บทสรุป การเปลี่ยนแปลงดาวเทียมสื่อสารไทยคม 5

บทสรุป การเปลี่ยนแปลงดาวเทียมสื่อสารไทยคม 5

18-12-2021
บทสรุป การเปลี่ยนแปลงดาวเทียมสื่อสารไทยคม 5

ในทุกๆการเปลี่ยนแปลงย่อมทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามเมื่อมีผลดีก็ต้องมีผลเสีย ที่จะตามมาด้วยเช่นกัน ข่าวการเปลี่ยนแปลงดาวเทียมสื่อสารไทยคม 5 ของบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสื่อสารกลาง ออกอากาศสัญญาณทีวี ทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมไปถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะทำการปลดระวาง เนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ส่งผลให้มีปัญหาทางเทคนิคในการตรวจสอบสถานะต่างๆที่มีความสำคัญกับดาวเทียม

บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในฐานะ ผู้ให้บริการมีความพยายามดำเนินการกู้คืนระบบที่ขัดข้องตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตดาวเทียมโดยผู้เชี่ยวชาญหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถทำการกู้คืนระบบได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้ผลิตจึงแนะนำให้ ผู้ให้บริการดำเนินการปลดระวางแทนการแก้ปัญหาการขัดข้อง และย้ายการให้บริการทั้งหมดไปยังดาวเทียมไทยคม 6และไทยคม 8 บางส่วน

ผลของการโอนย้ายข้อมูลดาวเทียมดังกล่าว จะมีผลกระทบกับประชาชนทั่วไปที่รับชมการออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม จากจานรับสัญญาณ แบบซีแบนด์ (C-Brand) ซึ่งมีลักษณะเป็นจานดำตระแกรงโปร่งแสง มีขนาดประมาณ 5 ฟุต หรือ ประมาณ 150-170 เซนติเมตร และแบบ เคยูแบนด์ (KU-Brand) มีลักษณะเป็นจานทึบที่ทำมาจากแผ่นเหล็กบางๆทึบแสงหลากสี ขนาดประมาณ 60-90 เซนติเมตร

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้จานรับสัญญาณแบบซีแบนด์(C-Brand) ที่ใช้เครื่องรับสัญญาณเดิมต้องเปลี่ยนค่าความถี่ในการรับชม ส่วนจานรับสัญญาณแบบ เคยูแบนด์ (KU-Brand) ที่ใช้หัวรับสัญญาณแบบ standard ความถี่ 11300 ซึ่งเป็นหัวรับสัญญาณแบบเดิมจะไม่สามารถรับสัญญาณได้ต้องเปลี่ยนมาใช้ หัวรับสัญญาณแบบ universal ความถี่ 10600 และต้องไปปรับตั้งค่าความถี่ในการรับชมในเครื่องรับสัญญาณให้ตรงกับความถี่ใหม่จึงจะสามารถรับสัญญาณได้

การโอนย้ายและเปลี่ยนแปลงดาวเทียมในครั้งนี้นอกจากจะสามารถแก้ปัญหาการขัดข้องของดาวเทียมไทยคม 5 แล้วยังเป็นผลดีในการให้บริการแก่ผู้รับชมเป็นอย่างมาก โดยดาวเทียมไทยคม 8 ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการรับชมสัญญาณที่มีความละเอียดสูง และให้บริการวิธีการรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมรูปแบบใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย
 


SAT1

รูปที่ 1 หัวรับสัญญาณดาวเทียม KU-Brand แบบ standard

SAT2

รูปที่ 2 หัวรับสัญญาณดาวเทียม KU-Brand แบบ universal



ที่มารูปภาพ
[1]รูปที่ 1หัวรับสัญญาณดาวเทียม KU-Brand แบบ standard http://www.banmohsat.com/
[2]รูปที่ 2 หัวรับสัญญาณดาวเทียม KU-Brand แบบ universal http://www.banmohsat.com/
[
3]https://mgronline.com/daily/detail/9620000011028

ข้อมูลอ้างอิง
[1]“ไทยคม” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.thaicom.net/th ค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563
[2]“หัวรับสัญญาณ” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.banmohsat.com/ ค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563

เขียนโดย นายสมชาย แสงใสแก้ว นักวิชาการ6 กองวัสดุอุเทศ
พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวสารที่่คล้ายกัน