สำหรับปี 2021 เทคโนโลยีหลักๆ อย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) สมองกลฝังตัว (Machine Learning) และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) จะยังคงครองหัวข้อข่าวอยู่ และเราจะได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย แต่นี่คือการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น 10 อันดับแรกในปี 2021 โดยนิตยสารฟอบส์ (Forbes)
เราเคยได้ยินประโยชน์เกี่ยวกับสัญญาณ 5G มาหลายปีแล้ว เช่น การทำงานจากระยะไกล การประชุมออนไลน์ทางวิดีโอ และการทำงานร่วมกันแบบดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ซึ่งแทบจะถือได้ว่ากลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของเราไปโดยปริยาย และในปี 2020 นี้เองมีความต้องการการเชื่อมต่อในรูปแบบที่มีความปลอดภัยและรองรับการรับ-ส่งข้อมูลได้มากกว่าเดิม ที่กลายเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
โทรศัพท์ แท็บเล็ต และอุปกรณ์อื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things : IoT) ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆ อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) หุ่นยนต์ในโรงงาน เทคโนโลยีด้านการแพทย์การผ่าตัดคนไข้จากระยะไกล (Remote Surgery) ทั้งยังช่วยพัฒนาศักยภาพของระบบค้าปลีก การซื้อของออนไลน์ รวมถึงการใช้งานต่างๆยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความจำเป็นในการใช้งานสัญญาณ 5G จนกลายเป็นเทรนด์หลักในปี 2021 อย่างปฏิเสธไม่ได้
การขยายตัวของแพลตฟอร์ม Customer Data Platform (CDP) เป็นแพลตฟอร์มใหม่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ยกตัวอย่าง เช่น ระบบการทำธุรกรรมและการสั่งซื้อ (Enterprise Resource Planning: ERP) ระบบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการขับขี่รถ ระบบข้อมูลผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งระบบที่กล่าวมาข้างต้นสามารถเก็บ วิเคราะห์ ดูแล และจัดการข้อมูลได้อย่างเหมาะสมเป็นอย่างดี จากผลการวิจัยของบริษัท IBM ประเมินว่าข้อมูลที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์และจัดการอย่างเป็นระบบในประเทศสหรัฐฯนั้นต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการข้อมูลถึง 3 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเป็นมูลค่ามหาศาล
ดังนั้นการจัดการกับปัญหานี้จึงเป็นความท้าทายสำหรับทุกองค์กร ซึ่ง CDP เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้วจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อที่จะทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย เช่น บริษัท Adobe, SAP, Oracle, Treasure, Data และ Microsoft ต่างเห็นความสำคัญและได้ลงทุนอย่างมหาศาลในการจัดการ CDP ใหม่ ให้มีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มการวิเคราะห์นี้มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในเวลาไม่นานนัก จนเป็นที่จับตามองว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลในปี 2021 อย่างแน่นอน
ระบบคลาวด์แบบไฮดริด เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์แบบความเป็นส่วนตัว (Private Cloud) และระบบคลาวด์แบบสาธารณะ (Public Cloud) ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกัน เพื่ออุดข้อเสียของคลาวด์ทั้งสองรูปแบบนี้ และยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่ใช้ทรัพยากรการประมวลผลของระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) สำหรับกระบวนการบางอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์บัญชีเงินเดือน (Payroll Software) แต่เลือกที่จะใช้ระบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) เพื่อจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญทางธุรกิจ โดยมีกุญแจสำคัญคือ การเข้ารหัสการเชื่อมต่อ (Encrypted Connection) ที่จะช่วยให้สามารถทำการรับส่งข้อมูลได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตามก็ยังถือเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองเกินความจำเป็นอยู่ดี
ในปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการลงทุนครั้งใหญ่ในระบบคลาวด์แบบไฮบริดจากผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะรายใหญ่ เช่น AWS, Azure, Google, IBM และ Oracle ที่เพิ่มการลงทุนในการสร้างเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรและระบบคลาวด์ได้ดียิ่งขึ้น การลงทุนเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการของลูกค้า จัดการกับความท้าทายของการเติบโตของข้อมูลแบบเอกซ์โพเนนเชียลในขณะเดียวกันก็ต้องดำเนินธุรกิจแบบเชิงรุกในประเด็นต่างๆ เช่น ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อกำหนดระบบคลาวด์แบบไฮบริดนั่นจะเข้ามามีบทบาทสำคัญทางด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในปี 2021 อย่างแน่นอน
การป้องกันความปลอดภัยระบบที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทั้งส่วนของ ฮาร์ดแวร์ (Hardware), ซอฟต์แวร์ (Software) และ ข้อมูล (Data) จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ซึ่งต้องอาศัยความมั่นคง ความปลอดภัย และการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่าโปรแกรมเหล่านี้ปลอดภัยจากการโจมตีของผู้ไม่หวังดี
เมื่อต้นปี 2020 จากช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน บรรดาเหล่าแฮกเกอร์ (Hacker) ได้โจมตีธุรกิจต่างๆทั่วโลก อาทิ ธนาคาร มีการโจมตีเพิ่มขึ้นถึง 238% และระบบคลาวด์ ถูกโจมตีเพิ่มขึ้น 600% ในเพียงไตรมาสเดียว จึงทำให้หลายองค์กรได้มีมาตราการเข้มงวดทางด้านการป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์มากขึ้น โดยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และ ระบบที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยปราศจากการป้อนคำสั่งของโปรแกรมเมอร์หรือสมองกลฝังตัว (Machine Learning) ถูกนำมาใช้บูรณาการร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์ องค์กรชั้นนำของโลกมากมายได้ให้ความสนใจกับระบบการป้องกันความปลอดภัยไซเบอร์ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเพื่อรับมือกับภัยคุกคามในปี 2021
อีกวิธีหนึ่งในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงการสื่อสารและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล คือ การประมวลผลที่เป็นความลับ (Confidential Computing) โดยนำข้อมูลที่จะใช้ประมวลผล ไปใส่ไว้ในพื้นที่พิเศษ เพื่อจำกัดสิทธิการเข้าถึงจากโปรแกรมภายนอก ซึ่งข้อมูลถูกเข้ารหัส (encryption) ไว้ และต้องได้รับอนุญาตก่อนถึงจะอ่านข้อมูลได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลถูกแก้ไขโดยแฮ็กเกอร์หรือมัลแวร์ (Malware)
ทั้งนี้บริษัท Google, Microsoft, IBM, Alibaba และ VMware กำลังช่วยพัฒนาโปรโตคอล (Protocol) ใหม่นี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาแต่อีกไม่นานจะถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
เทคโนโลยีไร้ซึ่งผู้นำ ฟังดูน่าเศร้าแต่ความจริงแล้วมัน คือ ธุรกิจทั้งหมดที่สามารถแยกส่วนการจัดการได้อย่างเป็นระบบ โดยแบ่งการจัดการเป็น 2 ส่วนหลักๆ ส่วนหน้า (Front-End) และส่วนหลัง (Back-End) เทคโนโลยีไร้ซึ่งผู้นำ มีประโยชน์มากกว่าการใช้แพลตฟอร์มมาตรฐาน เพราะสามารถจัดการกับระบบส่วนหน้าหรือส่วนหลัง ได้ตามความต้องการของผู้พัฒนาทำให้มีความหยืดหยุ่นและจัดการได้ง่าย ผลการศึกษาจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า 86% ของกำไรที่เพิ่มขึ้น ในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา ประการแรก องค์กรต้องเพิ่มการลงทุน (Return on Investment: ROI) ซึ่งเป็นการได้มาของลูกค้าใหม่ ประการที่สอง สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา คือ การรักษาลูกค้า การเชื่อมต่อแพลตฟอร์มทุกอย่างตั้งแต่คลังสินค้า หน้าร้าน ไปจนถึงบริการออนไลน์ ทำให้มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากขึ้น
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้หลายองค์กรดำเนินธุรกิจไปอย่างช้าๆหรือจนบางธุรกิจต้องปิดตัวลง การแพร่ระบาดครั้งนี้ส่งผลกระทบหลายด้าน จนทำให้มีการทำงานรูปแบบใหม่ขึ้นมา คือ การทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งวิธีการนี้ทำให้หลายธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้ อีกทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความเครียดจากการทำงานได้ นี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับหลายๆ องค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีการปิดพื้นที่เพื่อป้องกันโควิด 19 อย่างเข้มงวด แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างช้าๆและพนักงานจะได้รับอนุญาตให้กลับเข้าทำงานในที่สุด แต่องค์กรต่างๆยังคงกังวลกับการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้ง
องค์กรเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่างเช่น Google และ Facebook ได้ขยายนโยบายทำงานจากที่บ้านไปจนถึงปี 2021 แม้แต่องค์กรขนาดเล็กก็ยังคงรักษาความยืดหยุ่นนี้ไว้เป็นทางเลือกในการดำเนินงาน ส่วนหนึ่งที่ทำให้การทำงานจากที่บ้านเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว คือการสื่อสารหรือการประชุมออนไลน์แน่นอนว่าเราเคยได้ยินเกี่ยวกับ Zoom, Webex และ Microsoft Teams มามากมาย แพลตฟอร์มเหล่านี้ ได้ก้าวกระโดดและเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและปลอดภัยยิ่งขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้องค์กรส่วนใหญ่ได้พบวิธีการทำงานรูปแบบใหม่นี้ ซึ่งการทำงานจากที่บ้านก็ไม่ได้ลดประสิทธิภาพกับประสิทธิผลขององค์กร และบางทีอาจส่งผลให้ลดต้นทุนในหลายๆส่วนขององค์กรอีกด้วย
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักความหมายของ AI Democratized กัน มันคือ ความเท่าเทียมกันในด้านเทคโนโลยี ที่ทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคหรือธุรกิจได้อย่างง่ายดาย การที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีโดยไม่จำเป็นต้องเข้ารับการอบรมกับผู้สอนที่เป็นมนุษย์ เทคโนยีนี้นำปัญญาประดิษฐ์มาเป็นผู้ช่วยแนะนำการใช้งานให้สามารถใช้งานระบบที่ยุ่งยากและมีความซับซ้อน ทำให้เข้าถึงการใช้งานได้ง่ายขึ้นและใช้เวลาเรียนรู้น้อยลง
ระบบนี้ได้ถูกใช้งานมาช่วงระยะเวลานึงแล้ว แต่ใครหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้ถูกซ้อนอยู่ในสมาร์ทโฟนของเราเอง ซึ่งอยู่ในแอฟพลิเคชั่นอย่าง Facebook, Google อื่นๆ อีกมากมาย เคยสังเกตมั๊ยว่า เวลาเราพูดอะไร อยากได้อะไร อยากทานอะไร สักพักนึงจะมีโฆษณาเหล่านั้นมาอยู่บนจอสมาร์ทโฟนของเรา นี่แหละเป็นการทำงานของเหล่าปัญญาประดิษฐ์ที่คอยเก็บข้อมูลของเราแล้วนำไปประมวลผลเพื่อตอบสนองความต้องการเราเอง อนาคตอันใกล้อันนี้แพลตฟอร์มเหล่านี้คงถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีกในหลายๆด้าน และสามารถตอบสนองความต้องการและสื่อสารกับมนุษย์ให้ใช้ชีวิตได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
ยังจำสมาร์ทโฟนที่สามารถพับกันได้อยู่หรือไม่? “มันกำลังจะกลับมา” ด้วยจุดเด่นที่มีขนาดเล็ก บาง และน้ำหนักเบา อีกทั้งใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชั่น จากคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้งานมีความสนใจกับอุปกรณ์ชิ้นมากขึ้นจึงทำให้บริษัท ไมโครซอฟท์ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า Surface Duo ส่วนบริษัทซัมซุงเองก็ไม่น้อยหน้า ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า Galaxy Fold 2 ด้วยเช่นกัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีสามารถเทียบเท่าแท๊บเล็ตและสามารถทำงานได้ดีกว่าสมาร์ทโฟนทั่วไป อีกทั้งยังสามารถพับหรือกางออกได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
ในปี 2021 นี้ เราจะเห็นสมาร์ทโฟนที่สามารถพับ กางออก และมีประสิทธิภาพมากกว่าสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ไม่เพียงแต่สมาร์ทโฟนเท่านั้น บริษัทที่ผลิตโน๊ตบุ๊คเองก็นำเทคโนโลยีนี้เข้ามาปรับโฉมโน็ตบุ๊ค อย่าง Lenovo, HP และ Dell ต่างก็กำลังพัฒนาโน๊ตบุ๊คให้สามารถพกพาและใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณ 5G ทั้งนี้เมื่อนำเทคโนโลยีต่างๆมาบูรณาการร่วมกันทำให้เป็นนวัตกรรมชิ้นใหม่ในปี 2021 อย่างแน่นอน
ควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในปัจจุบัน แต่เราก็ได้เห็นการพัฒนาอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งต้องขอบคุณบริษัท IBM, Honeywell, Splunk, Microsoft, AWS และ IonQ เหล่านี้ที่กระตุ้นการเติบโตของควอนตัมคอมพิวเตอร์อย่างเห็นได้ชัด ประโยชน์ของควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นมีมากมาย เช่น การวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ไปตลอดจนการพัฒนาการรักษาและค้นคว้าสูตรวัคซีน แต่การวิเคราะห์และพัฒนาเรื่องเหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและวิจัย ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง
นอกจากนี้ ผู้คนก็หวาดหวั่นในพลังของควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและวิเคราะห์ตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าหากปัญญาประดิษฐ์และควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นหนึ่งเดียว หากมนุษย์ไม่สามารถควบคุมมันได้ อาจจะก่อให้เกิดมหันตภัยอย่างคาดไม่ถึงก็เป็นได้
แต่อย่างไรก็ตาม ควอนตัมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยแต่ยังไม่ถูกนำมาใช้งานอย่างจริงจังและยังถูกจำกัดการใช้งาน ซึ่งทำให้ไม่มีผลอันร้ายแรงอย่างแน่นอน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเทคโนโลยี ไม่แน่ในปี 2021 ควอนตัมคอมพิวเตอร์อาจถูกนำมาใช้งานอย่างจริงจังในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มารูปภาพ :
[1]https://www.analyticsinsight.net/top-6-emerging-digital-transformation-trends-to-watch-in-2021/
[2].https://www.efinancethai.com/HotNews/hotnewsmain.aspx?release=y&name=ZDN5MlhmcUdiMzRCOXBlUlRHSU14QT09
[3] https://www.sundae.co.th/article/?cmd=article&cat=&gid=60,68,78&id=239
[4] https://www.networkworld.com/article/3233132/what-is-hybrid-cloud-computing.html
[5] https://www.businessoffashion.com/articles/technology/what-fashion-needs-to-know-about-cybersecurity
[6] https://venturebeat.com/2019/08/21/intel-google-microsoft-and-others-launch-confidential-computing-consortium-for-data-security/
[7] https://elogic.co/blog/headless-e%D1%81ommerce-platforms-2021
[8] https://www.prachachat.net/tourism/news-585395
[9] https://kasikornbank.com/th/personal/the-wisdom/articles/Pages/Ultimate-Leisure_Sep2018.aspx
[10] https://www.dignited.com/57748/foldable-smartphones-futuristic-or-just-a-gimmick/
[11] https://www.techrepublic.com/article/how-to-build-a-quantum-workforce/
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
[1] Top 10 Digital Transformation Trends for 2021 [อินเทอร์เน็ต]. (เข้าถึงวันที่ 21 ธ.ค.2563) เข้าได้จาก https://www.forbes.com/sites/danielnewman/2020/09/21/top-10-digital-transformation-trends-for-2021/?sh=7b7605adc6f4
[2] Customer Data Platform (CDP) คืออะไร? [อินเทอร์เน็ต]. (เข้าถึงวันที่ 21 ธ.ค.2563)เข้าได้จาก https://www.sundae.co.th/article/?cmd=article&cat=&gid=60,68,78&id=239
[3] Intel, Google, Microsoft, and others launch Confidential Computing Consortium for data security [อินเทอร์เน็ต]. (เข้าถึงวันที่ 21 ธ.ค.2563)เข้าได้จากhttps://venturebeat.com/2019/08/21/intel-google-microsoft-and-others-launch-confidential-computing-consortium-for-data-security/
เรียบเรียงโดย : ยงยุทธ แก้วจำรัส
ตรวจทาน : วิจิตรา สุริยกุล ณ อยุธยา
กองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ