Raspberry Pi คอมพิวเตอร์จิ๋วแต่แจ๋ว

Raspberry Pi คอมพิวเตอร์จิ๋วแต่แจ๋ว

18-12-2021
Raspberry Pi คอมพิวเตอร์จิ๋วแต่แจ๋ว

ท่านผู้อ่านโดยเฉพาะท่านที่เป็นนักเรียนนักศึกษาผู้มีทุนทรัพย์น้อยเคยคิดจะซื้อคอมพิวเตอร์สักเครื่อง แต่ต้องหยุดคิดและตัดสินใจหลายรอบ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทั่วไปมีราคาค่อนข้างสูง แถมเมื่อต้องการฟังก์ชันการใช้งานบางอย่างที่ดีขึ้นก็ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นอีกบ้างหรือไม่? แล้วจะมีทางเลือกใดที่จะแก้ปัญหานี้ได้บ้าง?

ลองมารู้จักทางเลือกที่น่าสนใจอย่างเช่นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวหรือ Single-Board Computer (SBC)ที่น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาเรื่องข้างต้นได้ เพราะคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวก็คือคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ทุกชนิดอยู่บนแผงวงจรเดียวกัน อาทิเช่น หน่วยความจำหลัก อินพุต เอาต์พุต และหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) รวมถึงพอร์ตสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นทั้งหมด ที่สำคัญบางยี่ห้อยังมีขนาดเล็กเพียงเท่าบัตรเครดิตเท่านั้น แต่สามารถใช้งานได้เหมือนกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวนั้นมีหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมาในราคาที่ค่อนข้างจับต้องได้และสามารถนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้มากมาย บทความนี้เราจะมาแนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้จักกับคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุดในโลก ได้แก่ยี่ห้อ Raspberry Pi นั่นเอง

Raspberry Pi คือ คอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวสัญญาติอังกฤษคิดค้นขึ้นโดยมูลนิธิ Raspberry Pi ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลขนาดเล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางการศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยผลิตและจำหน่ายในราคาประหยัดได้เปิดตัวสินค้าชิ้นแรกคือ Raspberry Pi 1 Model Bและวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2012ซึ่งในรุ่นนี้มีคุณสมบัติคือ หน่วยประมวลผล ARM 11 ความเร็ว 700MHz,หน่วยประมวลผลกราฟฟิก(GPU) BroadcomVideoCore IV, หน่วยความจำ (RAM)512 MB,ช่องเสียบ USB 2.02 ช่อง,ช่องเสียบ HDMI 1 ช่องรองรับระบบปฏิบัติการ Linux โดยจำหน่ายในราคา 35 ดอลลาร์สหรัฐ

65D74546 E83C 4DE4 A326 68F5B411D343รูป Raspberry Pi Zero

ในเดือนมิถุนายน ปี 2019Raspberry Pi ได้วางจำหน่ายสินค้ารุ่นล่าสุดคือ Raspberry Pi4 Model Bในรุ่นนี้มีคุณสมบัติคือ หน่วยประมวลผล quad-core 64-bit ARM Cortex-A72 ความเร็ว 1.5GHz,หน่วยความจำ(RAM)ชนิด LPDDR4 SDRAMสูงสุด4GB,อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายแบบ Dual-band 802.11ac,Bluetooth 5.0,มีช่องเสียบ USB 2.0 และ 3.0 อย่างละ 2 ช่อง,มีช่องต่อสัญญาณภาพ ความคมชัดถึงระดับ 4Kราคาเริ่มต้น35ดอลลาร์สหรัฐ

A631C5E0 A529 4FBD A113 9AC0B33AC9FF

รูป Raspberry Pi 4 Model B

อย่างที่ทราบกันว่าคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวสามารถทำงานแทนคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้แม้มีขนาดที่เล็กกว่า สิ้นเปลืองพลังงานน้อยกว่า รวมถึงมีค่าตัวที่ไม่แพง จึงขอนำเสนอตัวอย่างการนำ Raspberry Pi ไปใช้งานในแบบต่างๆ ไว้ให้เผื่อเป็นไอเดียให้ท่านผู้อ่านได้มีแนวทางในการเลือกใช้งาน ดังนี้

1. โต๊ะกาแฟ Pi

6B752659 CACD 496F 9A72 BA18C09D7165

เป็นโต๊ะสำหรับเล่นเกมและท่องอินเตอร์เน็ตได้ในตัว โดยมีจอLCD ขนาด 24 นิ้ว เป็นพื้นโต๊ะ แล้วนำ Raspberry Pi ติดตั้งพร้อมจอยสติ๊กสำหรับเล่นเกม มีคีย์บอร์ดและเมาส์ไร้สายสำหรับไว้ใช้ท่องอินเทอร์เน็ต ถือเป็นของใช้สำหรับครอบครัวที่สวยงามและราคาประหยัด

2. ถังขยะอัจฉริยะ (Smart Waste Bin)

C6651843 0F3C 4AC4 AD0D 95BF2227542E 

79091CE2 42C1 46FB A013 CAFA81F6E51C
เป็นสิ่งประดิษฐ์ของนักศึกษาไทย ที่ใช้ Raspberry Pi สร้างถังขยะอัจฉริยะที่สามารถตรวจจับขยะล้นถังแล้วแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลได้ และยังสามารถใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับ ความชื้น อุณหภูมิ สารปนเปื้อนหรือแม้แต่เปลวไฟจากวัตถุไวไฟได้ โดยมีจุดมุ่งหมายจะนำไปใช้ในสถานที่สาธารณะ เช่น ชายหาดหรือสถานที่จัดงานดนตรีต่างๆ

3. Raspberry Pi 4 Laptop

BF5AD66C F8E7 4CE1 8EE3 E8E97EC16BB9

ไอเดียนี้เป็นการนำ Raspberry Pi4 มาดัดแปลงอุปกรณ์บางอย่างเพื่อรวมกับคอมพิวเตอร์ Laptop โดยดัดแปลงสาย HDMI เข้ากับสายแพจอของคอมพิวเตอร์ Laptop แล้วมาเชื่อมต่อกับพอร์ต HDMI Raspberry Pi4 ดัดแปลงพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ Laptop มาเพื่อเป็นไฟเลี้ยง จึงทำให้เราเหมือนได้คอมพิวเตอร์ Laptop เครื่องใหม่มาใช้งานในราคาประหยัด

4. ระบบถ่ายโอนภาพยนตร์จากฟิล์มเป็นดิจิทัล

CBD07EA2 B4C6 47D6 9A1A EE4C73A286A0

อุปกรณ์ช่วยแปลงภาพยนตร์จากฟิล์มมาเป็นภาพยนตร์ดิจิทัลนี้เรียกว่า Pi Film Capture ผลิตขึ้นโดย โจ เฮอร์แมน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันได้นำเครื่องฉายภาพยนต์ Super-8 มาติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งควบคุมความเร็วรอบการหมุนเปลี่ยนเฟรมและถ่ายภาพที่ถูกเปลี่ยนทีละเฟรมด้วย Raspberry Pi Zero ก่อนส่งภาพไปประมวลผลต่อที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อถอดภาพยนตร์ที่เป็นการบันทึกด้วยฟิล์มมาเก็บบันทึกเป็นดิจิทัลซึ่งช่วยในการเก็บรักษาภาพต้นฉบับได้นานขึ้น

5. Drone Pi

31C8097F CA52 4AD1 9FE3 5522CF8DF857 

E334B17D 7B3A 4495 8A37 97899FE591FE

ใช้ Raspberry Pi แทนแผงวงจรควบคุมของ Drone โดยเปลี่ยนมาใช้การควบคุมไร้สาย ผ่านระบบเครือ 4G/LTE แทนที่การควบคุมผ่านเครือข่าย WIFI ผ่านแอปพลิเคชันDroneRemote ของ Windows 10 แล้วยังสามารถเพิ่มการแสดงข้อมูล ถ่ายภาพจากกล้องที่ติดอยู่กับ Drone ข้อมูลแผนที่ GPS และการตรวจจับระยะไกล โดยควบคุมผ่าน MultiWii Serial Protocol (MSP) ที่เป็นชุดควบคุมของ XBOX ซึ่งใช้ร่วมกับ Windows 10 ได้

ไอเดียที่ได้นำเสนอเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนที่ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้ทราบถึงความสามารถของคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวที่ชื่อว่า Raspberry Pi เพื่อจุดประกายให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า การเริ่มต้นทดลองสิ่งใหม่ ๆ เพื่อหาทางเลือกที่ดีกว่าหรือเพื่อแก้ปัญหารอบตัวนั้นสามารถทำได้ง่าย โดยอาจไม่ต้องลงทุนเยอะอย่างที่คิด ถ้าท่านผู้อ่านมีไอเดียประดิษฐ์อะไรเจ๋ง ๆ จาก Raspberry Pi ก็อย่าลืมแชร์กลับมาให้ทาง อพวช. ได้รับชมบ้างนะครับ

 

ที่มารูปภาพ: 

[1] https://www.thaieasyelec.com/raspberry-pi-zero.html 

[2] https://www.raspberrypi.org/blog/raspberry-pi-4-on-sale-now-from-35/

[3] https://www.instructables.com/id/Coffee-Table-Pi/  

[4] https://www.hackster.io/kmutt-thailand-students-in-training-period-at-esiee-amiens-france/smart-waste-bin-e70fb1

[5] https://www.hackster.io/lennart-hennigs/raspberry-pi-4-laptop-082dd1

[6]<http://spectrum.ieee.org/geek-life/hands-on/how-to-convert-old-film-reels-with-a-raspberry-pi

[7] https://www.hackster.io/frank802/drone-pi-a-windows-10-raspberry-pi-4g-drone-74be94

ที่มาของแหล่งข้อมูล

[1] Single Board Computer(SBC)[Internet]2019. https://www.techopedia.com/definition/9266/single-board-computer-sbc[3 เมษายน 2563]

[2] Raspberry Pi Foundation Putting the power of digital making into the hands of people all over the world[Internet]2018. https://static.raspberrypi.org/files/about/RaspberryPiFoundationStrategy2016-18.pdf [5 เมษายน 2563]

[3] Raspberry Pi Zero[Internet]. https://www.thaieasyelec.com/raspberry-pi-zero.html [15 เมษายน 2563]

[4] Raspberry Pi 4 on sale now from $35[Internet]2019. https://www.raspberrypi.org/blog/raspberry-pi-4-on-sale-now-from-35/  [15 เมษายน 2563]
 

เขียนโดย เรวัต เปรมศรี นักวิชาการ กองนิทรรศการ

ตรวจทาน ชัชวาลย์ สารไชย นักวิชาการ กองนิทรรศการ

               ราตรี ใจดี พนักงานบริหาร กองนิทรรศการ

              วรรณวจี สุจริตธรรม นักวิชาการ 5 กองวิชาการ

              วชิรพันธ์ เจริญเวช นักวิชาการ 5 กองวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวสารที่่คล้ายกัน