LED สีน้ำเงินฮีโร่ใหม่จากญี่ปุ่น

LED สีน้ำเงินฮีโร่ใหม่จากญี่ปุ่น

17-12-2021
LED สีน้ำเงินฮีโร่ใหม่จากญี่ปุ่น

เมื่อปี 2014 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น 3 คนคือ ศาสตราจารย์ อิซามุ อากาซากิศาสตราจารย์ ฮิโรชิ อามาโนะ และศาสตราจารย์ ชูจิ นากามูระ
ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์จากผลงานการประดิษฐ์คิดค้นไดโอดเปล่งแสงสีน้ำเงิน หรือ แอลอีดี (LED) สีน้ำเงิน ซึ่งเมื่อนำมารวมกับแอลอี
ดีสีแดงและแอลอีดีสีเขียวที่มีอยู่แล้วส่งผลให้เกิดหลอดประหยัดไฟแสงสีขาวความเข้มสูง และผลงานนี้ยังได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์สูงสุด
ต่อมนุษยชาติ

ในปีค.ศ. 1962แอลอีดีที่ให้สีแดงถูกประดิษฐ์ขึ้น แล้วตามมาด้วย แอลอีดีที่ให้แสงสีเขียว ถ้าหากว่ามี แอลอีดีสีน้ำเงินอีกสักชนิด โดยใช้ความรู้
วิทยาศาสตร์เรื่องแม่สีแห่งแสง คือเมื่อนำแอลอีดีทั้งสามชนิดมาผสมกันจะทำให้ได้แอลอีดีที่ให้แสงสีขาว และในที่สุดนักวิจัยชาวญี่ปุ่นสามคน
ก็ค้นพบวิธี สร้างแอลอีดีสีน้ำเงินได้สำเร็จขึ้นมาครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990
 

ชนิดของหลอด ค่าความสว่าง อายุการใช้งาน
1. หลอดไส้ 16 ลูเมน ต่อ วัตต์ ( lm / W) ประมาณ 1,000 ชั่วโมง
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิด Compact (CFL) 67 ลูเมน ต่อ วัตต์ ( lm / w ) ประมาณ 10,000 ชั่วโมง
3. หลอดแอลอีดี 300 ลูเมน ต่อ วัตต์ ( lm / w ) ประมาณ 100,000 ชั่วโมง

ตาราง: เปรียบความสว่างและอายุการใช้งานของหลอด 3 ชนิด

หากจะเปรียบเทียบค่าความสว่างของแสงสีขาวและอายุการใช้งานระหว่างหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์และ หลอดแอลอีดีจากข้อมูล
ในตารางจะเห็นได้ว่า การใช้หลอดแอลอีดีให้ค่าความสว่างสูงกว่าหลอดชนิดอื่นเมื่อใช้พลังงานต่อวัตต์เท่ากัน ซึ่งช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้า
ได้อย่างมากเลยทีเดียว นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าหลอดแอลอีดีมีอายุการใช้งานทนทานนานกว่าหลอดชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ข้อดีอีกประการหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบันคือ เนื่องจากหลอดไฟแอลอีดีใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยมากจึงสามารถใช้แผงโซล่าเซลล์เป็นแหล่งพลังงาน
ไฟฟ้าได้ ส่งผลให้ผู้ยากไร้ที่อาศัยอยู่ในประเทศโลกที่สามสามารถเข้าถึงแสงสว่างได้มากยิ่งขึ้น

 

แหล่งอ้างอิง:https://www.thairath.co.th/content/455301

เรียบเรียงโดย: นางรักชนก บุตตะโยธี

ข่าวสารที่่คล้ายกัน