วันปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศสากล (International Day of Climate Action)

วันปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศสากล (International Day of Climate Action)

17-12-2021
วันปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศสากล (International Day of Climate Action)

ในวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปี สมาชิกสหประชาชาติ ได้ตกลงร่วมกันให้วันนี้เป็นวันปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศสากล (The International Day of Climate Action) โดยผู้คนใน 180 ประเทศทั่วโลก จะร่วมดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อต่อสู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ การปลูกต้นไม้ การดำน้ำ การปีนเขา ข้ามสะพาน ไปจนถึงการร่ายรำกลางถนน เพื่อเรียกร้องข้อตกลงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำเสนอในที่ประชุมสหประชาชาติที่โคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมของทุกปี  กิจกรรมดังกล่าว จะถูกบันทึกภาพและวิดีโอสั้นๆ เพื่อลงในเว็บ 350.org ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร และเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนแคมเปญนี้

บิล แมคคิบเบน (Bill McKibben) ผู้ก่อตั้ง 350.org กล่าวว่า “เราได้แสดงให้โลกเห็นว่า การร่วมกันขับเคลื่อนด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลกมีความเป็นไปได้ และเป็นวาระใหม่ในการประชุมเรื่องสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติในกรุงโคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมนี้”

เลข 350 ขององค์กร 350.org มีที่มาคือ 350 เป็นเลขเป้าหมายในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ โดยเมื่อ 200 ปีก่อน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 275 ppm (ปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์ คือค่าวัดหลักในการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยยิ่งมีปริมาณค่าคาร์บอนไดออกไซด์สูง ยิ่งแสดงให้เห็นถึงปริมาณสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งส่งผลกับโลกของเราตามมา) ต่อมาเมื่อเข้าสู่ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (ค.ศ.1800 เป็นต้นมา) ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นถึง 390 ppm และความเข้มข้นคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้น 2 ppm ต่อปี โดย 350 ppm เป็นเป้าหมายของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โลก เนื่องจากในปี พ.ศ. 2550 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ได้ประกาศการประเมินปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ว่าอยู่ที่ 450 ppm ซึ่งปริมาณ 350 ppm จึงเป็นปริมาณเป้าหมายของการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   

ดร.อ็อกซานา ทาราโซวา (Oxana Tarasova) หัวหน้าโครงการดูแลชั้นบรรยากาศโลกของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) กล่าวในปี ค.ศ. 2016 ว่า "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2016 เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 30 ปี โดยการเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ก่อนหน้านี้มีขึ้นในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญในปี ค.ศ. 1997 - 1998 ซึ่งเอลนีโญส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งและทำให้อัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ลดลง" 

แปลและเรียบเรียง โดย อานุภาพ สกุลงาม จาก https://unngls.org/index.php/un-ngls_news_archives/2009/981-international-day-of-climate-action และ https://www.bbc.com/thai/international-41801817
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมขององค์กร 350.org ที่ https://350.org/

ข่าวสารที่่คล้ายกัน