสัตว์. สุดา สีบุญเรืองสุชัย สุเทพารักษ์ และ วิศิษฎ์ สิตปรีชา
(บรรณาธิการ). หน้า 24-32. คลีนิกพิษจากสัตว์ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย.
o สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. 2560. ทำอย่างไรเมื่อถูกงูกัด. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย แหล่งที่มา:http://www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=254&auto_id=7&TopicPk. 15 ธันวาคม 2560.
o Kapook Health. 2560. ขันชะเนาะ วิธีปฐมพยาบาลใช้ห้ามเลือด ลดอาการบวมน้ำเหลืองก็ได้. การดูแลสุขภาพ.
แหล่งที่มา: https://health.kapook.com/view164449.html 15 ธันวาคม 2560.
o หมอชาวบ้าน. 2551. งูกัดปฐมพยาบาลอย่างไร. บทความสุขภาพน่ารู้. แหล่งที่มา:https://www.doctor.or.th/article/detail/5696.
30 ธันวาคม 2561.

เรียบเรียงโดย: นางสาวเพชรกวินท์ เนืองสมศรี

ข่าวสารที่่คล้ายกัน