D-Cryptocurrency ฉบับประชาชน

D-Cryptocurrency ฉบับประชาชน

17-12-2021
D-Cryptocurrency ฉบับประชาชน

ผู้อ่านบางคนอาจมีคำถามอยู่ในใจมาตั้งแต่เริ่มอ่านบทความตอนแรก ว่าในฐานะของคนธรรมดาแล้วเราสามารถใช้งาน Cryptocurrency ได้ในรูปแบบใดบ้าง? มาร่วมหาคำตอบกันได้ในบทความตอนนี้ผู้อ่านบางคนอาจมีคำถามอยู่ในใจมาตั้งแต่เริ่มอ่านบทความตอนแรก ว่าในฐานะของคนธรรมดาแล้วเราสามารถใช้งาน Cryptocurrency ได้ในรูปแบบใดบ้าง? มาร่วมหาคำตอบกันได้ในบทความตอนนี้หากมองว่า Cryptocurrency (Bitcoin และอื่นๆ) เป็นเพียงแค่เงินต่างประเทศสกุลหนึ่งก็อาจช่วยให้มองเห็นภาพทั้งหมดได้ค่อนข้างง่าย ผู้อ่านสามารถเปิดบัญชี Cryptocurrency สกุลใดสกุลหนึ่ง (เรียกว่า Wallet) ผ่านทางผู้ให้บริการซึ่งมีให้เลือกมากมายผ่านทางเว็บไซต์หรือแอปพลิแคชัน โดยจะได้ “ที่อยู่บัญชี” หรือ “ที่อยู่กระเป๋าเงิน” (Wallet Address) ของตัวเอง แล้วจึงเริ่มหา Cryptocurrency สกุลนั้นๆ มาเข้ากระเป๋าเงินได้ด้วยวิธีต่างๆ ที่จะกล่าวถึงต่อไป แล้วจึงสามารถใช้เงินในกระเป๋าเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสินค้ากับผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องมีตัวเงินที่เป็นวัตถุทางกายภาพการหา Cryptocurrency มาครอบครองนั้นทำได้หลายวิธี เช่นเดียวกับการหาเงินในชีวิตจริง ผู้ใช้อาจนำเงินจริงในสกุลต่างๆ มาแลกเป็น Cryptocurrency จากผู้ใช้คนอื่นหรือจากผู้ให้บริการแลกเงิน ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยน Cryptocurrency แต่ละสกุลจะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของตลาดในแต่ละวัน คล้ายกันกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรืออาจจะเลือกรับ Cryptocurrency จากนายจ้างเป็นค่าตอบแทนในการทำงานแทนการรับเงินสดในสกุลปกติ ซึ่งวิธีหลังนี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่ทำงานในด้านเทคโนโลยี หรือจะใช้อีกวิธีหนึ่ง คือ “การทำเหมือง Cryptocurrency” (Cryptocurrency Mining) โดยการเข้าไปร่วมเป็น “ผู้ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม” โดยการใช้พลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่เรามีอยู่ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ระบบกำหนดขึ้น เพื่อชิงสิทธิ์ในการยืนยันธุรกรรมของผู้ใช้คนอื่นๆ หากเราได้สิทธิ์และสามารถยืนยันพันธุกรรมใหม่ได้ทันในเวลาที่กำหนด (โดยต้องแข่งขันกับผู้ตรวจสอบฯ คนอื่นๆ) ระบบจะให้ผลตอบแทนเป็น Cryptocurrency ใหม่ จำนวนตามที่กำหนดไว้ เข้าสู่กระเป๋าเงินโดยตรง หรือหากไม่ต้องการเก็บผลตอบแทนในรูปของ Cryptocurrency ก็สามารถขายให้กับผู้ใช้คนอื่นที่ต้องการซื้อได้ทันที

เมื่อมี Cryptocurrency อยู่ในมือ ไม่ว่าจะได้จากการแลกด้วยเงินสด หรือได้จากการทำเหมือง เราสามารถทำอะไรกับ Cryptocurrency เหล่านั้นได้บ้าง ?

เช่นเดียวกับการใช้บัญชีธนาคารบนอินเทอร์เน็ต เราสามารถใช้ Cryptocurrency ที่ครอบครองอยู่เพื่อจ่ายค่าสินค้าและบริการออนไลน์ได้ ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการจำนวนมาก ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่พร้อมรับ Cryptocurrency เป็นค่าสินค้าหรือค่าบริการโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Microsoft ที่รับ Bitcoin เป็นค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บางชนิด หรือธุรกิจข้ามชาติอย่าง Subway ที่อนุญาตให้ลูกค้าใช้ Bitcoin จ่ายค่าอาหารในบางสาขา แม้แต่ในประเทศไทยเอง ร้านอาหารขนาดเล็กบางร้านก็ยอมรับการใช้ Bitcoin แล้วเช่นกันเช่นเดียวกับการใช้บัญชีธนาคารบนอินเทอร์เน็ต เราสามารถใช้ Cryptocurrency ที่ครอบครองอยู่เพื่อจ่ายค่าสินค้าและบริการออนไลน์ได้ ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการจำนวนมาก ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่พร้อมรับ Cryptocurrency เป็นค่าสินค้าหรือค่าบริการโดยตรง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Microsoft ที่รับ Bitcoin เป็นค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บางชนิด หรือธุรกิจข้ามชาติอย่าง Subway ที่อนุญาตให้ลูกค้าใช้ Bitcoin จ่ายค่าอาหารในบางสาขา แม้แต่ในประเทศไทยเอง ร้านอาหารขนาดเล็กบางร้านก็ยอมรับการใช้ Bitcoin แล้วเช่นกันนอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ชัดเจนในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการแล้ว อีกหนึ่งคุณสมบติที่มองข้ามไม่ได้ของ Cryptocurrency คือการเป็นแหล่งการลงทุน ตลาดการลงทุนของ Cryptocurrency นั้นมีความคล้ายคลึงกันกับตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คนจำนวนมากซื้อ Cryptocurrency มาเก็บไว้เพื่อแสวงหากำไรจากผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยน ส่งผลให้ในช่วงที่ผ่านมามูลค่าของ Cryptocurrency หลายสกุลเพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว เช่น Bitcoin ที่มีมูลค่าเหรียญเพิ่มขึ้นจาก 1,000 เหรียญสหรัฐเป็น 19,000 เหรียญสหรัฐ ภายในเวลาเพียงหนึ่งปี

ทำไมเราจึงควรสนใจและใช้ความระมัดระวัง กับ Cryptocurrency ?ทำไมเราจึงควรสนใจและใช้ความระมัดระวัง กับ Cryptocurrency ?หากนึกย้อนไปถึงบทความตอนก่อนๆ อีกครั้ง คงจะจำกันได้ว่าระบบทั้งหมดของ Cryptocurrency นั้นเป็นระบบกระจายตัวที่ไม่มีศูนย์กลาง เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่จากเครือข่ายของผู้ใช้งานอย่างสมบูรณ์ โดยผู้ใช้ทุกคนในระบบมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการใช้งาน ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ถือครองหรือระยะเวลาที่ใช้งาน จึงอาจสามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบที่มีแนวคิดพื้นฐานคล้ายกับระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนอกเหนือจากนั้น เนื่องจากระบบ Cryptocurrency มุ่งเน้นการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ จึงมีเพียงแค่ผู้ส่งและรับเงินเท่านั้นที่จะรู้ว่าตนเองกำลังทำธุรกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ใดอยู่ ไม่มีคนกลางที่จะสามารถควบคุมหรือจำกัดธุรกรรมของผู้อื่นได้โดยเด็ดขาด ในส่วนนี้เองที่อาจส่งเสริมการทำธุรกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การฟอกเงิน หรือการโอนถ่ายทรัพย์สินที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย จึงเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ยังไม่มีรัฐบาลใดออกมาสนับสนุน หรือให้การรับรอง Cryptocurrency สกุลใดอย่างเป็นทางการเลยแม้แต่ประเทศเดียว (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2018)ด้วยสาเหตุเดียวกันนั้นเอง เราจึงจำเป็นต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้งาน Cryptocurrency เนื่องจากความเป็นอิสระจากการควบคุมดูแลของหน่วยงานกลาง ส่งผลให้การทำธุรกรรมหรือการลงทุนใน Cryptocurrency โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันการเงินใดๆ เลย นั่นหมายความว่ามูลค่าของตัวทรัพสินย์ที่เราถือครองอยู่มีนั้นความผันผวนที่สูงมาก และมีโอกาสเกิดความเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ตลอดเวลาจากทั้งตัวระบบเองและจากผู้ใช้คนอื่นๆ ผู้ใช้จำเป็นต้องยอมรับความเสี่ยงในจุดนี้ให้ได้ก่อน จึงจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด Cryptocurrency ได้อย่างเต็มตัว
ในตอนนี้เราได้แนะนำวิธีการหา Cryptocurrency มาครอบครองและช่องทางการใช้งาน Cryptocurrency ในระดับบุคคลหรือประชาชนทั่วไปกันไปแล้ว บทความตอนต่อไป ซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของบทความชุดนี้ จะพาผู้อ่านไปศึกษาผลกระทบจากการเข้ามามีบทบาทของสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้าง โปรดติดตามชม..

ข่าวสารที่่คล้ายกัน