“เหี้ย” ถ้าอ่านเจอหรือได้ยินคำนี้ดังขึ้นมาเมื่อไหร่ เป็นใครก็ต้องสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น ความเป็นไปเช่นนี้อาจะเนื่องจากการอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอันเป็นวิธีชีวิตของคนไทยซึ่งก็เป็นพื้นที่อาศัยตามธรรมชาติของตัวเหี้ยด้วยเช่นกัน สัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว ไก่ เป็ด หรือสัตว์ขนาดเล็กจึงมักถูกตัวเหี้ยล่าไปกินเกิดเป็นความรำคาญแค้งเคืองให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ คำนี้จึงถูกใช้เพื่ออ้างอิงในความหมายที่ไม่ดีนักเสมอถึงขนาดมีกระแสสังคมในการเปลี่ยนแปลงการเรียกสัตว์ชนิดนี้โดยการใช้ชื่อ วรนุช ซึ่งเป็นชื่อสกุล (Genus Varanus) มาใช้เรียกแทน
แต่จริงแท้แล้ว “เหี้ย” ที่เราเห็นหรือเอ่ยชื่อ เป็นสัตว์ชนิดนั้นจริง ๆ หรือเปล่า สัตว์เลื้อยคลานกลุ่มตะกวด (monitor) ในวงศ์ Varanidae ทำหน้าที่ในระบบนิเวศเป็นทั้งสัตว์ผู้ล่าและกินซาก ปัจจุบันในประเทศไทยพบการแพร่กระจ่ายทั้งหมด 4 ชนิด โดยทุกชนิดถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย
พบกับเรื่องเหี้ย ๆ ไปพร้อม ๆ กันกับเรา (คำบรรยายอยู่ในภาพ)
ผู้เขียน ฉัตรพรรษ พงษ์เจริญ
ที่มาของรูปภาพ
ที่มาของแหล่งข้อมูล (Reference) อ้างอิง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2016. กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๕๔๖. Retrieved from http://web3.dnp.go.th/wildlifenew/downloads/gov2.pdf
ปิยวรรณ นิยมวรรณ ไพรวัลย์ ศรีสม และปริญญา ภวังค์คะนันท์. 2560. สัตว์เลื้อยคลานห้วยขาแข้ง. สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์, กรุงเทพฯ.
Siamensis.org. 2010. Species Index: Genus Varanus. Retrieved from http://www.siamensis.org/species_index?nid=2987
The reptile database. 2020. Search result: Genus: Varanus. Retrieved from https://reptile-database.reptarium.cz/advanced_search