ครีมกันแดดกับค่า SPF

ครีมกันแดดกับค่า SPF

17-12-2021
ครีมกันแดดกับค่า SPF

ภาพจาก: http://www.abeautyclub.com/wp-content/uploads/2012/04/SPF-Sun-Protection-factor-calculationriding-clothes-with-spf-horseskin-care-spf100-spf-sun-protectionsun-screen-lotion-spf-01.jpg

   ประเทศไทย เป็นเมืองร้อนช่วงฤดูร้อนแสงแดดมีความเข้มสูง การเผชิญกับแสงแดดทุกวัน อาจก่อให้เกิดผลเสียกับผิวหนัง ครีมกันแดดจึงมีความจำเป็นและเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ปัจจุบันมีโฆษณาชวนเชื่อมากมายที่อ้างถึงคุณภาพของครีมกันแดดยี่ห้อต่าง ๆ และการเลือกซื้อครีมกันแดดมักคำนึงถึงค่า PA และSPF ที่เขียนไว้ข้างขวด ผู้บริโภคอาจไม่ทราบถึงความหมายของค่าสองตัวนี้ ซึ่งถ้าจะอธิบายให้เข้าใจ ต้องกล่าวว่า แสงแดดเป็นแสงสีขาว ประกอบด้วยแสงช่วงคลื่นความถี่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมีคลื่นความถี่บางช่วงที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าปนมาด้วย ได้แก่ รังสี UV ซึ่งเป็นคลื่นช่วงความถี่สูงและ รังสี UV ประกอบด้วย 3 ชนิดคือ UVA UVB และ UVC โดย UVC โอโซนในชั้นบรรยากาศโลกจะช่วยกรองรังสี UVC ออกได้ทั้งหมดก่อนเข้าสู่พื้นโลก แต่ไม่สามารถกรองรังสี UVA และ UVB ได้ ดังนั้น การทาครีมกันแดดจึงช่วยในการป้องกันรังสี UV ทั้งสองประเภทไม่ให้เข้าสู่ผิวหนัง ซึ่งพบว่า UVA คิดเป็นสัดส่วน 95% และ UVB อีก 5% ซึ่งรังสี UVA มีผลทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นและหมองคล้ำ ส่วนรังสี UVB ทำให้ผิวหนังไหม้ และอาจเกิดการแพ้ เช่น เกิดผื่นแดง ผู้บริโภคจึงควรมีความรู้ในการเลือกครีมกันแดดที่มีค่า PA และ SPF เหมาะสม โดยค่า PA ย่อมาจาก Protection grade of UVA หมายถึง ค่าแสดงประสิทธิภาพของการป้องกันรังสี UVA แบ่งเป็น PA+ PA++ และ PA+++ ซึ่งมีประสิทธิภาพเรียงจากน้อยไปมากตามลำดับ ส่วนค่า SPA ย่อมาจาก Sun Protection Factor หมายถึงจำนวนเท่าของเวลาที่ผิวหนังสามารถทนต่อรังสี UVB ได้หลังจากทาครีมกันแดดเมื่อเทียบกับเวลาปกติ โดยเวลาปกติคือ 30 นาทีผิวหนังทนได้ เช่น SPF 20 หมายถึง ผิวหนังสามารถทนรังสีUVB ได้ 20 เท่า คิดเป็น 20x30=600 นาที และ SPF 30 หมายถึง ผิวหนังสามารถทนรังสี UVB ได้ 20 เท่า คิดเป็น 30x30=900 นาที อย่างไรก็ตามมีการกำหนดให้ค่า SPF ที่ใช้บนฉลากได้ไม่เกิน 50 เพราะอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าทาครั้งเดียวสามารป้องกันได้ข้ามวันข้ามคืน และมีผลงานวิจัยยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไปให้ผลไม่ต่างกันมากนัก

แหล่งที่มาข้อมูล : Facebook Page วิทย์สนุกรอบตัว
https://www.facebook.com/witsanook/photos/a.327375767415926.1073741828.327302010756635/448032318683603/?type=3&theater
Tag: SPF, UVA, PA, UVB, UVC, แสงแดด
เรียบเรียงโดย : นางเพ็ญจันทร์ แก้วรอด

ข่าวสารที่่คล้ายกัน