ค้างคาวกับสุดยอดระบบภูมิคุ้มกัน

ค้างคาวกับสุดยอดระบบภูมิคุ้มกัน

16-12-2021
ค้างคาวกับสุดยอดระบบภูมิคุ้มกัน

ภาพจาก : http://www.abc.net.au/news/2016-02-23/bats-and-diseases/7046146

 

     นับเป็นครั้งแรกที่นักวิจัยได้ค้นพบความสามารถพิเศษในตัวค้างคาว ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของเชื้อโรคอันตราย แต่พวกมันกลับไม่ได้เป็นโรคใด ๆ

   ScienceDaily รายงานผลการศึกษาของทีมนักวิจัยจากประเทศออสเตรเลีย ที่ค้นพบว่า ค้างคาว เป็นพาหะเชื้อไวรัสก่อโรคร้ายแรงกว่า 100 สายพันธุ์ บางชนิดทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้ นั่นรวมถึงเชื้อไวรัสเมอร์ส (MERS) อีโบลา (Ebola) และ Hendra แต่ที่น่าสนใจคือ ค้างคาวไม่ได้เจ็บป่วยหรือแสดงอาการของโรคจากเชื้อไวรัสเหล่านี้เลย โดยปกติ เมื่อเชื้อก่อโรคชนิดต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็น เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ระบบภูมิคุ้มกันที่ซับซ้อนของเราก็จะตอบสนองด้วยกลไกในรูปแบบต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคือ กลไกการป้องกันหรือที่รู้จักกันในชื่อ“ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด" (innate immune)

   ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ทีมนักวิจัยได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดของค้างคาวแม่ไก่ออสเตรเลีย(Australian flying fox) โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของ interferons (โปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด สร้างขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อก่อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อไวรัส) และที่น่าสนใจคือร่างกายค้างคาวสร้าง interferons เพียงแค่ 3 ชนิดซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ส่วนที่เราพบในมนุษย์เท่านั้น แต่สามารถควบคุมการติดเชื้อไวรัสร้ายแรงโดยไม่แสดงอาการใดเลย

   ทีมวิจัยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าระบบภูมิคุ้มกันของค้างคาวแม่ไก่ทำงานตลอดเวลา แม้ว่าร่างกายไม่ติดเชื้อโรค ขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นจะทำงานก็ต่อเมื่อร่างกายติดเชื้อแล้วเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม หากระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทำงานตลอดเวลาจะเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อและเซลล์ได้ "ในการศึกษาขั้นต่อไป ถ้าเราสามารถเปลี่ยนรูปแบบการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ ให้เป็นไปในลักษณะที่คล้ายคลึงกับค้างคาวได้แล้ว เราก็จะสามารถควบคุมอัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคร้าย อย่างเช่น อีโบลา ได้” หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว

Link ที่เกี่ยวข้อง
https://www.sciencedaily.com/releases/2016/02/160222155631.htm
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/gastro/1632-2013-10-25-06-26-23.html

ข่าวสารที่่คล้ายกัน