ฟอสซิล สมุดบันทึกธรรมชาติ

ฟอสซิล สมุดบันทึกธรรมชาติ

18-12-2021
ฟอสซิล สมุดบันทึกธรรมชาติ

ฟอสซิล สมุดบันทึกธรรมชาติ

        นานมาแล้วผู้คนในหลายอารยธรรมต่างใช้จินตนาการอธิบายซากฟอสซิลสัตว์โบราณซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น ในอารยธรรมจีน เชื่อกันว่าฟอสซิสเป็นกระดูกมังกร ส่วนคนกรีกเห็นว่าเป็นกระดูกยักษ์หรืออสูรสัตว์ในตำนานของตนในเอเชียกลาง กล่าวถึงสัตว์ประหลาดกริฟฟินที่มีตัวเป็นสิงห์และมีหัวเป็นเหยี่ยว เมื่อพบฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วในทะเลทรายโกบี แต่ไม่ปรากฎบันทึกสิ่งที่พบเห็นอย่างละเอียดมากนัก ในยุคแห่งการรู้แจ้ง ศตวรรษที่ 17 มนุษย์พยายามทำความเข้าใจกลไกและปรากฏการณ์ธรรมชาติด้วยการรวบรวมหลักฐานฟอสซิลและเขียนรายงานพร้อมร่างภาพประกอบ และเผยแพร่ความรู้แบบวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสัตว์ดึกดำบรรพ์ยิ่งความรู้ทางธรณีวิทยาและการกำหนดอายุชั้นหินก้าวหน้า นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถตีความข้อมูลของฟอสซิลได้ลึกซึ้งยิ่งกว่าเดิม    
        ในประเทศไทยการ มีการสำรวจขุดค้นฟอสซิลในชั้นหินตะกอนสีแดง ตั้งแต่  พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา  โดยคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย-ฝรั่งเศส  พบว่าซากไดโนเสาร์ที่มีอายุถึง 210ล้านปีก่อน อาณาจักรครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโคราช
รวมทั้งบางส่วนของภาคเหนือและภาคใต้ การค้นพบและการศึกษาวิจัยฟอสซิลดำเนินอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 40 ปี ทำให้เราเรียนรู้และเข้าใจความเป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงของสัตว์น้ำและสัตว์บกในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนำไปเปรียบเทียบกับชีวิตในยุคเดียวกันในทวีปอื่น ๆ เพื่อมองหาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์กับการศึกษาทางธรณีวิทยา เช่น การระบุอายุของหินที่พบฟอสซิล การเคลื่อนตัวของทวีปและการเชื่อมต่อกันของเปลือกโลก
        ดังเช่นฟอสซิลไดโนเสาร์ ซิตตะโกซอรัส สัตยรักษ์กีที่พบในประเทศไทยและในประเทศจีน สะท้อนประวัติทางธรณีวิทยาของแผ่นดินหนึ่งในสองผืนของไทย ซึ่งเคยเป็นชายฝั่งตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย หรือ กอนวานาแลนด์แต่แยกตัว
และเคลื่อนมาทางเหนือในปลายมหายุคพาลีโอโซอิก จนมาเชื่อมต่อกับแผ่นดินตอนใต้ของจีนหรือที่เรียกว่า ลอเรเซีย  จนกลายมาเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นได้ว่า ฟอสซิลทุกชิ้นล้วนบรรจุเรื่องราวที่ถ่ายทอดสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต
ในอดีต ฟอสซิล จึงเปรียบเสมือนบันทึกในธรรมชาติที่หายาก และเป็นหลักฐานสำคัญที่เราใช้อธิบายที่มาของตัวเรา ลักษณะของชีวิตในแต่ละยุค รวมถึงวิวัฒนาการอีกด้วย.

fossil

 

ผู้เขียน สุชาดา  คำหา

ภาพประกอบ โดย สุชาดา คำหา และพรเพ็ญ จันทรสิทธิ์ 

ภาพที่ 1: https://1drv.ms/u/s!AjC8C91MzBcy-QF2LRVToJk0K6ln?e=dn5VNn

ภาพที่ 2: https://1drv.ms/u/s!AjC8C91MzBcy-QJ6thHVa32HYKMy?e=T5cRVB

 อ้างอิง

Buffetaut, E., Suteethorn, V., Cuny, G., Khansubha, S.,Tong, H., Le Loeuff, J. and Cavin, L. 

(2003). Dinosaur in Thailand. Mahasarakham University Journal, Vol 22 Special Issue, 2003 Proceeding of 1st International Conference on Palaeontology of Southeast Asia Oct. 27-30 2003, p. 69-82.

Cavin, L., Suteethorn, V., Buffetaut, E., Claude, J., Cuny, G., Le Loeuff, J. and Tong, H.    (2007). The first Sinamiid fish  (Holostei, Halecomorpha) from Southeast Asia  (Early             Cretaceous of Thailand). Journal of Vertebrate Paleontology, 27(4), p. 827-837.

Cuny, G., Suteethorn, V., Kamha, S. and Buffetaut, V. (2008). Hybodont sharks from the lower 

Cretaceous Khok Kruat Formation of Thailand, and hybodont diversity during the 

Early Cretaceous. Geological Society, London, Special Publications 2008; v. 295; p. 93-107.

ข่าวสารที่่คล้ายกัน