เทคโนโลยีไบโอเมตริก (Biometric) กับการชำระเงิน

เทคโนโลยีไบโอเมตริก (Biometric) กับการชำระเงิน

19-12-2021
เทคโนโลยีไบโอเมตริก (Biometric) กับการชำระเงิน

ในเมื่อโลกไม่เคยหยุดหมุน เทคโนโลยีก็ย่อมไม่เคยหยุดอยู่กับที่เช่นกัน เทคโนโลยีจะถูกพัฒนาไปเรื่อย ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ให้ง่าย สะดวกสบาย และลดปัญหาขั้นตอนที่ยุ่งยาก และยิ่งในช่วงสถานการณ์ที่เกิดโรคระบาด COVID-19 นี้ การออกไปนอกบ้านจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับทุกคน แต่เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะยังคงต้องทำงาน หรือจับจ่ายใช้สอยข้าวของ อาหาร เพื่อความอยู่รอด ซึ่งปัจจุบันนี้เทคโนโลยีอะไรก็ตามที่ตอบสนองการลดการสัมผัสได้มากที่สุดมักได้รับความนิยม อย่างที่หลายคนกำลังปรับตัวอยู่นั่นคือ การลดการใช้เงินสด และหันไปชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ต้องมีผู้พัฒนาซอร์ฟแวร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ มารองรับ ซึ่งเทคโนโลยีประเภทนี้อาจไม่ได้ใหม่ เพียงแค่ไม่ได้แพร่หลายไปในทุกกลุ่มผู้ใช้งานเท่านั้นเอง

เทคโนโลยีการใช้ลายนิ้วมือเป็นส่วนหนึ่งของ เทคโนโลยีไบโอเมตริก (Biometric) หรือชีวมิติ เป็นเทคโนโลยีในการพิสูจน์หรือการระบุตัวบุคคล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์และสามารถเทียบวัดหรือนับจำนวนได้มาผนวกเข้ากับหลักการทางสถิติ เพื่อการแยกแยะหรือจดจำแต่ละบุคคล โดยมีการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับด้านชีวภาพ ด้านการแพทย์ และใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผล

ไบโอเมตริกซ์สามารถแบ่งการยืนยันตัวตนได้ 2 ประเภทคือ

  1. ลักษณะทางกายภาพ (Physiological Biometrics)
    • ลายนิ้วมือ Fingerprint
    • ลักษณะใบหน้า Facial Recognition
    • ลักษณะของมือ Hand Geometry
    • ลักษณะของนิ้วมือ Finger Geometry
    • ลักษณะใบหู Ear Shape
    • Iris และ Retina ภายในดวงตา
    • กลิ่น Human Scen
  2. ลักษณะทางพฤติกรรม (Behavioural Biometrics)
    • การพิมพ์ Keystroke Dynamics
    • การเดิน Gait Recognition
    • เสียง Voice Recognition
    • การเซ็นชื่อ Signature

ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีไบโอเมตริกเข้ามาช่วยเหลือในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันการเข้า-ออกเวลาในการทำงาน การตรวจคนเข้าเมือ การเปิด-ปิดอุปกรณ์ และล่าสุดที่ Amazon บริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมค้าปลีก, อีคอมเมิร์ซ และผู้พัฒนาเทคโนโลยี ได้เปิดตัวเครื่องแสกนชำระเงินรูปแบบใหม่อย่าง Amazon One โดยการใช้เทคโนโลยีการชำระเงินด้วยฝ่ามือ เป็นการเก็บข้อมูลลายมือแล้วนำไปผูกกับข้อมูลบัตรเครดิตที่มีการเก็บข้อมูลของข้อมูลเจ้าของบัตรเรียบร้อยแล้ว ผ่านอุปกรณ์การแสกนฝ่ามือที่สะดวกในการติดตั้งและใช้งานได้ง่าย ทำให้เกิดความรวดเร็วและลดการสัมผัสได้ดี และยังมีปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าทางเลือกอื่น ๆ ของการใช้งานไบโอเมตริก ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีการสแกนม่านตาหรือการจดจำใบหน้า โดยผู้ใช้ไม่สามารถระบุตัวตนของบุคคลได้ด้วยรูปฝ่ามือ และที่สำคัญสามารถเก็บข้อมูลได้ละเอียดเเบบรายบุคคล ซึ่งตอนนี้ Amazon ได้นำรูปแบบการชำระเงินนี้ไปใช้กับเครือข่ายร้านค้าของตัวเอง และยังวางแผนที่จะขายเทคโนโลยีให้กับบริษัทอื่น ๆ ด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้งานบางส่วนมีความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว ซึ่งทาง Amazon ได้แจ้งว่า ข้อมูลฝ่ามือจะเข้ารหัสและจัดเก็บไว้ในพื้นที่ปลอดภัยในระบบคลาวด์ และผู้ใช้ Amazon One ยังสามารถขอให้ลบข้อมูลไบโอเมตริกซ์ของตนได้หลังจากใช้งานไม่ว่าจะผ่านทางอุปกรณ์หรือทางออนไลน์

“จะดีแค่ไหน หากปัญหาการลืมกระเป๋าตังค์หมดไป เพราะเราสามารถชำระเงินด้วยฝ่ามือ”

 

 

ที่มารูปภาพ:

[1] https://www.shutterstock.com/th/image-photo/businessman-handprint-leaning-on-control-glass-1184991271
[2] https://www.shutterstock.com/th/image-vector/biometric-scanning-web-banner-w-dna-1080732035
[3] https://www.shutterstock.com/th/image-vector/fingerprint-identity-sensor-flat-vector-neon-1129438034
[4] https://www.adpt.news/2020/10/01/amazon-one-pay-with-your-palm/

แหล่งที่มาข้อมูลอ้างอิง:

[1] เทคโนโลยีไบโอเมตริก Biometric Technology./ สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564./ เข้าได้จาก: http://www.thonburi-u.ac.th/journal/Document/2-1/lesson1.pdf
[2] 2563./ ไบโอเมทริกซ์ (Biometric)./ สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564./ เข้าได้จาก: https://www.scimath.org/article-technology/item/10998-biometric
[3] Biometric เทคโนโลยีความปลอดภัยที่ถูกนำมาใช้มากขึ้นในโลกธุรกิจ./ c https://www.quickserv.co.th/knowledge-base/solutions/Biometric-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b5%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%96%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b8%b3%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b8%b6%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/
[4] 2563./ ล้ำอีกแล้ว! Amazon เปิดให้ชำระเงินด้วย ‘ฝ่ามือ’ เพื่อเพิ่มความไวและลดการสัมผัส./ สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564./ เข้าได้จาก: https://positioningmag.com/1299871

เรียบเรียง: วรรณวจี สุจริตธรรม
ตรวจทาน: ฐิติ สิริธนากร
กองวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวสารที่่คล้ายกัน