อาหารปลอดสาร ... แล้วภาชนะล่ะ ???

อาหารปลอดสาร ... แล้วภาชนะล่ะ ???

17-12-2021
อาหารปลอดสาร ... แล้วภาชนะล่ะ ???

ภาพจาก : http://th.aliexpress.com/item/Korea-style-ceramic-kitchen-cutlery-sets-cute-creative-dishes-28-pieces-cartoon-bowl-plate-sets-ceramic/32346097142.html

   ปัจจุบัน ผู้คนหันมาสนใจในเรื่องของการรับประทานอาหาร หรือคุณภาพของอาหารมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการเลือกวัตถุดิบที่จะต้องสด สะอาด หรือปราศจากสารเคมีตกค้างปนเปื้อน เช่น ยาฆ่าแมลง เป็นต้น อีกทั้งยังใส่ใจในขั้นตอนของการปรุง เช่น การเลือกใช้และไม่ใช้น้ำมัน จำกัดปริมาณเครื่องปรุงรสต่างๆ รวมไปถึงการเลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ เพื่อป้องกันอาหารเป็นพิษ แต่สิ่งที่เรามองข้ามไป กลับเป็นสิ่งที่สัมผัสกับอาหารโดยตรงและมีพิษร้ายแรงอีกด้วย นั่นคือ ภาชนะ

    ด้วยความก้าวหน้าในกรรมวิธีการผลิตภาชนะเซรามิก ทั้งในด้านกระบวนการและพัฒนารูปแบบการตกแต่งลวดลายและสีสันที่สวยงาม ทำให้ผู้บริโภคนิยมหันมาใช้ภาชนะเซรามิกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสีที่ใช้กับภาชนะเหล่านี้นี่เองที่อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา เนื่องจากสีที่ใช้ตกแต่งสีสันและลวดลายอาจเป็นที่มาของสารตะกั่วมีพิษต่อร่างกายมนุษย์มาก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของธาตุบริสุทธิ์ หรือสารประกอบ พิษของโลหะหนักจะแสดงออกมาให้เห็นเมื่อสารเหล่านี้สะสมในร่างกายจนมีปริมาณมากพอ อาการที่พบบ่อยๆ อาทิ โลหิตจาง ปวดท้องเป็นประจำ ท้องผูก กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ปวดศีรษะ รู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดตามข้อ สมองเชื่องช้า ขาดความกระตือรือร้น ความจำเสื่อม เป็นต้น

powder01

ภาพจาก : http://universal-coatings.net/powder-coating-2/

โลหะหนักที่ปนเปื้อนกับภาชนะ อาจเป็นผลมาจากกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งกระบวนการในการตกแต่งผลิตภัณฑ์ด้วยสีจึงมีผลกับภาชนะนั้นๆด้วย โดยการตกแต่งสีสันภาชนะเซรามิก มี 2 รูปแบบ คือ
1. สีใต้เคลือบ หมายถึง การนำภาชนะที่เผาดิบแล้วมาเขียนลวดลาย จากนั้นจึงนำมาเคลือบ แล้วเผาเคลือบเพื่อปิดทับลวดลายอีกที สีใต้เคลือบจึงไม่มีโอกาสหลุดออกมาได้ดังนั้นจึงไม่มีอันตราย
2. สีบนเคลือบ หมายถึง การใช้สีเขียนลวดลายบนภาชนะที่เคลือบแล้ว และนำกลับไปเผาอีกครั้ง เพื่อทำให้สีชัดเจนและไม่จางหาย แต่สีบนเคลือบนี้สามารถหลุดออกมาได้เมื่อมีการขัดถูหรือใช้งานบ่อยๆ ทำให้ตะกั่วสามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้

   จากการเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ภาชนะเซรามิกที่ใช้กับอาหาร โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก พบว่า ภาชนะที่มีการตกแต่งลวดลายและสีสันสวยงาม ฉูดฉาด เช่น สีแดง สีส้ม น้ำเงิน และภาชนะที่ตกแต่งด้วยรูปลอก มักจะพบปริมาณสารตะกั่วและแคดเมี่ยมมากกว่าภาชนะที่ไม่มีลวดลายตกแต่งด้วยสีสันมาก ส่วนภาชนะที่มีการเผาเคลือบแต่ไม่ตกแต่งลวดลายจะไม่พบสารโลหะหนักหรือพบน้อยมาก ดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้ภาชนะเซรามิกที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยมีวิธีการเลือกอย่างง่าย ดังนี้

pic1

ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องรู้จักเลือกชนิดของภาชนะสำหรับใส่อาหารหรือเครื่องดื่มให้ถูกหลักเกณฑ์ โดยคำนึงถึงความสวยงาม ความเหมาะสม และความปลอดภัยด้วย

แหล่งที่มาข้อมูล : www.dss.go.th/images/st-article/ct_3_2545_heavy_metals_ceramic.pdf

เรียบเรียงโดย : เกศวดี อัชชะวิสิทธิ์

ข่าวสารที่่คล้ายกัน