Proof-of-Work กับโลก Cryptocurrency มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

Proof-of-Work กับโลก Cryptocurrency มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

19-12-2021
Proof-of-Work กับโลก Cryptocurrency มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

หลายครั้งที่เราเคยได้ยินคำว่า Proof-of-work หรือ PoW เมื่อทำธุรกรรมบนระบบ Blockchain เราอาจเกิดคำถามที่ว่าคำนี้มีบทบาทหรือความสัมพันธ์กันอย่างไรบนระบบกระแสเงินออนไลน์หรือบนโลก Cryptocurrency

ก่อนที่ PoW จะทำงานได้ ต้องอาศัยการทำงานจากหลายส่วนบน Blockchain เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถดำเนินการทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ แบบไม่ต้องมีอำนาจการตัดสินใจจากคนใดคนหนึ่งโดยและไม่อาศัยคนกลาง  ระบบต้องทำงานภายใต้ชุดคำสั่งที่ตกลงกันไว้หรืออัลกอริทึมตามเงื่อนไข  PoW จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Proof-of-Work (PoW) ถูกนำมาใช้งานกับ Blockchain รุ่นแรก ๆ อย่าง Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), และ Litecoin (LTC) เป็นต้น โดยการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหรือโหนด (Node) แก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อยืนยันความถูกต้องของธุรกรรม หากโหนดใดสามารถแก้ไขสมการได้ก่อน โหนดอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายก็จะตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ก่อนจะส่งข้อมูลชุดนั้นไปอยู่บน Blockchain อย่างถาวร เพื่อแลกเป็นรางวัลจากการทำธุรกรรมเป็นเหรียญตามสกุลเงินดิจิทัลที่กำหนดไว้

ยกตัวอย่าง สมมติว่านาย A มี BTC จำนวน 1 เหรียญ ในบัญชีบน Blockchain ซึ่งมีมูลค่า 1 ล้านบาท จากนั้นนาย A ไปแก้ไขข้อมูลบัญชีตนเองให้กลายเป็น 2 เหรียญ เพื่อจะนำไปแลกเป็นสกุลเงินบาทเป็นจำนวน 2 ล้านบาท ทว่าบัญชีของนาย A ต้องถูกตรวจสอบจากผู้ใช้งานที่อยู่บนเครือข่ายเดียวกันทั้งหมด ซึ่งทุกคนจะนำข้อมูลของนาย A ไปทำการเปรียบเทียบกับจำนวนที่ต้องการแลกและข้อมูลที่นาย A ถือเหรียญ BTC อยู่จริง หากข้อมูลของนาย A ถูกต้องก็สามารถแลกเปลี่ยนเหรียญเป็นสกุลเงินบาทอย่างที่ตั้งใจได้ แต่ในกรณีข้างต้นนาย A มีเหรียญ BTC เพียงแค่ 1 เหรียญเท่านั้นเมื่อระบบเครือข่ายทำการตรวจสอบพบว่าไม่ตรงกับข้อมูลจำนวน BTC ของคนอื่นๆบนเครือข่าย โดยระบบจะมีการตรวจสอบซ้ำหลายรอบเพื่อยืนยันข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการตรวจสอบแบบ PoW  

ระบบ Blockchain จะมีความสมบูรณ์แบบ โดยปราศจาก Proof-of-Work ในการทำงานบนระบบนั้นคงเป็นไปไม่ได้เลย

 

 

 

ที่มารูปภาพ:

[1]  https://www.shutterstock.com/image-vector/blue-violet-vector-background-bitcoin-blockchain-1760988050

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

[1] Proof of work [อินเทอร์เน็ต] (เข้าถึงวันที่ 2 ก.ค. 2564) เข้าได้จาก https://medium.com/bitkub/pow-pos-7d007eede57f

เรียบเรียง: ยงยุทธ แก้วจำรัส
ตรวจทาน: ฐิติ สิริธนากร
กองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวสารที่่คล้ายกัน